หมอยง เตือน โควิดสายพันธุ์อินเดียเพิ่มสูง จ่อแทนที่อังกฤษในไทยแน่นอน! แนะฉีดวัคซีนเข็ม 2 เร็วขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัส คาดการณ์ โควิด-19 สายพันธุ์อินเดียระบาดหนักในไทย อนาคตตัวเลขผู้ติดจะเชื้อเพิ่มขึ้น

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟสบุ๊กส่วนตัวมีข้อความว่า ตามวิวัฒนาการของไวรัส ไวรัสจะมีการกลายพันธุ์เพื่อหลบหลีกภูมิคุ้มกันของร่างกายเรา เราจะเห็นว่ามีการกลายพันธุ์ตั้งแต่ Alpha, Beta, Gamma, Delta หรือแต่เดิมที่เราเรียกว่าสายพันธุ์อังกฤษ (Alpha), สายพันธุ์แอฟริกาใต้ (Beta), สายพันธุ์อินเดีย (Delta) วัคซีนส่วนใหญ่ทั้งหมดจะพัฒนาจากสายพันธุ์เดิมคือสายพันธุ์อู่ฮั่น

 

สายพันธุ์อังกฤษยังไม่หลบหลีกประสิทธิภาพของวัคซีนมากนัก สายพันธุ์แอฟริกาใต้หลบหลีกได้มากแต่ขณะเดียวกันอำนาจการกระจายโรคได้น้อยกว่า สายพันธุ์ Delta หรืออินเดียมีอำนาจการกระจายสูงและหลบหลีกภูมิต้านทานได้แต่น้อยกว่าสายพันธุ์แอฟริกาใต้ การมีอำนาจการกระจายสูงสายพันธุ์นี้จะเข้ามาแทนที่สายพันธุ์และระบาดทั่วโลกจากเดิมเป็นสายพันธุ์อังกฤษ

 

ในทำนองเดียวกันในประเทศไทยแต่เดิมเป็นสายพันธุ์ G และก็โดนสายพันธุ์อังกฤษ (Alpha) ระบาดเข้ามาเกิดระบาดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดเป็นสายพันธุ์อังกฤษ ขณะนี้เริ่มมีสายพันธุ์อินเดีย (Delta) เพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเข้ามาแทนที่สายพันธุ์อังกฤษในประเทศไทยอย่างแน่นอน

 

สายพันธุ์ Delta ต้องการระดับภูมิต้านทานของวัคซีนที่สูงในการป้องกัน เราจะเห็นการศึกษาในสกอตแลนด์ ถ้าเปรียบเทียบวัคซีนที่เปรียบเทียบระหว่างวัคซีน Pfizer ที่ให้ระดับภูมิต้านทานที่สูงกว่าวัคซีน AstraZeneca ปรากฏว่าลดลงทั้ง 2 ตัว แต่วัคซีนที่ให้ภูมิต้านทานสูงลดลงน้อยกว่า การป้องกันโรคเมื่อให้วัคซีนครบ 2 เข็มหลัง 14 วันต่อสายพันธุ์ Delta วัคซีน Pfizer ป้องกันได้ร้อยละ 79, วัคซีน AstraZeneca ป้องกันโรคได้ร้อยละ 60 แต่ถ้าเป็นสายพันธุ์อังกฤษการป้องกันโรคจะอยู่ที่ร้อยละ 92 กับ 73 แต่ถ้าให้วัคซีนเข็มเดียวเปรียบเทียบกันหลัง 28 วันไปแล้วการป้องกันของวัคซีน Pfizer จะอยู่ที่ 30% แต่ของ AstraZeneca จะอยู่ที่ 18% ลงพิมพ์ในวารสาร Lancet เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน แสดงให้เห็นว่าการป้องกันโรคสายพันธุ์ Delta หรืออินเดียจำเป็นที่จะต้องใช้ระดับภูมิต้านทานที่สูงกว่าสายพันธุ์ Alpha หรืออังกฤษ

 

จากข้อมูลดังกล่าว ถ้ามาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ขณะนี้ของเราส่วนใหญ่ยังเป็นสายพันธุ์อังกฤษ แต่ก็คงจะหนีไม่พ้นในอนาคตที่จะมีสายพันธุ์อินเดียเพิ่มขึ้นเรื่อยๆและจะมาแทนที่สายพันธุ์อังกฤษในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าตามวิวัฒนาการของไวรัส การให้วัคซีนเข็ม 2 เข้ามาเร็วขึ้นของ AstraZeneca จะมีประโยชน์ในการป้องกันสายพันธุ์ Delta ถ้ามีการระบาดของสายพันธุ์นี้เกิดขึ้นและมีแนวโน้มการป้องกันจะลดลง แต่ก็ยังช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ และในทำนองเดียวกันวัคซีนที่กระตุ้นภูมิต้านทานได้น้อยกว่าก็คงจะต้องใช้การกระตุ้นเข็มที่ 3 ให้ระดับภูมิต้านทานสูงขึ้นเพื่อป้องกันสายพันธุ์ Delta จนกว่าจะมีการพัฒนาวัคซีนใหม่ให้ตรงกับสายพันธุ์ที่มีการระบาด

 

เช่นเดียวกันกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทุกปี และในการเปลี่ยนแปลงของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในบางปีการคาดการณ์ก็ไม่ถูกเช่นเดียวกัน แต่ละปีวัคซีนไข้หวัดใหญ่จึงมีประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องเฝ้าระวังดูสายพันธุ์ที่ระบาดอย่างต่อเนื่องว่าเป็นสายพันธุ์อะไร และป้องกันไม่ให้สายพันธุ์ Delta ระบาดขึ้นมาอย่างรวดเร็วเพื่อรอจำนวนวัคซีนที่จะมาและหรือแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงชนิดของวัคซีนในอนาคตให้ตรงและจำเพาะกับสายพันธุ์

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา คว้ารางวัลใหญ่ระดับประเทศ 3 รางวัล ในงานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 42 CONNECT FOR GROWTH: INNOVATING FOR OUR SUSTAINABLE FUTURE สร้างไทยให้เติบโต สู่อนาคตที่ยั่งยืน
อดีตภรรยา-ลูกสาว ‘หมอบุญ’ ยังปากแข็ง ให้การภาคเสธ คดีฉ้อโกง 7.5 พันล้าน จ่อสอบเพิ่มบ่ายนี้
หอการค้าโคราชสุดเจ๋ง คว้า 3 รางวัลใหญ่แห่งปี
โครงการดีๆ เพื่อกำลังพล กองทัพเรือ โดย หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
สีสันงานกีฬาสีโรงเรียนบ้านค่าย ม่วนกรุ๊ป ทั้งนักเรียนทั้งน้องช้าง โชว์เต้นโชว์ลีลาเตะฟุตบอลสนุกสุดเหวี่ยง
“เจี๊ยบ อมรัตน์” ออกตัว หากพรรคปชน. แพ้เลือกนายกอบจ.ก็ไม่รู้สึกเสียหน้า
"จิรายุ" ฝากลูกหลาน ช่วยเตือนญาติผู้ใหญ่ "กลุ่มเปราะบาง" 4 หมื่นกว่าคน เร่งผูกพร้อมเพย์รับเงินหมื่น
เลือกตั้งนายก อบจ. เมืองคอนกร่อยฝนตกหนักต่อเนื่องหลายพื้นที่น้ำท่วม
วันหยุดสุดคึกคัก นทท.แห่ขึ้นยอดภูป่าเปาะ ชมทะเลหมอก ที่ฟูจิเมืองเลย
ฝนพ่นพิษ ทำศึกเลือกตั้ง "นายก อบจ.นครศรีฯ" เงียบเหงา ปชช.ออกไปใช้สิทธิบางตา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น