“ลูกจ้างควรรู้” 2565 ลา มาสาย ทำงานพลาด หักเงินเดือนได้ไหม

ลูกจ้างควรรู้, นายจ้าง, กฎหมายแรงงาน, หักเงินเดือน,​ ลดเงินเดือน

"ลูกจ้างควรรู้" ลางาน มาสาย หรือทำงานพลาด นายจ้างขู่หนัก หักเงินเดือนแน่ แบบนี้ทำได้จริงหรือ? เพจดังเฉลยแล้ว

“ลูกจ้างควรรู้” TOP News เปิดข้อกฎหมายแรงงานชัด ๆ ก่อนวันแรงงาน ไขทุกข้อสงสัย หากลูกจ้าง ลางาน มาสาย หรือทำงานพลาด นายจ้างมีสิทธิหักเงินเดือนหรือลดเงินเดือนหรือไม่ เพจดังมีคำตอบให้แล้ว

ข่าวที่น่าสนใจ

“ลูกจ้างควรรู้” เข้าใกล้วันแรงงานแบบนี้ TOP News เชื่อว่า เหล่ามนุษย์เงินเดือนทั้งหลายต้องเคยเจอเคสนี้แน่นอน หากลางาน ขาดงาน หรือทำงานผิดพลาด นายจ้างจะหัวเสียขั้นสุดถึงขั้นบอกว่าจะหักเงินเดือนหรือลดเงินเดือนกันเลยทีเดียว แค่โดนดุว่ารู้สึกแย่แล้ว พอเจอโทษแบบนี้ซ้ำเข้าไป ก็ทำเอาหลายคนเสียสูญพอสมควร จนเกิดคำถามว่า หากขาด ลา มาสาย หรือทำงานผิดพลาดจริง ๆ นายจ้างสามารถหักเงินเดือนหรือลดเงินเดือนได้หรือไม่

ลูกจ้างควรรู้, นายจ้าง, กฎหมายแรงงาน, หักเงินเดือน,​ ลดเงินเดือน
ล่าสุด เพจกฎหมายแรงงาน ได้ออกมาไขข้อข้องใจ โดยระบุว่า คำถามดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น คือ
  • ลงโทษด้วยการหักค่าจ้างได้หรือไม่
  • ลงโทษด้วยการลดค่าจ้างได้หรือไม่
ประเด็นที่ 1 
  • กฎหมายคุ้มครองแรงงานมาตรา ๗๖ กำหนดว่า ห้ามมิให้หักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด จึงเห็นได้ว่ากฎหมายห้ามมิให้หักค่าจ้างไว้อย่างชัดเจน
  • การขาด มาสายหรือทำงานผิดพลาด โดยปกติสามารถลงโทษได้ แต่ต้องลงโทษที่กฎหมายอนุญาตให้ทำได้ เช่น ออกหนังสือตักเตือน หรืออาจพักงานไม่เกิน ๗ วัน หรือเลิกจ้างได้ แต่การลงโทษด้วยการหักค่าจ้างทำไม่ได้ เพราะ ต้องห้ามตามกฎหมายอย่างชัดเจนในมาตรา ๗๖ และการลงโทษด้วยการหักค่าจ้างก็ไม่ใช่ข้อยกเว้นที่กฎหมายอนุญาตให้ทำได้
  • ส่วนการลางาน เป็นสิทธิของลูกจ้างที่กฎหมายรองรับให้ทำได้ ดังนั้น หากเป็นการลาโดยถูกต้องตามข้อบังคับในการทำงานก็จะลงโทษใด ๆ ไม่ได้

ลูกจ้างควรรู้, นายจ้าง, กฎหมายแรงงาน, หักเงินเดือน,​ ลดเงินเดือน

ประเด็นที่ ๒
  • คำตอบ คือ ไม่ได้ เพราะ ค่าจ้าง คือ สภาพการจ้าง
  • หลักการของสภาพการจ้าง คือ จะเปลี่ยนโดยพลการจากฝ่ายนายจ้างฝ่ายเดียว แล้วผลจากการเปลี่ยนนั้นลูกจ้างได้รับสิทธิหรือประโยชน์น้อยลง หรือต่ำลงไม่ได้ หากมองในแง่สัญญาจ้างก็ถือว่าเป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญาก็ว่าได้
  • อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนสภาพการจ้างด้วยการลดค่าจ้างอาจทำได้ด้วยการตกลงยินยอมพร้อมใจจากฝ่ายลูกจ้าง โดยทำข้อตกลงเป็นหนังสืออย่างชัดแจ้ง
ดังนั้น ทำไม่ได้ทั้งสองประเด็น
ลูกจ้างควรรู้, นายจ้าง, กฎหมายแรงงาน, หักเงินเดือน,​ ลดเงินเดือน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้นำสูงสุดปัดอิหร่านไม่มีกองกำลังตัวแทน
ฮูตีเคลมผลงาน F/A-18 โดนสอยร่วงทะเลแดง
สื่อทำเนียบฯ จัดเต็มฉายาครม.ปี 67 "รัฐบาล (พ่อ) เลี้ยง" นายกฯท่องโพย วาทะแห่งปี "สามีคนใต้"
“ว้าแดง”เหิมหนัก! สั่งคนไทยห้ามเก็บของป่า ชาวบ้านผวา-ซ้อมอพยพถี่ยิบ
เมีย-แม่ยาย หอบเงินล้าน บุกติดสินบนตำรวจ ช่วยผัวค้าเฮโรอีน สุดท้ายถูกซ้อนแผนโดนรวบตัว
ไทยตอนบนอากาศยังหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 12 องศา ใต้เจอฝนฟ้าคะนองบางแห่ง กทม. มีหมอกบางตอนเช้า ร้อนสุด 31 องศา
ฮีโร่โอลิมปิคเหรียญทองน้องอร “ฉายาสู้โวย” ร่วมแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ในงานกีฬาประจำปีอบต.ไทยสามัคคี พร้อมลงแข่งขันตีกอล์ฟบก สร้างความสนุกสนานเฮฮา
"สธ." ยันพบชาวเมียนมา ป่วยอหิวาฯ รักษาฝั่งไทย 2 ราย อาการไม่รุนแรง
สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น