“สั่งงานนอกเวลา” 2565 ต้องทำยังไง เพจดังชี้ งานนี้มีสะเทือน

สั่งงานนอกเวลา, นายจ้าง, ลูกจ้าง, กฎหมายแรงงาน

"สั่งงานนอกเวลา" งานนี้ นายจ้างมีสะเทือน หลังเพจดังชี้แจง เคสตามงานนอกเวลา ลูกจ้างสามารถเก็บหลักฐานร้องเรียนทางกฎหมายได้นะ

“สั่งงานนอกเวลา” TOP News เปิดข้อกฎหมายชัด ๆ ก่อนวันแรงงาน รู้หรือไม่? หากลูกจ้างถูกตามงานหรือสั่งงานนอกเวลา นายจ้างต้องจ่ายค่า OT หากเป็นวันหยุด ต้องจ่ายค่าทำงานเพิ่ม 3 เท่าเลยนะ! โดยที่ลูกจ้างสามารถเก็บหลักฐานเรียกร้องทางกฎหมายได้ด้วย

ข่าวที่น่าสนใจ

เข้าใกล้วันแรงงานแบบนี้ TOP News ขอเอาใจเหล่ามนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย ด้วยการเปิดข้อกฎหมายชัด ๆ จากเคสสุดเอือม ตามงานนอกเวลาหรือสั่งงานในวันหยุด ทำแบบนี้ก็ได้หรอ? กลายเป็นวันหยุดที่ควรจะพักผ่อนสบาย ๆ กลับไม่มีอยู่จริง แถมยังต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำกันฟรี ๆ โดยที่ไม่ได้อะไรอีกด้วย

ล่าสุด เพจกฎหมายแรงงาน เฉลยข้อข้องใจที่เหล่ามนุษย์เงินเดือนทั้งหลายต้องเผชิญ โดยได้ชี้แจงตามกฎหมายแรงงานว่า ถ้านายจ้างหรือเจ้าหายสั่งงานช่วงกลางวัน ที่เป็นเวลาทำงานปกติ ถือเป็นการสั่งการหรือมอบหมายงาน หากเป็นหน้าที่ตามที่ตกลงกัน สามารถใช้ช่องทางแชทหรือไลน์ได้ แต่ถ้าไลน์สั่งงานในเวลา ดังต่อไปนี้

  • นอกเวลาทำงานปกติ
  • ในวันหยุด ไม่ว่าจะหยุดประจำสัปดาห์ หยุดตามประเพณี หยุดพักผ่อนประจำปี
  • นอกเวลาทำงานปกติของวันหยุดทั้ง 3 ประเภทในข้อ 2

สั่งงานนอกเวลา, นายจ้าง, ลูกจ้าง, กฎหมายแรงงาน

นายจ้างจะบังคับให้พนักงานหรือลูกจ้างทำงานในเวลาดังกล่าวไม่ได้ ต้องขอความยินยอมก่อน หาก “สั่งงานนอกเวลา”

  • ต้องจ่าย OT ไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของค่าจ้างที่ได้รับต่อชั่วโมง
  • หากสั่งงานในวันหยุดต้องจ่ายเพิ่มอีก 1 แรง เช่น ถ้าเคยได้วันละ 500 บาท ก็ต้องจ่ายเพิ่มอีก 500 บาท
  • สั่งงานวันหยุด (ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ หยุดตามประเพณี หยุดพักผ่อนประจำปี) ต้องจ่าย 3 เท่าของค่าจ้างที่ได้รับต่อชั่วโมง

สั่งงานนอกเวลา, นายจ้าง, ลูกจ้าง, กฎหมายแรงงาน

กฎหมายบอกว่า การทำงานล่วงเวลาต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราว ๆ ไป แต่มีปัญหาว่าหากนายจ้างสั่งให้ทำงานล่วงเวลา ทั้งผ่านไลน์ หรือโทรศัพท์ ซึ่งก็ไม่ได้เคยได้ขอความยินยอม ลูกจ้างก็ทำงานไปด้วยความเกรงใจ โดยการทำงานล่วงเวลาไม่จำเป็นต้องนั่งทำงานที่สำนักงาน ไม่ว่าจะทำที่ไหน นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าล่วงเวลา จะอ้างว่าลูกจ้างไม่เคยให้ความยินยอมเป็นหนังสือไม่ได้ เพราะ ถือว่าที่ลูกจ้าง (ต้องจำใจ หรือเกรงใจ) ทำงานนั่นแหละความยินยอม ก็ต้องจ่ายค่าล่วงเวลา 1.5 เท่าของค่าจ้างรายชั่วโมงในเวลาทำงานปกติ

สั่งงานนอกเวลา, นายจ้าง, ลูกจ้าง, กฎหมายแรงงาน

ส่วนลูกจ้างก็อาจเก็บข้อมูลการทำงานนอกเวลาทำงานไว้ หลักฐานอาจเป็นไลน์สั่งงาน หรือโทรศัพท์ หรืออีเมล ส่วนสถานที่ทำงานจะทำที่บ้าน ทำบนรถ ทำที่สำนักงาน หรือไปกางเต็นท์นอนชิว ๆ อยู่หากถูกสั่งงานก็ถือเป็นการทำงาน OT หรือทำงานในวันหยุดก็ถือเป็นการทำงานทั้งสิ้นนอกจากนี้ เพจดังกล่าว ยังเน้นย้ำ สำหรับคนที่กลัวมีปัญหาว่า ในวันที่เรายังคงทำงานอยู่ หลายคนก็คงไม่กล้าฟ้อง หรือร้องต่อเจ้าหน้าที่ แต่หากออกจากงานไปแล้วก็สามารถไปฟ้องหรือร้องเรียนย้อนหลังได้ เพียงแต่ต้องเก็บหลักฐานเอาไว้ให้ดี

สั่งงานนอกเวลา, กฎหมายแรงงาน,​นายจ้าง, ลูกจ้าง

ข้อมูล : กฎหมายแรงงาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น