“ผอ.สถาบันพัฒนาเด็ก” แถลงหนุนใช้ “คาร์ซีท” หลังราชกิจจาฯประกาศใช้

“ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็ก” แถลงหนุนใช้ ”คาร์ซีท” สร้างความปลอดภัยในเด็ก แนะหน่วยงานเกี่ยวข้องออกมาตราการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ทุกคน

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล และในฐานะหัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี แถลงถึงกรณีกฎหมายที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ภายหลังประกาศใช้ พระราชบัญญัติจราจรทางบกให้เด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องนั่งคาร์ซีท บูสเตอร์ซีท ห้ามอุ้มนั่งเด็ดขาด ฝ่าฝืนมีโทษปรับ 2 พันบาท ซึ่งสาระสำคัญของกฎหมายดังกล่าวเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของเด็ก ตามมาตรา 123 ขณะโดยสารยานพาหนะ หรือ รถยนต์ส่วนบุคคล โดยระบุเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี หรือผู้โดยสารที่สูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร จะต้องนั่งคาร์ซีท บูสเตอร์ซีท หรือคาดเข็มขัดนิรภัย ซึ่งหากมีการฝ่าฝืน จะต้องโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยการเตรียมความพร้อมก่อนที่กฎหมายจะเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 5 กันยายนนี้ รศ.นพ.อดิศักดิ์ เห็นว่า ไม่ใช่แค่ พ่อ-แม่ ประชาชนทั่วไปที่ต้องตื่นตัว แต่เป็นเวลาที่ รัฐ ชุมชน องค์กรที่เกี่ยวกับเด็กต่างๆต้องช่วยเหลือให้ทุกคนสามารถเข้าถึงที่นั่งนิรภัยได้ทั่วถึง จัดให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องประโยชน์ของที่นั่งนิรภัย มีการสนับสนุนการซื้อ เช่น คนละครึ่ง ตั๋วคืนเงิน ช่วยลดภาษีนำเข้าเพื่อเป็นการลดต้นทุนผู้ขาย หรือสนับสนุนให้มีการผลิตในประเทศเพื่อที่จะได้มีราคาที่ถูกลง

 

รศ.นพ.อดิศักดิ์ เปิดเผยข้อมูลด้วยว่า เด็กที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทั้งหมด พบว่าร้อยละ 20.5 มีเหตุจากการโดยสารรถยนต์ทุกประเภท นอกจากนี้ยังพบว่าการอุ้มเด็กนั่งตักในเบาะหน้าคือจุดที่อันตรายที่สุดในรถ ความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของผู้โดยสารรถยนต์เกิดจากผู้โดยสารเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ารถยนต์ เมื่อเกิดกระแทกความเร็วรถจะลดลงกระทันหัน แต่ผู้โดยสารยังเคลื่อนที่ต่อในรถทำให้ชนโครงสร้างในรถหรือกระเด็นออกนอกรถ ดังนั้นการยึดเหนี่ยวด้วยที่นั่งนิรภัยไม่ให้เด็กเคลื่อนที่ภายในรถจึงเป็นหลักการสำคัญในการสร้างความปลอดภัย ดังนั้นที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กจึงเป็นนวัตกรรมที่ลดการสูญเสียของเด็กจากการเดินทางโดยรถยนต์อย่างมาก โดยในต่างประเทศได้มีคำแนะนำและกฎหมายบังคับใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กมานานแล้ว และจากการศึกษาพบว่าที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในเด็กทารกและเด็ก 1-4ปี ถึงร้อยละ 69 ถ้าใช้อย่างถูกวิธี และในเด็กอายุมากกว่า 5 ปีได้ร้อยละ 45 และลดความเสี่ยงรุนแรงได้ร้อยละ 50

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ยูเน็กซ์ อีวี" เปิดตัวแพลตฟอร์ม ขับเคลื่อนอัจฉริยะปฏิวัติอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทย พร้อมจับมือพันธมิตร ธุรกิจสร้างระบบนิเวศ EV ครบวงจร
"พาณิชย์–DITP" จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาการค้าระหว่าง ผู้ส่งออกสินค้าน้ำตาล-น้ำตาลแปรรูปกับผู้นำเข้าฟิลิปปินส์
“การรถไฟฯ” แจง ผลตรวจเหล็ก สร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
"ผบ.ทบ." เยี่ยมหน่วยตรวจเลือกทหารภาคใต้ ย้ำทุกกระบวนการยึดตามระเบียบ โปร่งใส
นาทีเดือด "กลุ่ม ศปปส." ปะทะ "แกนนำกลุ่มแรงงานพม่า Bright future" หลังจะมาตั้งม็อบประท้วงหน้า UN
"กรมทางหลวงชนบท" โร่แจง ไม่เคยเป็นคู่สัญญากับ "บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 "
"ก.แรงงาน" เตรียมถกแนวทาง "หลักประกันค่าชดเชย" กรณีถูกเลิกจ้าง 9 เม.ย.นี้
จนท.นำเครื่องจักรหนักเข้าพื้นที่โซน B ได้แล้ว ลุยตัดสิ่งกีดขวางขนาดใหญ่
วอร์รูม “ก.แรงงาน” เร่งเครื่องจ่ายเงินเยียวยา เหยื่อแผ่นดินไหวแล้ว 17.4 ลบ.
"ดีอี" เตือนอย่าหลงเชื่อ ข่าวปลอม “สัญญาณเตือนสึนามิ น้ำทะเลภูเก็ตลดฮวบ หลังแผ่นดินไหวเกาะสุมาตรา”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น