“วราวุธ” ยืนยันพร้อมรับนักท่องเที่ยว เปิดประเทศ 1 พ.ค.นี้

“วราวุธ” ย้ำ ปิดถ้ำนาคา 1 เดือน ฟื้นฟูธรรมชาติ ซักซ้อมระบบช่วยเหลือนักท่องเที่ยว ระบุ อุทยานพร้อมรับนักท่องเที่ยวเปิดประเทศ 1 พ.ค.นี้ เน้นมาตรการ สธ. ป้องกันโควิด ห้ามนำพลาสติกเข้าอุทยาน

วันที่ 26 เม.ย.65. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงการปิดถ้ำนาคาเป็นเวลา 1 เดือน เริ่มวันที่ 1 พ.ค.นี้ ว่า เป็นไปตาม นโยบายที่กระทรวงได้มอบให้ไว้ก่อนสถานการณ์โควิด-19 ว่า อุทยานทั่วประเทศนั้น ใน 1 ปี จะต้องมีการปิดอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อให้ได้พักธรรมชาติ และเจ้าหน้าที่ได้ไปซ่อมแซมพัฒนาปรับปรุงการทำงาน ตั้งระบบต่างๆภายในอุทยานให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งถ้ำนาคาก็เป็นหนึ่งในที่ที่ประชาชนให้ความสนใจเดินทางไปท่องเที่ยวจำนวนมาก ดังนั้นการปิด 1 เดือน ก็เป็นไปตามนโยบายของกระทรวง รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่กระทรวง โดยเฉพาะในการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวด้วยการลำเลียงทางอากาศหากเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน จึงจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงระบบ รวมถึง การเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวในอนาคต

ข่าวที่น่าสนใจ

ส่วนการเปิดประเทศในวันที่ 1 พ.ค.นี้ ในส่วนของอุทยานต่างๆ ที่กระทรวงทรัพยากรฯ ดูแล ได้กำชับให้ใช้มาตรการเดียวกับในช่วงเทศการสงกรานต์ ในการดูแลนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะเพิ่มมากขึ้น โดยยังคงเน้นมาตรการด้านสาธารณสุข เว้นระยะห่าง ทำความสะอาด จำกัดนักท่องเที่ยว ใช้ระบบการจองคิวออนไลน์ ผ่านแอพพลิเคชั่น QueQ และตั้งแต่วันที่ 6 เมษายนที่ผ่านมา ทางกระทรวงได้ห้ามนำเอาพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งเข้าอุทยาน จึงขอฝากให้ประชาชนปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

นายวราวุธ กล่าวถึง การลงพื้นที่จังหวัดเชียงรายและได้พบกับนายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่า ไม่ได้คุยเรื่องสถานการณ์ทางการเมือง แต่พูดคุยถึงสถานการณ์หมอกควันไฟป่า โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เนื่องจากนายยงยุทธ เป็นหัวหน้าคณะทำงานวิจัยเรื่องหมอกควันไฟป่าข้ามแดน พร้อมทีมนักวิจัยได้ลงพื้นที่ดูจุดความร้อนในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน และในการทำงานดังกล่าว ส่งผลให้จุดความร้อนและสถานการณ์ไฟป่า ในพื้นที่ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา

ส่วนกรณีการร้องเรียนโครงการแก้มลิง เกาะพระทอง จ.พังงา ที่เป็นปัญหาระหว่างกรมชลประทานและกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่มีการบุกรุกป่าชายเลนและป่าสงวนแห่งชาติ ว่า ทุกอย่างต้องดำเนินการตามกฎหมาย โดยมอบหมายให้กรมทรัพยากรทางทะเลฯ เร่งประสานงาน และดูสาเหตุว่าทำไมไม่มีการตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งส่วนตัวขอฝากสื่อมวลชนไปยังประชาชนภาคเอกชน ภาครัฐ ว่าจะทำสิ่งไหนในพื้นที่ป่า จะต้องคิดให้ถี่ถ้วน เพราะว่าการตัดไม้เป็นสิ่งที่ง่าย แต่การเจริญเติบโตเป็นเรื่องที่ยาก ยืนยัน ไม่ใช่ความขัดแย้งทั้ง2 กรม แต่มองว่าน่าจะเกิดจากการสื่อสารที่คลาดเคลื่อน เนื่องจากการทำงานมีกฎหมายที่หลายตัว ซึ่งหลายตัวไม่น่าจะเกิดขึ้น แต่ก็ต้องแก้ปัญหา ส่วนตัวเข้าใจหน้าที่กรมชลประทาน ที่จะดูแลเกษตรกรชาวไร่ชาวนา แต่ขณะเดียวกันกระทรวงทรัพยากรฯ ก็มีหน้าที่ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นอย่ามองเป็นความขัดแย้งทั้งหมด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ญี่ปุ่นเสนอร่วมโครงการวางท่อก๊าซกับสหรัฐ
มาเลเซียเรียกร้องอาเซียนผนีกกำลังต้านภาษีทรัมป์
โดนหนักแน่ “เอกนัฏ” จ่อฟัน “ซินเคอหยวน” เป็นคดีพิเศษเพิ่ม ลุยสอบซุกฝุ่นแดงมหาศาล
ทรัมป์พร้อมเจรจานานาชาติปมภาษีตอบโต้
สิงคโปร์ส่งแมลงสาบไซบอร์กกู้ภัยแผ่นดินไหวเมียนมา
UNEX EV เปิดตัว'ระบบสลับแบตเตอรี่'ในไทยใช้เวลา 3 นาที
นักวิชาการแนะนำเข้าเนื้อหมูสหรัฐ ควรพิจารณารอบด้าน หวั่นเจอผลกระทบระยาว ย้ำไทยมีการเลี้ยงได้มาตรฐานสากล
จับตา "ทรัมป์" พร้อมเจรจานานาชาติปมภาษีนำเข้า หลังตลาดหุ้นสหรัฐและทั่วโลกดิ่งต่อเนื่อง
"หนุ่มไฮโซเก๊" เครียดหนักโดนแฉ หลอก "คะน้า" ดาราดัง โดดระเบียงชั้น 3 ตกลงมาเจ็บหนัก นำตัวส่งรพ.
"ทูตแรงงานเมียนมา" เยี่ยมศูนย์พักผู้ประสบภัยตึก สตง.ถล่ม เร่งตรวจสอบเยียวยา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น