"โควิด โอมิครอน" Omicron ทำศูนย์จีโนมฯ แนะ หวั่นในไทยหากกลายพันธุ์เป็น BA.2.12.1 สามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วเหมือนนิวยอร์กในขณะนี้
ข่าวที่น่าสนใจ
“โควิด โอมิครอน” Omicron โอไมครอน โดยเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ของ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ออกมาโพสต์เรื่องราวของ โอไมครอนสายพันธุ์ย่อย ว่า ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค สหรัฐเอเมริกา (U.S. CDC) รายงานเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2565 ว่าโอไมครอนสายพันธุ์หลักที่ระบาดอยู่ในอเมริกาขณะนี้ยังเป็น ‘BA.2’ แต่ให้จับตาโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย ‘BA.2.12.1’ ที่กลายพันธุ์มาจาก BA.2 ซึ่งพบว่ามีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วโดยพบในสัดส่วน 1 ใน 5 ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั่วประเทศสหรัฐ และพบมากที่สุดในรัฐนิวยอร์ก
สำหรับ “โควิด โอมิครอน” โอไมครอนในประเทศไทยจากข้อมูลรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมที่ถอดมาต่อเนื่อง บ่งชี้ว่าดำเนินมาสู่ช่วงขาลง แต่! สมาชิกสำคัญในกลุ่มคือ
- BA.1 ลดระดับลงจนสูญพันธุ์ไปแล้วในประเทศไทย
- BA.2 มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่อง
แต่ที่ต้องระวังสมาชิกอื่นของโอไมครอนด้วยเช่นกันคือ ‘BA.2.1’ ที่กำลังแพร่ระบาดในไทยเพิ่มขึ้น(ภาพ) หากเกิดการกลายพันธุ์ในส่วนโปรตีนหนามอีกเพียงตำแหน่งเดียวคือ ‘L452Q’ อาจกลายพันธุ์เป็น ‘BA.2.12.1’ ที่สามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วเหมือนกับที่เกิดขึ้นที่รัฐนิวยอร์กในขณะนี้
นอกจากนั้นทางด้าน “โควิด โอมิครอน” ศูนย์จีโนมฯ ได้ออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับ โอไมครอนสายพันธุ์ย่อยที่กลายพันธุ์เป็น BA.2.12.1 ไว้เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2565 ว่า
- โอไมครอนสายพันธุ์ย่อย ‘BA.4’ คำนวณจากรหัสพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019 จากทั่วโลกมี Relative growth advantage สูงที่สุดคือ 59% รองลงมาคือ BA.2 ประมาณ 41% จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ BA.4 จะระบาดไปทั่วโลกแทนที่ BA.2 ในเร็ววันนี้ (ภาพ 2-3)
- ประเทศไทยมีโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย ‘BA.2’ ซึ่งมี Relative growth advantage (คำนวณจากรหัสพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019 ที่ระบาดในไทย) สูงที่สุดคือ 51% รองลงมาคือ BA.1 ติดลบประมาณ -21 % โดยในขณะนี้ BA.2 ได้ระบาดมาแทนที่ BA.1 เป็นที่เรียบร้อย และ BA.1 ในไทยกำลังชะลอการกลายพันธุ์เข้าสู่โหมดของการสูญพันธุ์ (ภาพ4) จากการตรวจสอบรหัสพันธุกรรมที่แชร์ข้อมูลใน GISAID ยังไม่พบ BA.4 และ BA.5 ในประเทศไทย (17/4/2565)
- แต่ที่ควรเฝ้าระวังในช่วงนี้เป็นอย่างมากคือโอไมครอน 2 สายพันธุ์ย่อยซึ่งปรากฏที่รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ที่เป็นลูกหลานของ BA.2 คือ BA.2.12 และ BA.2.12.1 ที่มีการระบาดเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว (ภาพ 5) สายพันธุ์ย่อย ‘BA.2.12.1’ ที่นิวยอร์กบริเวณแหนมมีการกลายพันธุ์ต่างไปจาก BA.2 และ ฺBA.2.12 เพียงหนึ่งตำแหน่งคือ ‘L452Q’ (ภาพ 2,2.1) แต่สามารถส่งผลให้มี Relative growth advantage เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก (ในนิวยอร์ก) ถึง 96% รองลงมาคือ BA.2.12 ประมาณ 47 % (ภาพ 5) จึงต้องจับตาโอไมครอนสองสายพันธุ์ย่อยอย่างใกล้ชิดว่าหลุดออกมาจากอเมริกาและระบาดไปทั่วโลกหรือไม่
- ในประเทศไทยยังไม่พบโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย ‘BA.2.12.1’ (ภาพ 6)
- ประเทศไทยพบโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย ‘BA.2.12’ ไม่น้อยกว่า 186 ตัวอย่าง (ภาพ 6)แต่โชคดีที่ในประเทศไทย ‘BA.2.12’ มี Relative growth advantage เพียง 34% (ภาพ 6) ซึ่งน้อยกว่า BA.2 ที่กำลังระบาดเป็นสายพันธุ์หลักในประเทศไทยในขณะนี้ซึ่งมี Relative growth advantage สูงกว่าคือ 51% (ภาพ 4) ดังนั้น BA.2.12 ไม่น่าจะสามารถระบาดเข้ามาแทนที่ BA.2 ในประเทศไทยได้
- ส่วนโอไมครอนสายพันธุ์ลูกผสม XE มี Relative growth advantage ลดเหลือเพียง 17% ในขณะที่เดลตาครอน XD (สายพันธุ์ลูกผสมระหว่างเดลตา AY.4 และโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1) มี Relative growth advantage ต่ำติดลบในขณะนี้คือ ‘-6%’ อันหมายถึงสองสายพันธุ์ลูกผสมกำลังชะลอการกลายพันธุ์และปรับตัวเข้าสู่โหมดสูญพันธุ์ (ภาพ 3)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง