“น้ำผึ้ง” สุดหอมหวาน แต่กับเด็กทารกอาจถึงตาย แพทย์เตือนระวัง

น้ำผึ้ง,​เด็กทารก,​ โรคโบทูลิซึม

"น้ำผึ้ง" รู้หรือไม่? รสชาติหอมหวาน ของโปรดของใครหลายคน เป็นพิษต่อเด็กทารกนะรู้ยัง? แพทย์ย้ำ ฝืนทานต่อเสี่ยงติดเชื้อถึงตายได้ ระวังด่วนก่อนสาย

“น้ำผึ้ง” TOP News รสชาติหอมหวาน แสนคุ้นเคย ไม่ว่าจะอยู่ในเมนูไหนก็สามารถชูรสชาติโดดเด่นได้ไม่ซ้ำใคร จนกลายเป็นของโปรดในดวงใจของใครหลายคน จนทำให้หลายคนหวังดี อยากให้ลูกน้อยทานของอร่อยบ้าง มิกซ์เมนูให้เด็กทานเพลิน ๆ โดยที่ไม่รู้เลยว่า ผลสะท้อนกลับจะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ แพทย์เตือน ระวังด่วนก่อนสาย

ข่าวที่น่าสนใจ

ใครจะรู้ว่า รสชาติหอมหวานนี้ จะเคลือบไปด้วยพิษร้ายต่อเด็กน้อย จนทำให้หลายคนอาจจะพลาดไป เพื่อเป็นการป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เราจะพาคุณพ่อคุณแม่ป้ายมาทำความเข้าใจกันก่อน เพราะอะไร ของหวานชนิดนี้ถึงไม่เป็นพิษกับผู้ใหญ่ แต่ส่งผลกับเด็กทารกเท่านั้น? นั่นก็เป็นเพราะว่า เด็กทารก เป็นวัยที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคได้ง่าย ยังมีภูมิคุ้มกันต่ำ และอวัยวะบางอย่างยังพัฒนาและทำงานไม่ได้เต็มที่  ดังนั้น เวลาที่คุณพ่อคุณแม่จะให้ลูกน้อยทานอะไร ควรระวังระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะวัยทารกอายุไม่เกิน 1 ปี

 

 

 

น้ำผึ้ง,​เด็กทารก,​ โรคโบทูลิซึม

 

 

 

ซึ่งก่อนหน้านี้ เคยมีเคสทารกน้อยเคราะห์ร้ายหลายราย ต้องเสียชีวิตลง เนื่องจาก ทาน “น้ำผึ้ง” เข้าไป ทำให้เกิดโรคโบทูลิซึม หรือภาวะอาหารเป็นพิษที่เกิดจากการได้รับสารพิษจากเชื้อแบคทีเรียคลอสติเดียมโบทูลินัม (Clostridium Botulinum) ที่ปนเปื้อนในอาหารเข้าไปนั่นเอง

โดยเชื้อนี้เจริญเติบโตได้ดี และสร้างสสารพิษในภาวะที่มีออกซิเจนน้อย มักพบใน

  • อาหารกระป๋องที่มีการจัดเก็บไม่ได้มาตรฐาน เช่นมีรอยบุบ รั่ว หรือแตก
  • หน่อไม้ปี๊ป ที่ไม่ได้ปรุงด้วยความร้อนนานพอ หรือปรับค่าความเป็นกรดที่เหมาะสม
  • น้ำ ผึ้ง

 

 

 

น้ำผึ้ง,​เด็กทารก,​ โรคโบทูลิซึม

 

 

 

อาการของโรคโบทูลิซึม 

  • ท้องเสียหรือท้องผูก
  • กลืนน้ำ และอาหารลำบาก
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • อาจมีอาการหายใจลำบาก หรือหัวใจหยุดเต้น
  • หากไม่รีบไปพบแพทย์อาจเกิดอันตรายจนเสียชีวิตได้

 

 

 

น้ำผึ้ง,​เด็กทารก,​ โรคโบทูลิซึม

 

 

 

ประกอบกับร่างกายของเด็กทารกมีการพัฒนาการของระบบย่อยอาหารยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ เหมาะต่อการเจริญของเชื้อด้วยพัฒนาการเคลื่อนไหวยังไม่ดีและความเป็นกรดต่ำ แบคทีเรียซึ่งเข้าสู่ทางเดินอาหารจึงแบ่งตัวสร้างสปอร์ และสารพิษได้ แตกต่างจากเด็กโต หรือผู้ใหญ่ ลำไส้จะกำจัดเชื้อออกไปจากร่างกายได้ก่อนที่เชื้อจะเพิ่มจำนวน จึงทำให้สามารถบริโภคได้โดยไม่สร้างอันตรายต่อร่างกาย นอกจากนี้ ยังทำให้เด็กทารกติดหวาน ฟันผุ เป็นโรคอ้วนหรือขาดสารอาหารที่มีประโยชน์ได้อีกด้วย

 

 

 

น้ำผึ้ง,​เด็กทารก,​ โรคโบทูลิซึม

 

 

 

ข้อมูล : oryor, pobpad และ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เซเว่นฯ เดินหน้านโยบาย “2 ลด ลดพลาสติก ลดพลังงาน" เพื่อสิ่งแวดล้อม 24 ชม. เชิญชวนคนไทย ลดใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
“ภูมิธรรม”คาด 4 ลูกเรือไทยได้รับการปล่อยตัว 4 ม.ค. นี้ ยืนยันกลาโหม-กองทัพไม่ได้อ่อนแอ
ฮาร์บินเปิด ‘สวนสนุกน้ำแข็ง-หิมะ’ จีนใหญ่สุดในโลก
ทรัมป์เสนอยูเครนสละดินแดนเพื่อยุติสงคราม
โฆษกกห. ยัน ไม่ได้ปิดด่านชายแดนจังหวัดตาก แค่สกัดโรค อุดช่องทางธรรมชาติ
“พิพัฒน์” ลุยปฏิรูป “ก.แรงงาน” ก้าวใหม่สู่ยุค AI สร้างทักษะพัฒนาฝีมือ ดูแลสวัสดิการทุกมิติ
"สรรเพชญ" พร้อมกลุ่มสส.ร่วม "ชวน-บัญญัติ" ส่งหนังสือเร่งรัฐ เยียวยาน้ำท่วมทำใต้วิปโยค
“ทักษิณ” อวย ฉายา “แพทองโพย” เก่งกว่าพ่อนั่งนายกฯ ฟุ้งคนเหนือก็เป็นพ่อเลี้ยงกันหมด
“อนุทิน” น้อมรับฉายา “ภูมิใจขวาง” ลั่นไม่ได้คิดขวางใคร ชื่นชม “นายกฯ” ตั้งใจทำงาน หลังถูกมองเป็นรบ. (พ่อ) เลี้ยง
“รทสช.” เคลื่อนไหว หลังสื่อทำเนียบฯตั้งฉายา “พีระพันธุ์” Fc แห่คอมเมนต์ให้กำลังใจ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น