“ทุเรียน” ป้ายน้ำยาเร่งสุก กินเเล้วอันตรายไหม มีคำตอบแล้ว

ทุเรียน, น้ำยาเร่งสุก, อ.เจษฎ์

"ทุเรียน" ชาวเน็ตสงสัย น้ำยาเร่งสุกที่ใช้ป้ายผลไม้ คืออะไร? เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคมากแค่ไหน? ล่าสุด อ.เจษฎ์ ออกมาชี้แจงแล้ว

“ทุเรียน” TOP News ราชาผลไม้กับรสชาติหอมหวาน ชวนน้ำลายไหล แต่เมื่อไม่นานมานี้ ชาวเน็ตสงสัย น้ำยาเร่งสุกที่ใช้กันนั้น เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคมากแค่ไหน อ.เจษฎ์ เฉลยแล้ว

ข่าวที่น่าสนใจ

และด้วยคำถามดังกล่าว ทำให้ชาวเน็ตถึงกับชะงัก เริ่มคิดตามคำถามดังกล่าว ด้าน อ.เจษฎ์ หรือ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์  อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์  รีบไขข้อสงสัย ผ่านเพจ Facebook อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ โดยระบุว่า

มีคำถามจากทางบ้านมาครับว่าที่ “ทุเรียน” ที่ขายกันตามตลาดทุกวันนี้ มีการป้ายน้ำยาเร่งสุก จนเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว น้ำยาที่ว่านี้ เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคมากแค่ไหนครับ ตอนนี้ป้ายกันทุกสวนทุกเจ้า?

ทุเรียน, น้ำยาเร่งสุก, อ.เจษฎ์

น้ำยาเร่งสุก คืออะไร 

  • ยาป้ายขั้วผลไม้ที่ใช้กันทั่วไปนั้น คือ สารเอทิฟอน (ethephon) ซึ่งจะปลดปล่อยก๊าซเอทิลีน (ethylene) ซึ่งเป็นฮอร์โมนพืชตามธรรมชาติ มาป้ายที่ขั้วผลทุ เรียน หรือผลไม้ชนิดอื่น ๆ ทำให้ผลไม้สุกเร็วขึ้น โดย ethephon เป็นสารเคมีอินทรีย์ ในสถานะบริสุทธิ์เป็นผลึกรูปเข็มสีขาว ใช้เป็นสารกระตุ้นและควบคุมการเจริญเติบโตของพืช และมีประสิทธิภาพต่อการส่งเสริมการสุกแก่ของผลไม้ได้
การสุกของผลไม้ จากก๊าซเอธิลีนที่ได้จากสารเอทิฟอนนั้น เป็นกระบวนการสังเคราะห์ทางสรีรวิทยาและทางชีวเคมีที่ซับซ้อนของพืช แต่ไม่ก่อให้เกิดสารที่เป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์
ทุเรียน, น้ำยาเร่งสุก, อ.เจษฎ์
การบ่มด้วยสารเอทิฟอนนี้ จะไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค โดยได้รับการวิจัยและศึกษาของภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน ว่า การใช้ยาป้ายขั้วทุ เรียนนั้น จะไม่มีตกค้างอยู่ทั้งในเนื้อและเมล็ด เมื่อใช้แล้วจะมีตกค้างอยู่เฉพาะแค่ที่เปลือก และจะสลายตัวไปในที่สุด ผู้ที่รับประทานผลที่ใช้ยาป้ายขั้วนั้น จะไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ จากสารเร่งสุก ปลอดภัย 
ทุเรียน, น้ำยาเร่งสุก, อ.เจษฎ์
อย่างไรก็ตาม ถ้าได้รับสารเอทิฟอนเข้าไปโดยตรง เป็นปริมาณมาก ก็อาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ เช่น
  • ระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตา
  • อาจจะมีอาการแสบร้อน
  • คลื่นไส้
  • อาเจียนหลังจากรับประทานเข้าไปโดยไม่ตั้งใจ
  • อาเจียนเป็นสีน้ำตาลและสีดำ
  • กิจกรรมของเอนไซม์ cholinesterase ลดลง

ข้อมูล : อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น