กลั้น "ปัสสาวะไม่อยู่" ปัสสาวะไม่สุด เปิดสาเหตุชัด ๆ เกิดจากอะไร มีวิธีแก้ไขอย่างไร เป็นสัญญาณของโรคอื่นไหม เช็คก่อนที่นี่
ข่าวที่น่าสนใจ
ทำความรู้จักอาการกลั้น “ปัสสาวะไม่อยู่”
- เป็นกลุ่มอาการเดียวกับปัสสาวะบ่อยมาก ปวดกลั้นมากขณะที่จะไปห้องน้ำจนบ่อยครั้ง หรือบางครั้งกลั้นไม่อยู่ราดออกไปก่อน
- อาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย
- ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการกลั้นปัสสาวะ
กลุ่มอาการที่พบบ่อย ได้แก่
1. ต่อมลูกหมากโต
- พบในผู้ชายอายุ 40-70 ปี
- มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด
- นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์โดยถูกกระตุ้นให้มีการเจริญเติบโตจากฮอร์โมนเพศชาย เมื่ออายุมากขึ้นต่อมลูกหมากจะโตขึ้นและอาจอุดตันท่อปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้ปัสสาวะลำบากหรือรบกวนระบบสืบพันธุ์ ซึ่งอาการดังกล่าวอาจเรียกว่าต่อมลูกหมากโต
2. ไอจามปัสสาวะเล็ด
- เกิดจากกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อรองรับอวัยวะในอุ้งเชิงกรานเกิดการหย่อนยาน ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากการฉีกขาดจากการตั้งครรภ์ การคลอดบุตรผ่านทางช่องคลอด เนื้องอกในอุ้งเชิงกรานหรือการผ่าตัดเนื้องอกในอุ้งเชิงกราน
- ทำให้หูรูดและท่อปัสสาวะไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ ปิดได้ไม่สนิท
- ผู้ป่วยจะมีปัสสาวะเล็ดออกมาในขณะที่มีการเพิ่มขึ้นของความดันภายในช่องท้องอย่างรวดเร็ว เช่น การไอ การจามหรือการยกของหนัก
วิธีรักษา
- ฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหรือการใช้อุปกรณ์ช่วยในการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
- การผ่าตัด เพื่อแก้ไขอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน ร่วมกับการซ่อมเสริมให้เนื้อเยื่อของอุ้งเชิงกรานมีความแข็งแรงมากขึ้น
- ผ่าตัดแก้ไขอาการไอตามปัสสาวะเล็ด
- ลดน้ำหนัก
3. ปัสสาวะราด
- เกิดจากความดันในกระเพาะปัสสาวะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการปวดปัสสาวะ และไม่สามารถยับยั้งได้
- ส่งผลให้ความดันในกระเพาะปัสสาวะสูงมากกว่าความดันภายในท่อปัสสาวะในขณะปิดตัว จึงเกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้
สาเหตุ
- สมองหรือไขสันหลังส่วนที่กดการทำงานของกระเพาะปัสสาวะในขณะเก็บน้ำปัสสาวะเสียหาย
วิธีรักษา
- ลดการรระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะตามสาเหตุ
- การใช้ยาเพื่อลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ
- รวมถึงการฉีดยาเข้าผนังกระเพาะปัสสาวะ
4. ปัสสาวะรดที่นอน
- กลั้นปัสสาวะไม่ได้ขณะนอนหลับ
สาเหตุ
- กล้ามเนื้อหูรูดของท่อปัสสาวะและอุ้งเชิงกรานมีการคลายตัวมากกว่าปกติในขณะหลับ
5. ปัสสาวะเล็ดราด ขณะมีเพศสัมพันธ์
- มักพบร่วมกับอาการไอจามปัสสาวะเล็ด
- บางรายอาจะมีความผิดปกติในการทำงานของกระเพาะปัสสาวะร่วมด้วย
วิธีรักษา
- ฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหรือการใช้อุปกรณ์ช่วยในการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
- การผ่าตัด เพื่อแก้ไขอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน ร่วมกับการซ่อมเสริมให้เนื้อเยื่อของอุ้งเชิงกรานมีความแข็งแรงมากขึ้น
- ผ่าตัดแก้ไขอาการไอตามปัสสาวะเล็ด
- ลดน้ำหนัก
นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงต่อกลุ่มอาการอื่น ๆ อีก เช่น
- ปัสสาวะกลั้นไม่อยู่ที่เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital)
- ปัสสาวะรดที่นอน (Bed Wetting Enuresis)
- ปัสสาวะกลั้นไม่อยู่จากระบบประสาท (Neurogenic)
- ปัสสาวะเล็ดและราดร่วมกัน (Mixed Incontinence) หมายถึงอาการไอจามปัสสาวะเล็ด และอาการปัสสาวะราด เป็นร่วมกัน
- ปัสสาวะล้นซึม (Over Flow Incontinence)
- ปัสสาวะบ่อยมากในช่วงกลางวัน (Urinary Freguency Daytime)
- ปัสสาวะบ่อยในช่วงเวลากลางคืน (Nocturia Night Time)
- ปัสสาวะปวดกลั้น (Urgency)
- กระเพาะ, ปัสสาวะไวเกิน (Over Active Bladder)
ดังนั้น เพื่อการรักษาอย่างถูกวิธีและตรงจุด ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง ระบุประเภทหรือโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างถูกต้อง และเริ่มการรักษาอย่างถูกต้องโดยแพทย์ต่อไป
ข้อมูล : กรมการแพทย์, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ และ โรงพยาบาลกรุงเทพ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง