“WHO” ชื่นชมรัฐบาลไทย รับมือโควิด ดูแลภาคแรงงาน-ช่วยธุรกิจเดินได้

WHO ชื่นชม รัฐบาล กระทรวงแรงงาน ที่นำระบบเศรษฐศาสตร์คู่สาธารณสุข ดูแลสุขภาพคนงานตามหลักสิทธิมนุษยชนจากโควิด-19 ช่วยธุรกิจเดินได้

วันนี้( 26 เม.ย.65) นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ ดร.ซามีรา อาสมา (Dr.Samira Asma) ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ องค์การอนามัยโลก ประจำสำนักงานใหญ่ นครเจนีวา ดร.สเตลลา ชุงกอง (Dr.Stella Chungong) ผู้อำนวยการการเตรียมความพร้อมเพื่อความมั่นคงด้านสุขภาพ และคณะผู้บริหารระดับสูง WHO พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ในโอกาสเข้าพบรมว.แรงงาน เพื่อหารือโครงการนำร่องกลไกทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า จากการดำเนินการดำเนินนโยบายและแนวปฏิบัติที่ดีของกระทรวงแรงงานตามนโยบายรัฐบาล เพื่อช่วยเหลือพี่น้องผู้ใช้แรงงานจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยมี นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) นางสาวบุปผา เรืองสุด รองปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย ณ ห้องจัตุมงคล ชั้น 6 อาคารกระทรวงแรงงาน

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายสุชาติ กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่องค์การอนามัยโลกให้การยอมรับในการบริหารจัดการและรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกระทรวงแรงงานบูรณาการร่วมกับหลายหน่วยงานโดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาในหลายด้าน อาทิ การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวเพื่อนำเข้าสู่ระบบที่ถูกต้องตามกฎหมาย โครงการ Factory Sandbox การตรวจคัดกรองเชิงรุก RT-PCR 100% ภายใต้โครงการ “แรงงาน…เราสู้ด้วยกัน” การจัดหาเตียง Hospitel รองรับการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 การเปิดสายด่วนให้ความช่วยเหลือประสานหาเตียงรองรับการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 การตั้งศูนย์ฉีดวัคซีนเพื่อผู้ประกันตนมาตรา 33 เป็นต้น

นายสุชาติ กล่าวว่า ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 กระทรวงแรงงานได้เร่งให้การช่วยเหลือ จนทำให้สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในกลุ่มแรงงาน สามารถรักษาระดับการจ้างงาน ประคับประคองให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคส่งออกเติบโตต่อเนื่อง จึงได้ดำเนินโครงการ Factory Sandbox ด้วยหลักการสำคัญ 4 ประการ คือ
– ประการแรก ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้แท่นพิมพ์เงินภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งเป็นรายได้สําคัญของประเทศได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง รัฐบาลจึงต้องรักษาการจ้างงานและรักษาแท่นพิมพ์เงินของธุรกิจภาคส่งออกที่มีภาคแรงงานกว่า 2 ล้านคน ใน 4 สาขา ได้แก่ อาหาร เครื่องมือแพทย์ ยานยนต์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เอาไว้ เนื่องจากหลายประเทศไม่สามารถส่งออกสินค้าได้
– ประการที่ 2 การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงแรกมีวัคซีนจำกัด จึงต้องจัดสรรให้ผู้สูงอายุก่อน ขณะเดียวกันกระทรวงแรงงานได้เล็งเห็นความสำคัญของพี่น้องผู้ใช้แรงงานที่เป็นฟันเฟืองสำคัญในการผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศ จึงขอรับการจัดสรรวัคซีนจากรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในกลุ่มพี่น้องผู้ใช้แรงงาน และป้องกันไม่ให้พี่น้องผู้ใช้แรงงานต้องนำเชื้อโควิด-19 ไปติดผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัวที่บ้าน จึงได้ดำเนินโครงการ Factory Sandbox ตามนโยบายรัฐบาลด้วยหลักการเศรษฐศาสตร์คู่กับสาธารณสุข ทั้งการตรวจ รักษา ควบคุม ดูแล เยียวยา การให้ความช่วยเหลือ การฉีดวัคซีน ตรวจคัดกรองโควิด -19 เพื่อประคับประคองให้ธุรกิจเดินได้
– ประการที่ 3 สำนักงานประกันสังคมมีโรงพยาบาลในเครือข่ายที่เป็นโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศรวมกว่า 200 แห่ง ซึ่งมีทีมแพทย์และพยาบาลที่มีศักยภาพและมีความพร้อมในการรองรับการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงอาศัยสถานพยาบาลเหล่านี้ในการตรวจคัดกรอง ดูแลรักษา และฉีดวัคซีนแก่พี่น้องผู้ใช้แรงงาน ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม
– ประการที่ 4 กระทรวงแรงงานได้ทำงานใกล้ชิดกับสหภาพแรงงาน จึงทำให้การดำเนินโครงการดังกล่าวสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด บรรลุวัตถุประสงค์และตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการและพี่น้องผู้ใช้แรงงานอย่างแท้จริง

 

ด้านดร.ซามีรา อาสมา (Dr.Samira Asma) ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ องค์การอนามัยโลก ประจำสำนักงานใหญ่ นครเจนีวา กล่าวว่า ขอบคุณกระทรวงแรงงานที่ได้ให้เข้ามาหารือเพื่อให้ประเทศไทยได้เข้าร่วมโครงการนำร่องกลไกทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า

ซึ่งขอชื่นชมรัฐบาล กระทรวงแรงงาน สปสช. และภาคเอกชนที่ได้บูรณาการความร่วมมือระหว่างกันเพื่อหาความสมดุลในการดูแลสุขภาพของพี่น้องแรงงานช่วงโควิด-19 โดยไม่ให้ภาคธุรกิจต้องปิดกิจการ โดยไม่ได้สนใจแค่เศรษฐกิจอย่างเดียว แต่ให้ความสำคัญหลักเศรษฐศาสตร์คู่สาธารณสุข และคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนของแรงงานที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยด้วย ซึ่งเป็นนโยบายและแนวปฏิบัติที่ดีเลิศในการให้ต่างชาติได้เรียนรู้จากประสบการณ์บริหารความเสี่ยงเพื่อนำไปปรับใช้ในช่วงวิกฤตได้ต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) จีนขุดพบ 'ภาพวาดในเปลือกหอย' เก่าแก่ 2,000 ปี
“นายกฯ อิ๊งค์” บี้ผลสอบข้อเท็จจริงตึก สตง.ถล่ม ลั่นต้องดำเนินการอย่างเด็ดขาด
"อิหร่าน" ตอกหน้า ไล่ "มะกัน" ไปคุยอ้อม หลัง "ทรัมป์" โวเจรจาตรงเสาร์นี้
จนท.รวบ 7 แก๊งคอลฯ สัญชาติจีน เดินเท้าข้ามน้ำหนีตายเข้าไทย
จนท.พบร่างผู้ติดค้างโซน B-C เพิ่มอีก 3 คน ใต้ซากตึก สตง.ถล่ม
"กรมอุตุฯ" เตือน 48 จว. รับมือพายุฝนฟ้าคะนอง กทม.โดนด้วย
ทีมกู้ภัยยูนนานกลับจีน หลังเสร็จภารกิจในเมียนมา
โพลชี้คนไทยไม่เอากาสิโน หวั่นรัฐคุมไม่ได้ ประโยชน์ไม่ถึงคนไทย
โฆษกกทม. คาดภายในคืนนี้ สามารถลดระดับความสูงซาก "ตึกสตง." ถล่ม โซน E ได้ เปิดทางค้นหาต่อเนื่อง
นายกสุพิศ เปิดงานของดี อบต.รัตภูมิ สงขลา หวังต่อยอด เชิดชูอัตลักษณ์ประเพณีท้องถิ่น

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น