“นพ.เฉลิมชัย” เผยโควิดเป็นโรคประจำถิ่นได้ ชี้แต่ต้องเพิ่มการตรวจให้มากขึ้นอีก 3.5 เท่า

วันที่ 24 เม.ย.2565 นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ Blockdit “ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย” ถ้าจะให้โควิดเป็นโรคติดต่อทั่วไปของไทยได้ จะต้องเพิ่มการตรวจให้มากขึ้นอีก 3.5 เท่า และฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 อย่างน้อยวันละ 245,882 โดส

จากกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขได้ส่งสัญญาณต่อสาธารณะมาอย่างต่อเนื่องว่า เป้าหมายของการที่จะทำให้โควิดเป็นโรคติดต่อทั่วไปในวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 นั้น (เหมาะสมแล้วที่ใช้คำว่าโรคติดต่อทั่วไป : Post-Pandemic แทนคำว่าโรคประจำถิ่น)

เมื่อมาพิจารณาเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข จะพบว่า

  • 1) ช่วงต่อสู้ (Combatting ) 12 มีนาคมถึงต้นเมษายน
  • 2) ช่วงคงที่ (Plateau) เมษายนถึงพฤษภาคม
  • 3) ช่วงลดลง (Declining) พฤษภาคมถึง 30 มิถุนายน
  • 4) ช่วงเริ่มสงบหรือโรคติดต่อทั่วไป 1 กรกฎาคมเป็นต้นไป

เป้าหมายดังกล่าวมีความน่าสนใจว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร และมีโอกาสประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด จึงต้องไปดูหลักเกณฑ์ของการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวคือ โรคติดต่อทั่วไป ซึ่งประกอบด้วย

  • 1) มีอัตราการเสียชีวิตจากโควิดเฉลี่ยรายสัปดาห์ น้อยกว่า 0.1% ของจำนวนผู้ติดเชื้อ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ติดต่อกัน
  • 2) การฉีดวัคซีน
  • 2.1 ประชากรทั่วไป

ฉีดเข็ม 3 มากกว่า 60%

2.2 ผู้สูงอายุ

  • ฉีดเข็ม 1 มากกว่า 80%
  • ฉีดเข็ม 3 มากกว่า 60%

3) แนวโน้มในปัจจัยต่างๆ

  • 3.1 จำนวนผู้ติดเชื้อ
  • 3.2 จำนวนผู้ป่วยหนัก
  • 3.3 อัตราการครองเตียงในระดับ2,3

เมื่อดูไปทีละเกณฑ์ จะพบความน่าสนใจคือ

1) อัตราการเสียชีวิต

ขณะนี้เรามีผู้ติดเชื้อรวม (PCR +ATK) ในช่วงเจ็ดวันล่าสุด 255,588 ราย คิดเป็นค่าเฉลี่ยติดเชื้อวันละ 36,512 ราย มีผู้เสียชีวิตในช่วงเจ็ดวัน 895 ราย เฉลี่ยวันละ 127 ราย คิดเป็นอัตราการเสียชีวิต 0.35% แต่เป้าหมายที่ทางกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ จะต้องมีผู้เสียชีวิตน้อยกว่า 0.1% เพื่อให้ถึงเป้าหมายดังกล่าวบนฐานผู้ติดเชื้อวันละ 36,512 ราย จะต้องมีผู้เสียชีวิตไม่เกินวันละ 36 ราย ซึ่งยังเป็นตัวเลขที่ห่างไกลจากผู้เสียชีวิตในปัจจุบันมาก จำนวนผู้เสียชีวิต 127 รายต่อวัน เป็นตัวเลขที่แม่นยำกว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อที่มีการรายงาน ไม่ว่าจะเป็นผู้ติดเชื้อรวม ผู้ติดเชื้อเฉพาะ ATK หรือผู้ติดเชื้อเฉพาะ PCR ก็ตาม ก็แปลว่า อัตราการเสียชีวิต 0.1% จะต้องมาจากจำนวนผู้ติดเชื้อวันละ 127,000 ราย ดังนั้นจึงต้องเร่งทำการตรวจให้มากขึ้นอีก 3.5 เท่าตัว เพื่อให้พบผู้ติดเชื้อแท้จริงให้ได้ 127,000 รายต่อวัน ก็จะทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตที่ 127 รายต่อวัน คิดเป็น 0.1% เพราะปัจจุบันจำนวนผู้เสียชีวิตค่อนข้างแม่นยำ แต่จำนวนผู้ติดเชื้อที่รายงานต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้อัตราผู้เสียชีวิตต่อผู้ติดเชื้อในปัจจุบัน = 127 รายหารด้วย 36,512 ราย = 0.35% จึงต้องเร่งตรวจเพิ่มขึ้นอีก 3.5 เท่า แต่ถ้ายังคงมียอดผู้ติดเชื้อเพียงวันละ 36,512 ราย ณ ปัจจุบันก็จะต้องบริหารจัดการให้มีผู้เสียชีวิตไม่เกินวันละ 36 ราย ซึ่งเป็นไปได้ยาก และถ้ายอดรายงานผู้ติดเชื้อรายวันต่ำลงไปอีก ก็จะยิ่งทำให้อัตราผู้เสียชีวิตต่อจำนวนผู้ติดเชื้อ ลงไปแตะ 0.1% ลำบากมากยิ่งขึ้น การเร่งตรวจหาผู้ติดเชื้อที่แท้จริง ให้สอดคล้องกับจำนวนผู้เสียชีวิตที่แท้จริงด้วย จึงเป็นมาตรการสำคัญที่จะทำให้อัตราผู้เสียชีวิตต่อผู้ติดเชื้อลงมาอยู่ที่ 0.1% วิธีการที่จะประสบผลสำเร็จคือ การเร่งให้มีการตรวจ ATK โดยการจัดการของภาครัฐ เพื่อที่เมื่อเจอผลเป็นบวก จะได้มีการรายงานครบถ้วนทุกราย แต่ในขณะนี้ การตรวจเอทีเคโดยภาครัฐอาจจะยังมีจำนวนไม่มากนัก ทำให้ประชาชนที่ซื้อชุด ATK มีจำนวนมาก และเมื่อตรวจด้วยตนเองและมีผลบวกแล้ว ส่วนหนึ่งก็ไม่ได้รายงานเข้าสู่ระบบ ทำให้ตัวเลขต่ำกว่าความเป็นจริง

ข่าวที่น่าสนใจ

 

2) การฉีดวัคซีน

2.1 สำหรับประชากรทั่วไป กำหนดเข็ม 3 ให้มากกว่า 60% ปัจจุบันฉีดเข็ม 3 แล้วได้ 36.4% หรือ 25.28 ล้านโดส เป้าหมาย 60% คือ 42 ล้านโดส ยังขาดอีก 16.72 ล้านโดส จึงต้องเร่งฉีดใน 68 วันที่เหลือให้ได้เฉลี่ยเพิ่มวันละ 245,882 โดส ซึ่งมีโอกาสจะเป็นไปได้ แต่ต้องใช้ความพยายามมากขึ้น

2.2 ในกลุ่มผู้สูงอายุ ฉีดเข็มสามให้ได้มากกว่า 60% เป้าหมาย 60% ของกลุ่มผู้สูงอายุ 12.7 ล้านคนเท่ากับ 7.62 ล้านโดส ขณะนี้ฉีดได้ 39.8% หรือ 5.06 ล้านโดส ยังจะต้องฉีดอีก 2.5 ล้านโดส เฉลี่ยวันละ 37,647 โดส ซึ่งก็พอจะมีโอกาสเป็นไปได้ ในส่วนเข็มที่ 1 ต้องฉีดให้ได้มากกว่า 80% นั้นในขณะนี้ผู้สูงอายุฉีดเข็มที่ 1 ไปแล้ว 84.1% หรือ 10.6 ล้านโดสจึงไม่เป็นปัญหาแต่ประการใด กล่าวโดยสรุป เป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ให้วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 โควิดจะเข้าสู่สถานการณ์เป็นโรคติดต่อทั่วไป จะต้องดำเนินการที่สำคัญประกอบด้วย

  • 1) เร่งการตรวจหาผู้ติดเชื้อให้มากขึ้นอีก 3.5 เท่า จึงจะทำให้พบอัตราผู้เสียชีวิตต่อผู้ติดเชื้อต่ำกว่า 0.1%
  • 2) เร่งฉีดวัคซีนเข็ม 3 ให้กับประชาชนทั่วไป ให้ได้วันละ 245,882 โดส ในจำนวนดังกล่าวต้องเป็นการฉีดให้กับผู้สูงอายุไม่น้อยกว่าวันละ 37,647 โดส

จึงถือว่าเป็นเป้าหมายที่มีความท้าทาย แต่อยู่ในวิสัยที่จะทำได้ ส่วนจะสำเร็จหรือไม่ประการใด ต้องร่วมมือกันหลายฝ่าย และมีปัจจัยตัวแปรเป็นจำนวนมากพอสมควร

หมายเหตุ : ส่วนตัวของผู้เขียน ดีใจที่หยุดพักการใช้คำว่า “โรคประจำถิ่น” มาใช้คำว่า “โรคติดต่อทั่วไป” เพราะจะเป็นการส่งสัญญาณต่อสาธารณะที่จะเข้าใจได้ง่ายและถูกต้องเหมาะสม เนื่องจาก “โรคประจำถิ่น” อาจทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่า เป็นโรคที่ไม่ต้องให้ความสนใจ เป็นโรคที่ไม่รุนแรง

แต่แท้จริงแล้ว โรคประจำถิ่นคือ โรคที่มีการระบาดอยู่ในบางภูมิภาคของโลก ไม่ระบาดทั่วโลก ไม่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง อาทิเช่น ประเทศไทยมีมาลาเรียและไข้เลือดออก ถือเป็นโรคประจำถิ่นของโลกมนุษย์ แต่มีความรุนแรง ไข้เหลืองถือว่าเป็นโรคประจำถิ่นในแอฟริกาและอเมริกาใต้ ไม่ใช่โรคระบาดทั่วโลก แต่ก็มีความรุนแรงเช่นกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น