“โรค Amyloidosis” คืออะไร หลัง จ๋า ณัฐฐาวีรนุช ตรวจเจอ

โรค Amyloidosis อะไมลอยด์โดสิส วีเจจ๋า ณัฐฐาวีรนุช

"โรค Amyloidosis" หรือ อะไมลอยด์โดสิส คืออะไร หลัง จ๋า ณัฐฐาวีรนุช แชร์ประสบการณ์ตรวจพบโรคหายากในไทย หากอาการหนักอันตรายถึงชีวิต

“โรค Amyloidosis” อะไมลอยด์โดสิส Amyloidosis คือ ทำเอาเหล่าชาวเน็ตเกิดอาการตกใจอยู่ไม่น้อย เมื่อทางด้านคนดังอย่าง วีเจจ๋า ณัฐฐาวีรนุช ได้ออกมาแชร์เรื่องราวกลางอินสตาแกรม เมื่อเธอนั้นได้ตรวจพบป่วยโรคหายากอย่าง Amyloidosis หลังพบติ่งเนื้อตรงต่อมทอนซิล ซึ่งตอนนี้เธอปลอดภัยดีแล้ว และโรคนี้คืออะไร อาการเป็นอย่างไร สามารถรักษาได้หรือไม่ ติดตามเรื่องราวนี้ที่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

“โรค Amyloidosis” อะไมลอยด์โดสิส โรคหายากนี้อันตรายมากแค่ไหน สืบเนื่องจากทางด้าน วีเจจ๋า ณัฐฐาวีรนุช ได้ออกมาโพสต์เรื่องราวกลางอินสตาแกรมของตนเองว่า ผลตรวจติ่งเนื้อตรงทอนซิลออกแล้วครับ คุณจ๋ามี Amyloidosis เรื่องมันเริ่มจากตรงนั้นค่ะ วันนี้ผลออกมาแล้ว จ๋าปลอดภัยดีนะคะ จ๋าเลยอยากจะแชร์ให้ฟัง เพราะ Amyloidosis มันคือโรคที่ rare มาก ๆ ในโลกนี้มีคนเป็นน้อยมาก ๆ แต่ถ้าเป็นหนักคือมีอันตรายถึงชีวิตได้เลย ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกุมภา จ๋ามีอาการแสบคอตอนหายใจในอากาศเย็น ๆ แต่ในอากาศปกติไม่เป็นอะไรเลย ตอนแรกก็สงสัยเป็นคออักเสบมั้ย หรือเป็นโควิดรึเปล่า ทำให้ไปตรวจ RT-PCR ถึงสองครั้งใน 1 เดือน โดยที่ไม่มีความเสี่ยงหรืออาการอื่นเลย ผลคือ ไม่ได้เป็นโควิด

 

จ๋าไปหาคุณหมอรวมทั้งสิ้น 4 คน คือ ค่อย ๆ หาทีละคนนะคะ ได้ยาฆ่าเชื้อกิน 4 รอบ! ( ซึ่งแน่นอน กินยาฆ่าเชื้อเยอะ ๆ ไม่ดีค่ะ) แต่ก็ยังไม่มีใครสรุปอาการให้ได้ชัดเจน เพราะมันดูไม่มีอะไรเด่นชัดนอกจากแค่แสบ ๆ คอตอนหายใจในแอร์ และเห็นว่ามีติ่งเนื้อเล็ก ๆ งอกอยู่ตรงต่อมทอนซิลด้านซ้าย ซึ่งหมอ 3 ท่านแรกบอกว่า หน้าตาไม่เหมือนเนื้อร้าย อย่าไปยุ่งกับมันเลย ให้สังเกตไปก่อนว่ามันจะใหญ่ขึ้นไหม จนมาเจอคุณหมอคนที่ 4 คือ คุณหมอภูริช ประณีตวตกุล ตอนไปหาคุณหมอภูริชรอบที่ 3 หมอก็บอกว่าถ้าไม่สบายใจชิ้นเนื้อ กลัวเป็นเนื้อร้าย ก็ให้จี้ออก เอาไปตรวจได้ เราก็เลยทำแบบนั้น แล้วรอผล 7 วัน

 

 

โรค Amyloidosis อะไมลอยด์โดสิส วีเจจ๋า ณัฐฐาวีรนุช

 

 

คุณหมอแจ้งผลว่า ชิ้นเนื้อไม่ใช่เนื้อร้าย เกือบจะโล่งใจแล้วถ้าคุณหมอไม่พูดคำว่า แต่…ออกมา แต่นักพยาธิวิทยาแจ้งว่า มีความเป็นไปได้ที่มันเหมือน Amyloidosis ขอให้รีเควสตรวจย้อมสี Congo red (ซึ่งเราก็ไม่ค่อยเข้าใจหรอก แต่ก็บอกว่า ทำเลยค่ะ เอาให้รู้ ว่าเป็นหรือไม่เป็นอะไรยังไง) รอผลอีก 7 วัน ระหว่างนั้น จ๋ามีนัดตรวจร่างกายประจำปีอยู่แล้ว มีตรวจแพคเกจใหญ่ มีส่องกล้องลำไส้ เลยจอส่องกล้องกระเพาะอาหารด้วย และตรวจเลือด ตรวจมะเร็ง รวมถึงตรวจ MRI สมองไปด้วย เพราะพอช่วงเครียด ๆ ร่างกายมันรู้สึกรวนไปหมด อยากตรวจแบบ set zero ไปเลย ถ้าไม่เป็นอะไรก็เคลียร์ ว่าตรวจปี 2022 ผลปกติดีทุกอย่าง

 

ความแย่คือ พอเราตัองรอหลายวัน เราก็เริ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับโรค และแน่นอนเรา search ข้อมูลในเน็ต ข้อมูล Amyloidosis มีน้อยมาก ๆ ยิ่งเคสในไทยยิ่งน้อย มันคือโรคทางเลือด ทางโลหิตวิทยา เป็นโรคที่ร่างกาย เม็ดเลือดขาว หรือไขกระดูก สร้างโปรตีนที่ชื่อ อะมัยลอยด์ออกมามากผิดปกติ และมี 2 ประเภท คือแบบเกิดเฉพาะที่ และแบบกระจาย หากเกิดแบบ 2 คือเรื่องใหญ่ เพราะอะมัยลอยด์มันสามารถกระจายไปจับตามระบบหรืออวัยวะต่าง ๆ ได้หมด โดยที่เราไม่รู้ว่ามันจะไปสะสมที่ไหน

 

แต่มันไปที่ไหนก็จะไปสร้างปัญหาให้กับอวัยวะนั้น ๆ จนล้มเหลวได้ในที่สุด (อ่านแล้วปวดใจมาก กังวลไปหมด) ภาวนาขอให้อย่าเป็นเลย ผลออก ติ่งเนื้อนั้น Amyloisitive แปลว่า มีภาวะ Amyloidosis ค่ะ บอกเลยว่าขาอ่อนจริง ๆ ตอนฟังผล เพราะรู้ว่าเราต้องตรวจอีกหลายส่วนมาก ๆ คุณหมอภูริช ประสานให้จ๋าไปเจอคุณหมอ ศุภรา ลีชาแสน คุณหมอทางโลหิตวิทยา คุณหมอศุภราจับตรวจเลือด set ใหญ่ ซึ่งต้องรอผล 20 วัน ระหว่างนั้น คุณหมอภูริชเลยจับนัดผ่าตัดทอนซิลทิ้งทันที จ๋าผ่าทอนซิลทิ้งทั้ง 2 ข้างค่ะ และภาวนาว่าตัดออกแล้วขอให้จบ ขอให้โรคไม่กระจาย ลำพังตัดทอนซิล ก็ใช้เวลาพักฟื้นราว ๆ 2 สัปดาห์

 

 

โรค Amyloidosis อะไมลอยด์โดสิส วีเจจ๋า ณัฐฐาวีรนุช

 

 

ก่อนหน้าวันผ่า จ๋าไปตรวจละเอียดเพื่อหา Amyloid ในระบบประสาท, ทำ ECHO หัวใจ, CT scan ช่องท้องโดยเฉพาะตับ ประกอบกับผลที่ตรวจร่างกาย มีส่องกล้องทางเดินอาหารแล้ว xray ปิดแล้ว utrasound ภายในโดยรวมแล้ว ยังปกติดีอยู่ เกิดมาไม่เคยตรวจอะไรเยอะขนาดนี้มาก่อน และไม่เคยกังวลใจขนาดนี้มาก่อนเลยค่ะ ในช่วง 20 วันที่รอผล บอกเลยว่า จ๋าเห็นคุณค่าของสุขภาพแบบจริง ๆ ซึ่งไม่มีทางรู้สึกได้ชัด ๆ แบบนั้น หากไม่ได้อยู่ในจุดที่เหมือนจะเสียมันไปแล้ว

 

โชคดีของจ๋าคือ ผลชิ้นทอนซิล ผลเลือดทั้งหมด ผลปัสสาวะที่ต้องเก็บตลอด 24 ชั่วโมง ผลชิ้นเนื้อลำไส้ส่วนปลาย ทุกอย่างออกมาปกติ ไม่พบ Amyloid ในส่วนอื่น ๆ ดีใจมาก ๆ จบสิ้นความกังวลอันยาวนานเกือบ 3 เดือน นับจากวันที่เริ่มมีอาการ และได้รู้ซึ้งถึงความรักของครอบครัวที่มีให้ ทั้งกำลังใจและการดูแล บอกเลยว่าช่วงที่กังวลและจิตตกที่สุด คือช่วงที่รอลุ้นผล ไม่รู้ชะตากรรม มันคิดไปไกลสุดทางเลย กลัวไปหมด ไม่อยากเป็นโรคร้าย ไม่อยากให้คนรอบข้างมากังวล มาดูแล กลัวคนอื่นมาลำบากด้วย กลัวทำงานไม่ได้ กลัวทุกสิ่งจริง ๆ วันนี้รอดมาแล้ว รู้เลยว่าสุขภาพดีสำคัญแค่ไหน แล้วเดี๋ยวจะมาเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้อีกรอบ มันมีอะไรมากมายในความคิดจริง ๆ

 

สุดท้าย ถ้าใครมีอาการอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้หมั่นสังเกต อย่าปล่อยผ่าน คนที่เรารักก็เช่นกัน หมั่นดูแล ถามไถ่ อะไรที่มันแก้ไขตั้งแต่ต้น ๆ ได้ มันก็อาจจะหายได้ ของจ๋าเอง หากไม่สนใจอาการเล็ก ๆ นั้น วันนี้ก็อาจจะยังปล่อยให้เจ้าติ่งเนื้ออยู่ที่เดิม และก็ตอบไม่ได้ว่า Amyloid มันจะขยายขอบเขตไปไหม หรือมากแค่ไหน ขอให้ทุกคนที่อ่านมาถึงตรงนี้ ดูแลสุขภาพกันดี ๆ นะคะ เพราะมันหากลับมาไม่ได้อีกต่อไปแล้ว ต่อให้รวยแค่ไหนก็ตาม

 

 

โรค Amyloidosis อะไมลอยด์โดสิส วีเจจ๋า ณัฐฐาวีรนุช

 

 

 

โดย “โรค Amyloidosis” โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ก็ได้ให้ข้อมูลว่า อะไมลอยด์โดสิส (Amyloidosis) เป็นโรคหายาก พบได้ประมาณ 1 ในแสนคนเท่านั้น เกิดจากการที่ร่างกายสร้างโปรตีนอะมีลอยด์มากเกินไปจนเข้าไปสะสมตามเนื้อเยื่อของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตับ ไต หัวใจ ระบบทางเดินอาหารและระบบประสาท จนทำให้ระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เกิดความผิดปกติ

โรคอะไมลอยด์โดสิสแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ตามสาเหตุของการเกิดโรค ได้แก่

  • AL amyloidosis เป็นชนิดที่พบได้มากที่สุด เกิดจากความผิดปกติของเม็ดเลือดขาวชนิด plasma cell ในไขกระดูกมีการสร้างโปรตีนที่ช่วยปกป้องร่างกายเรียกว่า immunoglobulin light chain มากผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ ส่งผลกระทบต่ออวัยวะทั่วร่างกาย เช่น ตับ ไต หัวใจ ลำไส้และเส้นประสาท
  • ATTR amyloidosis แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทย่อยคือ
    • Wild-type amyloidosis เกิดจากตับสร้างโปรตีน TTR ในปริมาณที่ปกติแต่ผลิตโปรตีน amyloid โดยไม่ทราบสาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดกับคนที่มีอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไปและมักเป็นที่อวัยวะหัวใจ
    • Hereditary amyloidosis เกิดจากความผิดปกติของยีน ทำให้ตับสร้างโปรตีน transthyretin (TTR) ออกมาผิดปกติ ความผิดปกติเหล่านี้มักพบในครอบครัว ทำให้เส้นประสาท หัวใจและไตทำงานผิดปกติ
  • AA amyloidosis เกิดจากโรคเรื้อรังอื่นๆที่ทำให้เกิดการอักเสบต่อเนื่องในร่างกาย เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ การอักเสบเหล่านี้ทำให้เกิดโปรตีนชื่อว่า amyloid A สะสมในร่างกายตามอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะที่ไต ตับและม้าม
  • Amyloidosis ชนิดอื่น ๆ เช่น เกิดจากการฟอกไตระยะยาว (dialysis-related amyloidosis) หรือเกิดจาการถ่ายทอดทางพันธุกรรม (Hereditary amyloidosis) หรือเกิดที่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง (organ-specific amyloidosis) ไม่ได้ลุกลามไปยังอวัยวะอื่น

 

 

โรค Amyloidosis อะไมลอยด์โดสิส วีเจจ๋า ณัฐฐาวีรนุช

 

 

อาการของโรค AL amyloidosis มีอะไรบ้าง

อะไมลอยด์โดสิสเป็นโรคที่มีผลกระทบต่อหลายระบบในร่างกาย จึงแสดงอาการได้หลากหลายไม่เฉพาะเจาะจง เช่น

  • มีโปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะ หากรั่วมากจะทำให้ตัวบวม เท้าและข้อเท้าบวม
  • กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวทำให้หัวใจเต้นผิดปกติหรือบีบตัวได้น้อยลง
  • ปลายมือ ปลายเท้าชา
  • ลิ้นมีขนาดโตขึ้น
  • มีจ้ำเลือดผิดปกติตามร่างกาย
  • น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ปวดท้อง คลื่นไส้ เบื่ออาหาร

 

 

โรค Amyloidosis อะไมลอยด์โดสิส วีเจจ๋า ณัฐฐาวีรนุช

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้นำสูงสุดปัดอิหร่านไม่มีกองกำลังตัวแทน
ฮูตีเคลมผลงาน F/A-18 โดนสอยร่วงทะเลแดง
สื่อทำเนียบฯ จัดเต็มฉายาครม.ปี 67 "รัฐบาล (พ่อ) เลี้ยง" นายกฯท่องโพย วาทะแห่งปี "สามีคนใต้"
“ว้าแดง”เหิมหนัก! สั่งคนไทยห้ามเก็บของป่า ชาวบ้านผวา-ซ้อมอพยพถี่ยิบ
เมีย-แม่ยาย หอบเงินล้าน บุกติดสินบนตำรวจ ช่วยผัวค้าเฮโรอีน สุดท้ายถูกซ้อนแผนโดนรวบตัว
ไทยตอนบนอากาศยังหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 12 องศา ใต้เจอฝนฟ้าคะนองบางแห่ง กทม. มีหมอกบางตอนเช้า ร้อนสุด 31 องศา
ฮีโร่โอลิมปิคเหรียญทองน้องอร “ฉายาสู้โวย” ร่วมแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ในงานกีฬาประจำปีอบต.ไทยสามัคคี พร้อมลงแข่งขันตีกอล์ฟบก สร้างความสนุกสนานเฮฮา
"สธ." ยันพบชาวเมียนมา ป่วยอหิวาฯ รักษาฝั่งไทย 2 ราย อาการไม่รุนแรง
สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น