“สาวิทย์” ร้องยูเอ็น ยกเลิกระบบสิทธิบัตรผูกขาดวัคซีน

"สาวิทย์" ยื่นหนังสือ ยูเอ็น ขอให้กำหนดมาตรการให้ประชากรโลกเข้าถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 ยกเลิกระบบสิทธิบัตรผูกขาดวัคซีน ให้ทุกประเทศเข้าถึงวัคซีนอย่างเพียงพอ

วันนี้(21 มิถุนายน 2564)  นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และ เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) เดินทางไปยืนหนังสือถึง เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เพื่อขอให้องค์การสหประชาชาติ(ยูเอ็น)กำหนดมาตรการให้ประชากรโลกเข้าถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 ด้วยการผลักดันดันให้ประเทศ และบรรษัทยาข้ามชาติที่จดสิทธิบัตรวัคซีนป้องกันโควิด -19 ทุกชนิด ให้ยกเลิกระบบสิทธิบัตร เพื่อให้ประเทศต่างไป รวมทั้งประขากรโลกเข้าถึงวัคซีนอย่างเสรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19

นายสาวิทย์ ระบุว่า สรส. และ คสรท. ขอเรียกร้องให้องค์การสหประชาชาติประสานความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกพร้อมเป็นกลไกหลักในการกำหนดมาตรการต่าง ๆ ที่เหมาะสมเพื่อให้มวลมนุษยชาติเข้าถึงมาตรการการป้องกันโรคโควิด-๑๙ เข้าถึงวัคซีนป้องกันอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมพร้อมกับยกเลิกระบบสิทธิบัตร ยา และวัคซีนป้องกันโรค ให้ประเทศที่มีความพร้อมสามารถผลิตวัคซีนได้อย่างเสรี สำหรับประเทศไหนที่ไม่มีความพร้อม ฐานะทางเศรษฐกิจอ่อนแอ ก็ให้องค์การสหประชาชาติ เข้าช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วน

ทั้งนี้ จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-๑๙ ทำให้มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก นับตั้งแต่ปลายปี ๒๐๑๙ จนมาถึงปัจจุบัน โดยแต่ละประเทศต่างพยายามที่จะช่วยเหลือประชากรของตนเองเท่าที่สามารถจะทำได้ในสภาวะที่แตกต่างกันไป เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ และการเสียชีวิตลง โดยเฉพาะการป้องกันที่จำเป็นต้องใช้วัคซีน แต่โอกาสการเข้าถึงวัคซีนเป็นไปด้วยความยากลำบาก มีความเหลื่อมล้ำเพราะความแตกต่างเกิดขึ้น

ขณะเดียวกัน ในการผลิตวัคซีน ตกอยู่ในมือภายใต้สิทธิบัตรของบริษัทเอกชนเพียงไม่กี่ราย และรัฐบาลเพียงไม่กี่ประเทศ การทำกำไรจากวัคซีนในราคาที่แพงและยากต่อการเข้าถึง จึงเป็นสาเหตุสำคัญต่อการแพร่ระบาดและการเสียชีวิตของประชากรโลก จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะเอาความตายของประชากรโลกไปทำการค้าและหากำไร

องค์การสหประชาชาติมีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งเพื่อ “ระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศคู่กรณีด้วยสันติวิธี เป็นแกนกลางในการนำสันติภาพอันถาวรมาสู่โลก เป็นศูนย์กลางความร่วมมือช่วยเหลือระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ” โดยมีหลักการสำคัญที่กำหนดไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

ขณะที่ นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ ได้กล่าวไว้ว่า “โรคโควิด-๑๙ กำลังเป็นภัยคุกคามมวลมนุษยชาติ ฉะนั้นพวกเราทุกคนต้องร่วมกันต่อสู้กับภัยครั้งนี้ การรับมือของประเทศใดประเทศหนึ่งเพียงลำพังนั้นไม่เพียงพอ เราต้องให้ความช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอและเปราะบางที่สุด ซึ่งมีมากมายหลายล้านคนที่ไม่อาจปกป้องตนเองได้ นี่เป็นเรื่องมนุษยธรรมขั้นพื้นฐานและเป็นสิ่งจำเป็นในการรับมือกับไวรัส และนี่คือเวลาที่เราต้องยื่นมือไปช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในภาวะเปราะบาง” ซึ่งเป็นคำประกาศในหลักการสำคัญ น่าชื่นชมจึงควรอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นจริง

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

แองเจิล หยิน หวดสถิติใหม่ 28 อันเดอร์พาร์ คว้าแชมป์ฮอนด้า แอลพีจีเอ ไทยแลนด์ 2025 จีโน่-อาฒยา ดีสุดของไทยได้อันดับ 3  แพตตี้-ปภังกร โม-โมรียา อันดับ 4 ร่วม
"พุทธิพงษ์" หนุน "บ้านเพื่อคนไทย" ชี้ควรทำอย่างโปร่งใส กระจายโอกาสถึงผู้มีรายได้น้อยให้ครบทุกภูมิภาค
"อดีตสว.สมชาย" เผย "ท็อปนิวส์" ละเอียดยิบ ขบวนการทุจริต "ฮั้วเลือกสว." ลั่น "ดีเอสไอ" ต้องรับเป็นคดีพิเศษ
"ไทย-กัมพูชา" บุกจับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เมืองปอยเปต พบคนไทยกว่า 100 คน เตรียมส่งกลับประเทศพรุ่งนี้
"จุฬาราชมนตรี" แถลงเตรียมจัดงาน "เมาลิดกลาง แห่งประเทศไทย" ครั้งที่ 59 เริ่ม 18- 20 เม.ย.นี้
จนท.รวบ "หนุ่มไทยเชื้อสายอินเดีย" หอบเงิน 15.7 ล้าน เข้าไทย อ้างเล่นพนันได้จากฝั่งปอยเปต
โผล่อีก “หมู่บ้านเขมร” จองแผ่นดินไทย อึ้ง! อุ้มลูกเดินยั้วเยี้ย ตร.เพิ่งจะจับ
งามไส้! “หนุ่มไทย” พกปืน-กระสุนใส่เต็มแม็ก คุ้มกัน “พม่าเถื่อน” เข้าเมือง
ผู้นำสหรัฐเรียกนายกฯแคนาดาว่า” ขี้แพ้”
เพจดังจับโป๊ะพรรคส้ม ขุดยับ “เท้ง-ไอซ์” นำทีมสส.ร่วมทริปกมธ. บินเกาหลีใต้ ใช้งบฯหลักล้านคาใจดูงานแน่เปล่า

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น