“ติดเชื้อในกระแสเลือด” ร้อยละ 50 เสียชีวิต รู้จักก่อน ที่นี่

ติดเชื้อในกระแสเลือด, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ, สาเหตุ, ความหมาย, อาการ, การวินิจฉัย, ภาวะแทรกซ้อน, กลุ่มเสี่ยง, การรักษา, การป้องกัน

"ติดเชื้อในกระแสเลือด" ความหมาย เกิดขึ้นจากสาเหตุใด เช็คก่อน อาการ การวินิจฉัย ภาวะแทรกซ้อน กลุ่มเสี่ยง การรักษา การป้องกัน ที่นี่ ครบ จบ

“ติดเชื้อในกระแสเลือด” ปรากฏเป็นข่าวการเสียชีวิตของคนดัง ล่าสุด พรพิมล คงอุดม ลูกสาว ชัช เตาปูน รวมทั้งบุคคลอันเป็นที่รักของหลายครอบครัว เคยสงสัยไหมว่า ภาวะติดเชื้อ ในกระแสเลือด หรือ ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (Sepsis) นั้น มีสาเหตุจากอะไร ติดเชื้อได้อย่างไร ทั้งนี้ อาจมีผู้ป่วยติดเชื้อ ในกระแสเลือดถึงร้อยละ 50 เสียชีวิตจากภาวะดังกล่าว ผู้ที่ติดเชื้อ ในกระแสเลือดจึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยด่วน หากติดเชื้อแล้วมีวิธีสังเกตอาการอย่างไรเพื่อให้รักษาทันท่วงทีล่ะ แล้ววิธีป้องกันอย่างไรไม่ให้ติดเชื้อ ในกระแสเลือดได้ ที่นี่ TOP News มีคำตอบ

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

  • การติดเชื้อที่เกิดขึ้นที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งในร่างกาย แล้วทำให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการติดเชื้อหรือต่อพิษของเชื้อโรค ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นในอวัยวะภายในของร่างกาย หากมีความรุนแรงมากขึ้นอาจพัฒนาไปสู่ภาวะช็อกและทำให้การทำงานของอวัยวะภายในร่างกายต่าง ๆ ล้มเหลว ซึ่งมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

สาเหตุ

  • การติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นสาเหตุหลักของภาวะติดเชื้อ ในกระแสเลือด (Sepsis) นอกจากนั้น อาจเกิดจากการติดเชื้อรา ไวรัส หรือพยาธิก็ได้ โดยการติดเชื้ออาจเกิดขึ่นที่ตำแหน่งใดก็ได้ในร่างกาย
  • การติดเชื้อที่พบบ่อยว่าเป็นต้นเหตุของภาวะพิษจากการติดเชื้อ ได้แก่
  1. การติดเชื้อของอวัยวะต่างๆ ในช่องท้อง เช่น ไส้ติ่งอักเสบ หรือการติดเชื้อของถุงน้ำดี หรือการติดเชื้อในตับ
  2. การติดเชื้อที่ปอด หรือ นิวโมเนีย
  3. การติดเชื้อที่ผิวหนัง
  4. การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

นอกจากนี้ การรักษาผู้ป่วยโดยการสอดใส่เครื่องมือเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย เช่น การสวนทวาร การสวนสายปัสสาวะ และการใช้สายสวนหลอดเลือด ก็เป็นสาเหตุที่พบบ่อย เนื่องจากอุปกรณ์ในการทำหัตถการเหล่านี้ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายกว่าปกติ

ติดเชื้อในกระแสเลือด, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ, สาเหตุ, ความหมาย, อาการ, การวินิจฉัย, ภาวะแทรกซ้อน, กลุ่มเสี่ยง, การรักษา, การป้องกัน

กลุ่มเสี่ยง

  • โดยกลุ่มเสี่ยงของภาวะติดเชื้อ ในกระแสเลือด หรือ ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (Sepsis) จะเริ่มต้นจากการติดเชื้อที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งของร่างกายก่อน ผู้ที่มีความเสี่ยง คือ ผู้ที่มีแนวโน้มติดเชื้อได้ง่าย และเมื่อติดเชื้อแล้วเชื้อนั้นสามารถลุกลามได้เร็ว เช่น
  1. ผู้ป่วยสูงอายุ เนื่องจากมีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ
  2. ผู้ป่วยเด็ก เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่
  3. ผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  4. ผู้ป่วยที่มีโรคร่วมหลายโรค หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไตวายเรื้อรัง โรคตับ โรคปอดเรื้อรัง

การวินิจฉัย

  • การวินิจฉัยการติดเชื้อ ในกระแสเลือดนั้นทำได้ยาก เนื่องจากแพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยเพื่อระบุสาเหตุของการติดเชื้อได้อย่างชัดเจน แพทย์จึงต้องใช้วิธีการตรวจหลายอย่าง ซึ่งขึ้นอยู่กับอาการและความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละคน ดังนี้
  1. การตรวจอาการทั่วไป เบื้องต้นแพทย์จะตรวจอาการของผู้ป่วย ประกอบกับดูประวัติการรักษา นอกจากนี้ แพทย์จะตรวจร่างกายเพื่อวัดระดับความดันโลหิต อุณหภูมิร่างกาย ชีพจร และอาการ หรือสัญญาณของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่เกิดร่วมกับการติดเชื้อ ในกระแสเลือด
  2. การตรวจเลือด แพทย์จะเก็บตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยเพื่อนำไปตรวจหาการติดเชื้อ การเกิดลิ่มเลือด การทำงานที่ตับหรือไต ความสามารถในการลำเลียงออกซิเจน และระดับความสมดุลของเกลือแร่ในร่างกายผู้ป่วย
  3. การตรวจปัสสาวะ ผู้ป่วยทางเดินปัสสาวะอักเสบต้องนำตัวอย่างปัสสาวะให้แพทย์ตรวจ เพื่อดูการติดเชื้อของแบคทีเรีย
  4. การตรวจสารคัดหลั่งจากบาดแผล หากผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บและเกิดแผลติดเชื้อ แพทย์จะเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งจากบาดแผลมาตรวจ เพื่อช่วยในการจ่ายยาปฏิชีวนะให้สามารถรักษาการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. การตรวจน้ำมูกหรือเสมหะ หากผู้ป่วยเกิดอาการไอและมีเสมหะด้วย แพทย์จะเก็บตัวอย่างน้ำมูกหรือเสมหะ โดยการตรวจนี้จะช่วยวินิจฉัยชนิดของแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการติดเชื้อ
  6. การตรวจด้วยภาพสแกน วิธีนี้จะช่วยให้แพทย์ตรวจสภาพของอวัยวะหรือบริเวณเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อให้เห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยการตรวจด้วยภาพสแกน ประกอบด้วย
  • เอกซเรย์ ผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับปอดควรได้รับการเอกซ์เรย์ โดยวิธีนี้จะช่วยแสดงสภาพของปอดชัดเจนขึ้น
  • อัลตราซาวด์ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่ถุงน้ำดีหรือรังไข่ควรได้รับการตรวจอัลตราซาวด์ โดยแพทย์จะใช้คลื่นเสียงเพื่อช่วยสร้างภาพออกมา
  • ซีทีสแกน ผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่ลำไส้ ตับอ่อน หรือไส้ติ่ง ควรตรวจด้วยการทำซีที สแกน โดยแพทย์จะนำภาพเอกซเรย์จากหลายมุมมารวมกันเพื่อให้เห็นภาพรวมโครงสร้างของอวัยวะภายในส่วนต่าง ๆ
  • เอ็มอาร์ไอ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อตรงเนื้อเยื่ออ่อน เช่น เกิดฝีที่กระดูกสันหลัง ควรตรวจด้วยการทำเอ็มอาร์ไอ ซึ่งจะช่วยระบุบริเวณที่เนื้อเยื่ออ่อนติดเชื้อได้ โดยแพทย์จะใช้คลื่นวิทยุและแม่เหล็กไฟฟ้าในการประมวลภาพสแกนของโครงสร้างอวัยวะภายในออกมา

ติดเชื้อในกระแสเลือด, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ, สาเหตุ, ความหมาย, อาการ, การวินิจฉัย, ภาวะแทรกซ้อน, กลุ่มเสี่ยง, การรักษา, การป้องกัน

อาการ

  • ภาวะการติดเชื้อ ในกระแสเลือดสามารถแบ่งอาการออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
  1. อาการเฉพาะที่หรือเฉพาะอวัยวะที่ติดเชื้อ เช่น เมื่อเป็นปอดอักเสบติดเชื้อจะมีอาการไอและเจ็บหน้าอก เมื่อมีการติดเชื้อที่ไตจะมีอาการปวดหลังและปัสสาวะบ่อย เป็นต้น
  2. อาการที่เกิดจากการที่ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการติดเชื้อ หรือเป็นกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย เช่น มีไข้ขึ้นสูงร่วมกับหนาวสั่น มีชีพจรเต้นเร็ว มีอาการซึมสับสน (พบมากในผู้สูงอายุ) ร่วมกับมีหายใจเร็วเกิน 20 ครั้งต่อนาที
  • อาการที่ควรมาพบแพทย์ทันที
  1. หากมีอาการไข้สูง หนาวสั่น หรือมีอาการซึม
  2. หายใจเร็วผิดปกติ หรือพบความผิดปกติที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ให้รีบมาพบแพทย์ทันที

ทั้งนี้ เด็กที่ติดเชื้อ ในกระแสเลือด อาการจะแสดงออกไม่ชัดเจนเหมือนผู้ใหญ่ โดยเด็กอาจจะตัวเย็นมาก เกิดจุดเป็นหย่อม ๆ และมีสีผิวออกเขียว ๆ หรือผิวซีด หายใจถี่กว่าปกติ รู้สึกเหนื่อยง่ายและซึมลง ปลุกให้ตื่นยาก เมื่อลองกดผื่นบนผิวหนังแล้ว ผื่นนั้นไม่ยอมหายไปตามรอยกด ขณะที่มีการศึกษาว่า การได้รับการรักษาที่รวดเร็ว จะเพิ่มโอกาสของการหายจากภาวะติดเชื้อ ในกระแสเลือดมากขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อในกระแสเลือด

  • ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ในกระแสเลือดเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหากไม่ได้รับการรักษาทันที ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต โดยการติดเชื้อ ในกระแสเลือดก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนี้
  1. ภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย (Disseminated Intravascular Coagulation, DIC) หรือภาวะดีไอซี ผู้ป่วยติดเชื้อ ในกระแสเลือดอาจเกิดภาวะเลือดในหลอดเลือดแข็งตัวได้ โดยจะเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดเล็กที่อยู่ทั่วตามร่างกาย
  2. ต่อมหมวกไตล้มเหลว ต่อมหมวกไตอยู่เหนือไต ทำหน้าที่ผลิตอะดรีนาลีน สเตียรอยด์ และสารสื่อประสาทอื่น ๆ ที่สำคัญต่อร่างกาย หากผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด อาจทำให้การทำงานของต่อมหมวกไตล้มเหลวได้
  3. อวัยวะทำงานผิดปกติ นอกจากภาวะแทรกซ้อนตามที่กล่าวมาแล้ว การติดเชื้อ ในกระแสเลือดยังส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ ภายในร่างกายอีกด้วย กล่าวคือ อวัยวะหลายส่วนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งรวมไปถึงการทำงานของหัวใจ ปอด และไต
  4. ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome, ARDS) ภาวะนี้ถือเป็นภาวะที่ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต เนื่องจากผู้ป่วยไม่ได้รับออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงปอดอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ ยังทำให้ปอดเสียหายถาวร และส่งผลกระทบต่อสมองจนนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับความจำ

ติดเชื้อในกระแสเลือด, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ, สาเหตุ, ความหมาย, อาการ, การวินิจฉัย, ภาวะแทรกซ้อน, กลุ่มเสี่ยง, การรักษา, การป้องกัน

การรักษา

  • แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อโรคที่สงสัยก่อน และจะนำเลือดไปเพาะเชื้อเพื่อทราบเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค จากนั้นปรับยาปฏิชีวนะให้เฉพาะเจาะจงกับเชื้อโรค โดยผู้ป่วยต้องนอนพักรักษาในโรงพยาบาลเพื่อให้สารน้ำให้เพียงพอและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
  • ผู้ป่วยที่มีอาการหนัก เช่น มีภาวะช็อก หรือมีไข้สูง ต้องได้รับการรักษาในแผนกผู้ป่วยวิกฤติ หรือ ไอซียู เนื่องจากอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้

การป้องกัน

  • รักษาโรคประจำตัวให้ดี เช่น ถ้าเป็นโรคเบาหวานต้องควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ จะช่วยเสริมให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง
  • รักษาสุขอนามัยกินร้อนช้อนกลาง ล้างมือบ่อย ๆ
  • ฉีดวัคซีนตามคำแนะนำ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
  • หากมีอาการไข้สูง หนาวสั่น หรือมีอาการซึม หายใจเร็วผิดปกติ หรือพบความผิดปกติที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ให้รีบมาพบแพทย์ทันที

นอกจากนี้ พ่อแม่ช่วยดูแลลูกไม่ให้ติดเชื้อในกระแสเลือดจากเชื้อบางประเภทได้ โดยพาเด็กไปรับวัคซีนให้ครบอย่างสม่ำเสมอ ส่วนผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง ป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือดได้โดยปฏิบัติ ดังนี้

  • งดสูบบุหรี่
  • เลี่ยงใช้สารเสพติด
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
  • ระวังเมื่อต้องอยู่ใกล้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

พายุฝนพัดถล่มปากพนังเมืองคอนอ่วมอรทัย น้ำท่วมต้นไม้หักโค่นขวางถนน ฝนตกน้ำท่วมและคลื่นลมแรงพัดพัดหอบหอยกาบเกลื่อนชายหาดชาวบ้าน แห่เก็บขายสร้างรายได้ให้ครอบครัว
รวบแล้ว “พี่สาวเมียทนายตั้ม” หลังตกเป็นผู้ต้องหา “ร่วมกันฟอกเงิน” เร่งสอบปม 39 ล้าน
"ดร.ทันกวินท์" เล่านาที "ไอซ์ รักชนก" โดดเดี่ยว มาศาลฟังไต่สวนถอนประกันสส. ดูไม่มั่นใจเหมือนอยู่สภาฯ
‘สามารถ’ ห่วงแม่อายุมาก มอบทีมทนายยื่นโฉนดมูลค่า 1.2 ล้าน ขอประกันตัว
เยอรมนีจ่อเปลี่ยนสถานีรถไฟใต้ดินเป็นที่หลบระเบิด
จีนเตือนไม่มีใครชนะในสงครามการค้า
อัยการนัดฟังคำสั่งคดี "เชน ธนา-ภรรยา" ถูกกล่าวหาฉ้อโกง 29 พ.ย.นี้
“ลุงป้อม” ปัดตอบปม “สิระ” อ้างคนในป่าต่อสายช่วย “สามารถ”
"ทนายพจน์" ยื่นหนังสือสำนักพุทธฯ จี้คณะสงฆ์แจ้ง "พระปีนเสา" สละสมณเพศ หลังถูกขับพ้นวัดวังกวาง
ตร.นำกำลังทลายแคมป์ "แรงงานต่างด้าวเถื่อน" นับร้อย ย่านหนองใหญ่-ชลบุรี เตรียมผลักดันออกนอกประเทศ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น