“หมอยง”คาด อีกไม่นาน”สายพันธุ์เดลตา”จะระบาดเกือบทั่วโลก

“หมอยง” คาด อีก 3-4 เดือนข้างหน้า สายพันธุ์เดลตา จะระบาดเกือบทั่วโลก และไทย มีแนวโน้มสายพันธุ์”เดลตา” เข้ามาแทนที่ พร้อมระบุ วัคซีนที่ผลิตมาก่อน ยังคงมีประสิทธิภาพ

นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ เครือข่ายห้องปฏิบัติการดำเนินงานเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ เพื่อให้ประเทศไทย มีข้อมูลเฝ้าระวังสายพันธุ์ได้ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) และสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) ที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีน

รายงานผลการเฝ้าระวัง ตั้งแต่เมษายน 2564 ถึงวันที่ 20 มิถุนายน 2564 พบ สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) จำนวน 5,641 ตัวอย่าง สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) จำนวน 661 ตัวอย่าง และสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) จำนวน 38 ตัวอย่าง

นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวต่อว่า ข้อมูลล่าสุด พบว่า สายพันธุ์เดลตา มีการพบเพิ่มในเขตสุขภาพที่ 4 จากเดิมจำนวน 40 ราย เป็น 65 ราย รวม 105 ราย ส่วนเขตสุขภาพที่ 13 จากเดิม 404 ราย เพิ่มอีก 87 ราย รวมเป็น 491 ราย สายพันธุ์เบตา จากข้อมูลการเฝ้าระวังของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ขณะนี้ ยังพบในภาคใต้ จำนวน 38 ราย โดยพบในเขตสุขภาพที่ 11 จำนวน 2 ราย และเขตสุขภาพที่ 12 จากเดิม 28 ราย เพิ่มอีก 5 ราย รวม 33 ราย

จากการติดตามเด็กนักเรียนในจังหวัดยะลา เบื้องต้น พบมีทั้งสายพันธุ์อัลฟา และสายพันธุ์เบตา ซึ่งขณะนี้ หน่วยงานสาธารณสุข กำลังติดตามหาต้นตอว่า ติดมาจากที่ไหน และกำลังเร่งติดตามว่า เชื้อมีการกระจายไปจังหวัดอื่น ๆ หรือไม่ สำหรับผลการตรวจเด็กนักเรียน ที่จังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดตราด ที่กลับมาจากจังหวัดยะลา ผลตรวจไม่พบเชื้อโควิด 19 ซึ่งขณะนี้เด็กอยู่ระหว่างกักตัวเฝ้าระวังต่อไป

ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมเฝ้าระวังในพื้นที่แล้ว สำหรับประชาชน ขอให้สวมหน้ากาก ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่าง เพื่อป้องกันโควิด 19

ด้าน ศาสตราจารย์ นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) แพร่กระจายได้เร็วกว่า สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) ประมาณ 1.4 เท่า จึงไม่แปลกที่สายพันธุ์เดลตา จะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า สายพันธุ์เดลตา ก็จะเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดเกือบทั่วโลก ในอนาคตก็อาจจะมีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น โดยวัฏจักรแล้ว จะใช้เวลาประมาณ 4 เดือน

ส่วนวัคซีนทุกตัวที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน พัฒนามาจากสายพันธุ์ดั้งเดิม คือ สายพันธุ์อู่ฮั่นทั้งนั้น เมื่อสายพันธุ์เปลี่ยนไป ประสิทธิภาพของวัคซีนก็เปลี่ยนไป และเชื่อว่าในอนาคต ทุกบริษัทก็จะผลิตวัคซีนให้ทันกับสายพันธุ์ที่เปลี่ยนแปลง ดังเช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ที่เราต้องคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงของไวรัสไว้ล่วงหน้า กระบวนการเปลี่ยนแปลงในสายการผลิต ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน

สายพันธุ์อัลฟา ลดประสิทธิภาพของวัคซีนที่ผลิตมาก่อนไม่มาก และคงยังใช้อย่างมีประสิทธิภาพได้ดี ในขณะนี้ ประเทศไทยส่วนใหญ่ ยังเป็นสายพันธุ์อัลฟา และมีแนวโน้มที่จะเกิดสายพันธุ์เดลตาเข้ามาแทนที่ สิ่งที่เราจะทำได้ก็คงจะต้องช่วยกันควบคุมป้องกัน ให้เกิดสายพันธุ์เดลตา ระบาดในประเทศไทยช้าที่สุด และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการให้วัคซีนในการควบคุมโรคในอนาคตให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดตามทรัพยากรที่เรามีอยู่ สิ่งที่สำคัญที่สุดประชาชนไทยทุกคน จะต้องช่วยกัน แม้จะฉีดวัคซีนแล้ว จะต้องใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่าง เพื่อป้องกันโควิด 19

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

‘อี้ แทนคุณ’ พาเหยื่อร้องปคม. ถูกหลอกข้ามแดนลวงเปิดบัญชีม้า หลังพบมีหมาย 450 คดี
คืนส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2568 รถไฟฟ้าบีทีเอส - สายสีทอง ขยายเวลาให้บริการถึงตี 2
“เพื่อไทย” จัดเต็ม ชาวเชียงใหม่เรือนหมื่นแห่ฟัง “ทักษิณ” สว.ก๊องมั่นใจ พ่อใหญ่แม้วช่วยหาเสียงชนะแน่
ชาวบ้านทรุดก้มกราบ “ทักษิณ” ขอปรึกษาปัญหาชีวิต การ์ดรีบยกตัวออก
เกมแล้ว! หนุ่มแต่งรถประดับไฟสี ธีมคริสต์มาส ขับเฉิดฉายทั่วถนน ปรับฉ่ำๆ 2 ข้อหา
แจ้ง 4 ข้อหาหนัก 'อส.เมากร่าง' ยิงสนั่นกลางร้านข้าวต้ม ดับ 2 ศพ เปิดวงจรปิดอีกมุม เห็นวินาทีก่อเหตุชัด
ตร.ไซเบอร์ ขยายผลตามรวบ "ผู้จัดหาบัญชีม้า" แก๊งลวง "ชาล็อต" กว่า 4 ล้านบาท
“บิ๊กอ้วน”ซัดปาก! พวกกระหายสงคราม “บิ๊กปู” คอนเฟิร์ม “ว้าแดง” เรียบร้อยดี
เวียงแหงโมเดล! เยาวชนคนรุ่นใหม่ One Young World เครือซีพี ปักธง FIGHT หมอกควันชายแดนไทย-พม่า เรียนรู้-ชวนชุมชมร่วมลด PM 2.5
ทิพยประกันภัย จับมือ NT ลงนาม MOU พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ายุคดิจิทัล

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น