"ไวรัสตับอักเสบบี" หรือ adenovirus (อะดีโนไวรัส) เช็คชัวร์ ป่วยจากเชื้ออะไรแน่ มีสาเหตุจากอะไร มีอาการอย่างไรบ้าง เช็คก่อนที่นี่
ข่าวที่น่าสนใจ
“ไวรัสตับอักเสบบี” คืออะไร
- ไวรัสตับ อักเสบบี และซี เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และมีมะเร็งตับ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต
- ประเทศไทย คาดว่ามีผู้ติดเชื้อประมาณ ร้อยละ5 ของประชากร หรือประมาณ 3 ล้านคน
- ส่วนผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมีประมาณร้อยละ 1-2 ของประชากร หรือประมาณ 1 ล้านคน
อาการของโรคตับอักเสบในเด็ก ได้แก่
- อาการของโรคดีซ่าน หรือภาวะที่ผิวหนังและตาขาวเป็นสีเหลือง
- สารคัดหลั่งในร่างกายอาจจะมีสีเหลือง
- ปัสสาวะมีสีเข้ม
- อุจจาระเป็นสีเทาหรือซีด
- คันตามผิวหนัง
- เจ็บตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ
- มีไข้สูง
- อ่อนเพลียตลอดเวลา
- ไม่อยากอาหาร
- เจ็บบริเวณช่องท้อง
ด้าน นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เผยว่า มีประกาศแจ้งเตือนจากองค์การอนามัยโลก พบว่ามีผู้ป่วยเด็กเป็นตับอักเสบเฉียบพลันเพิ่มสูงขึ้น ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยเด็กที่อายุน้อยกว่า 10 ปี มีอาการท้องเสีย อาเจียน มักไม่มีไข้ ต่อมาพบว่ามีตับอักเสบรุนแรง และพบว่าร้อยละ 10 ของผู้ป่วยเกิดภาวะตับวายตามมา ซึ่งสาเหตุไม่ได้เกิดจากไวรัสตับอักเสบชนิดเอ-อี โดยหนึ่งในสามของผู้ป่วยตรวจพบการติดเชื้อ adenovirus และในผู้ป่วยบางรายมีการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ร่วมด้วย
นักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งตั้งสมมติฐานว่า adenovirus (อะดีโนไวรัส) อาจกระตุ้นให้ตับอักเสบได้ง่ายขึ้น หากเด็กคนไหนมีอาการท้องเสียหรืออาเจียน ให้รักษาตัวอยู่ที่บ้านและไม่กลับไปโรงเรียนหรือสถานเลี้ยงดูเด็กจนกว่าจะครบ 48 ชั่วโมง หลังไม่มีอาการ
“adenovirus คือ” อะไร
- ไวรัสที่ทำเกิดโรคได้ในหลายระบบของร่างกาย มีอาการได้ตั้งแต่เป็นไข้หวัด คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ท้องเสีย ตาแดง
- ระดับความรุนแรงของอาการมีตั้งแต่น้อย-รุนแรงมาก
- ส่วนใหญ่จะพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่
- มักมีอาการรุนแรงในเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางภูมิคุ้มกัน มีโรคประจำตัวในระบบทางเดินหายใจหรือระบบหัวใจที่ผิดปกติ
- ระบาดได้ทั้งปี ไม่สัมพันธ์กับฤดูกาล
ติดต่อได้อย่างไร?
- สัมผัสละอองฝอย จากสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจ
- ติดต่อทางอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
- รวมถึงการสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
- เชื้อไวรัสอะดีโนมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 30 วันตามพื้นผิวสิ่งแวดล้อม
ลักษณะอาการ
- อาการแตกต่างกันไปตามระบบของร่างกายที่มีการติดเชื้อ มักมีไข้ร่วมกับอาการอื่น
- เช่น เจ็บคอ เสียงแหบ น้ำมูกไหล ไอ เจ็บหู ตาแดง หรือท้องเสีย
- หากเป็นเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 3 เดือน อาจมีอาการรุนแรง หากเด็กมีอาการซึม ไม่ยอมดื่มน้ำหรือนม ผู้ปกครองควรรีบพาไปพบแพทย์
สำหรับ adenovirus เป็นเชื้อไวรัสที่มีเกือบ 50 สายพันธุ์ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยเด็กมักมาด้วยอาการทางระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก โดยทั่วไป adenovirus ไม่ทำให้เกิดตับอักเสบในเด็กที่มีภูมิคุ้มกันปกติ จึงมีข้อสันนิษฐานว่า
- ในช่วงการระบาดของโรคโควิดที่ผ่านมา ทำให้ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ adenovirus ในเด็กน้อยลง เนื่องจาก การติดเชื้อลดลง
- หรืออาจมีการกลายพันธ์ของเชื้อ adenovirus
- หรืออาจเกี่ยวข้องกับเชื้อโควิด ทำให้ผู้ป่วยเด็กที่มีภูมิคุ้มกันปกติเมื่อติดเชื้อ adenovirus แล้วเกิดตับอักเสบรุนแรงตามมาได้
นพ.อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวว่า ตับอักเสบเฉียบพลัน คือ ภาวะที่มีการอักเสบของตับอย่างเฉียบพลัน โดยผู้ป่วยมักมีอาการ
- ไข้ อ่อนเพลีย
- เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดท้อง ตัวเหลือง ตาเหลือง
- ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีซีด
- โดยสาเหตุของตับอักเสบเฉียบพลันในเด็ก อาจเกิดจากการติดเชื้อ เช่น ไวรัสตับอักเสบเอ – อี ไข้เลือดออก ยา สารพิษ ภูมิคุ้มกันทำลายตับ หรือโรคพันธุกรรมทางตับ ฯลฯ
ทั้งนี้ สำหรับการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดตับอักเสบเฉียบพลัน ส่วนตับอักเสบเฉียบพลันที่เกิดจากการติดเชื้อ adenovirus นั้น การรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ ไม่มียารักษาเฉพาะ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงจนเกิดภาวะตับวาย ผู้ป่วยมักมีการเปลี่ยนแปลงของระดับการรับรู้ ซึมลง เลือดออกผิดปกติ และอาจเสียชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการปลูกถ่ายตับ ขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่าพบการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบจากการติดเชื้อ adenovirus ในประเทศไทย
ข้อมูล : สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และ samitivejhospitals
ข่าวที่เกี่ยวข้อง