"คาร์ซีท" ราชกิจจานุเบกษา ประกาศชัดบังคับใช้อย่างเป็นทางการ เช็คด่วนก่อนสาย เลือก car seat อย่างไรให้เหมาะสมและปลอดภัยมากที่สุด
ข่าวที่น่าสนใจ
การเลือกซื้อ “คาร์ซีท” (car seat) สำหรับลูกน้อย กำลังกลายเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นการให้ความสำคัญกับเด็กที่จะกลายเป็นคนรุ่นใหม่ในอนาคตข้างหน้า และสำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าควรจะเลือกซื้อแบบไหน หรือเลือกยังไง ไม่ต้องกังวลไป TOP News จัดวิธีเลือก car seat มาให้ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อแล้ว
มาตรฐาน car seat สำหรับเด็ก มี 2 แบบ ได้แก่
- กำหนดตามขนาดของร่างกายเด็ก i-Size (เป็นไปตามมาตรฐาน ECE R 129)
– ตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ (ขนาดตัวเด็กไม่เกิน 75 เซนติเมตร)
– ตั้งแต่ 1 ขวบ- 4 ขวบ (ขนาดตัวไม่เกิน 105 เซนติเมตร)
- แบ่งตามน้ำหนักของทารก (ตามมาตรฐาน ECE R44)
การติดตั้ง
- ควรติดตั้งไว้ทางด้านหลัง เพราะ ให้ความปลอดภัยสูงกว่าการติดตั้งด้านหน้า
- หากต้องการติดด้านหน้าข้างคนขับ จำเป็นต้องล็อคถุงลมนิรภัยไม่ให้ทำงาน กรณีเกิดการชน เพราะ แรงดันของถุงลมนิรภัยทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่ตัวเด็กทารกอย่างรุนแรง
ควรเลือก car seat แบบไหน
- ทารกแรกเกิดที่นั่ง car seat แบบ carry seat ที่สามารถถอดประกอบกับที่นั่งนิรภัยได้ เหมาะสมที่สุด
- ควรติดตั้งในทิศหันหลังให้กับด้านหน้ารถ (ตั้งแต่ทารกหรือเด็กสามารถเดินได้) เนื่องจาก ลำคอของเด็กทารกยังไม่แข็งแรง ซึ่งการติดตั้งแบบนี้จะช่วยประคองลำคอของทารกได้ดี
- เมื่อทารกโตจนศีรษะพ้นจากที่นั่งนิรภัย ควรเปลี่ยนขนาด car seat ให้เหมาะสมกับร่างกายของเด็ก
car seat สำหรับเด็กที่มีน้ำหนัก 9-18 กิโลกรัม (อายุไม่เกิน 4 ขวบ)
- car seat สำหรับขนาดนี้มีระบบนิรภัย 2 แบบ
– Impact shield : รับแรงกระแทกได้ดีกว่าแบบ Full belt safety harness
– Full belt safety harness : นั่งสบายกว่าแบบ Impact shield แต่การติดตั้งยุ่งยากกว่า และที่สำคัญ ต้องปรับเข็มขัดให้ติดแน่นกับตัวเด็ก เพื่อช่วยพยุงและป้องกันไม่ให้เกิดการกระแทกตัวเด็ก
car seat สำหรับเด็กที่มีน้ำหนัก 15- 25 กิโลกรัม (อายุ 3 ขวบครึ่ง ถึง 7 ขวบ)
- สามารถปรับระดับความสูงของพนักพิงหลังได้ ลำตัวของเด็กจะล็อคติดไว้กับ three point safety belt
- เหมาะกับเด็กที่มีอายุมากกว่า 4 ขวบ
นอกจากนี้ ยังสามารถดูผลทดสอบความปลอดภัย เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อผ่านเว็บไซต์ (คลิกที่นี่) ซึ่งผู้ประกอบการก็จะตอบรับการแจ้งเตือนโดยการเรียกคืนสินค้า หรือนำสินค้ามาปรับปรุงเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้รับความมั่นใจในการใช้งานสูงสุด.
ข้อมูล : มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
ข่าวที่เกี่ยวข้อง