"รับมือโควิด" ช่วงเปิดเทอม อย่างไรให้ปลอดภัย โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก เพื่อความปลอดภัยในครอบครัว เช็คเคล็ดลับก่อนได้ที่นี่
ข่าวที่น่าสนใจ
“รับมือโควิด” ใกล้เปิดเทอมแบบนี้ เหล่าคุณพ่อคุณแม่ของลูกตัวน้อย มีอันตื่นเต้น จนแทบจุดพลุ เมื่อต้องส่งเจ้าตัวเล็กต้องเข้าโรงเรียนวันแรก เตรียมพร้อมสู่การเรียนรู้และการเข้าสังคมอย่างเป็นทางการ แต่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดเช่นนี้ เชื่อว่า พ่อแม่เองก็กังวลไม่ใช่น้อย และเพื่อความปลอดภัยและสบายใจของคนในครอบครัว ลองทำตามวิธีนี้ดูนะ รับรองปลอดภัย หายห่วงชัวร์
ล่าสุด ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หรือ หมอยง หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เคล็ดดังกล่าวบน Facebook โดยระบุว่า ใกล้เปิดเทอมแล้ว เด็กต้องไปโรงเรียน หยุดมา 2 ปีแล้ว เรียนทางไกล สิงคโปร์ ปีที่แล้วไม่หยุดเรียน ผู้ปกครองอดห่วงไม่ได้ การระบาดโรคทางเดินหายใจ จะเป็นช่วงเปิดเทอมฤดูฝนมิถุนายน ถึงกันยายน ทุกปี ถ้าเปิดเรียนปกติ โรคทางเดินหายใจ ไข้หวัดใหญ่ ไข้โควิด จะพบเพิ่มขึ้น
- โรคโควิดในเด็ก จะมีความรุนแรง และที่พบเสียชีวิตได้ ถึงแม้เป็นส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับผู้สูงอายุ ก็เป็นเรื่องสำคัญ
- ส่วนใหญ่พบในเด็กเล็กน้อยกว่า 5 ปี โดยเฉพาะ 2 ขวบปีแรก กลุ่มนี้ไม่มีวัคซีน
- ในบางประเทศอย่างจีน และอีกหลายประเทศ ให้วัคซีนเชื้อตายตั้งแต่อายุ 3 ขวบขึ้นไป ประเทศไทย อย. ยังไม่อนุมัติให้ในเด็กต่ำกว่า 6 ปี ถ้าวัคซีนลดความรุนแรงของโรคได้ น่าจะต้องมีการพิจารณา
- เป็นเรื่องยากมากในการดูแลด้านสุขอนามัย กำหนดระยะห่าง และหน้ากากอนามัย สำหรับเด็กเล็กในบางโอกาสก็ไม่เหมาะ จึงต้องช่วยกันโดยเฉพาะเด็กอนุบาลที่จะเปิดเทอม
- ควรรับวัคซีนให้มากที่สุด เพื่อลดความรุนแรงของโรค เคร่งครัดในระเบียบวินัย
- เด็กป่วยต้องไม่ไปโรงเรียน
- มีการตรวจกรองสม่ำเสมอ เพื่อแยกผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อด้วยวิธีที่เหมาะสม การใช้ ATK ทั้งประเทศคงเป็นการยาก
- บางโรงเรียน นักเรียนต้องมีการจัดการเป็นรูปธรรมให้เปิดโรงเรียนได้
- โดยเฉพาะโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ และมีนักเรียนต่อห้องจำนวนมาก
- เด็กมีโอกาสนำเชื้อจากบ้านไปสู่โรงเรียน หรือจากโรงเรียนกลับมาอยู่บ้าน
- คนในบ้านโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ ควรได้รับวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็ม เพื่อลดความรุนแรงของโรค เพราะ มีโอกาสที่จะติดต่อกันในครอบครัว
- ต้องมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน เป็นที่ยอมรับของทุกคน และปฏิบัติได้
- ตรวจกรองเด็กป่วยทุกวัน
- เด็กป่วยต้องไม่ไปโรงเรียน เพื่อลดการสัมผัสกับนักเรียนอื่น
- การกักตัวนักเรียนเสี่ยงสูง ให้หยุดเรียน มีมาตรการชัดเจน เพื่อลดการระบาดในโรงเรียน
- เคร่งครัดสุขอนามัย กำหนดระยะห่าง ลดการสัมผัสโรค ใส่หน้ากากอนามัย
- ควรโปร่ง อากาศถ่ายเทดี ในชนบทไม่มีปัญหาอยู่แล้ว
- ถ้าห้องแอร์ ต้องมีการระบายอากาศ เปิดหน้าต่างเป็นครั้งคราว หรือเปิดไว้ เล็กน้อยเพื่อให้อากาศถ่ายเท
- ดูแลเรื่องความสะอาด มีสถานที่ล้างมืออย่างเพียงพอ
ข้อมูล : Yong Poovorawan
ข่าวที่เกี่ยวข้อง