เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 ที่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ พลเรือเอกชัยวัฒน์ เอี่ยมสมุทร กรรมาธิการและประธานคณะอนุกรรมาธิการการพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งลงพื้นที่ สำรวจปัญหาความต้องการที่ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิวและชาวเลสังกาอู้ ซึ่งถือเป็นชนพันธุ์เก่าแก่กว่า400ปี และชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่พื้นที่ 5 จ.ชายฝั่งทะเลอันดามัน(สตูน กระบี่ ภูเก็ต พังงา ระนอง)มีภาษาพูดเป็นของตัวเองและไม่มีภาษาเขียนอาชีพหลักในการทำประมงและมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับทะเล ซึ่งประชากรชาวเลที่จ.กระบี่นั้น จากการสำรวจในปี2564 มีประชากรรวม2,300คน/589ครัวเรือน ซึ่งขณะนี้ได้รับบัตรประชาชนเกือบครบถ้วนแล้วและเข้าถึงระบบสาธารณสุขแต่ยังพบปัญหาด้านพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัยเนื่องจากแต่เดิมเป็นกลุ่มคนเร่ร่อนทำการประมงตามเกาะแก่งและเคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปตามแหล่งอาหาร จึงไม่ได้มีการจับจอง จดทะเบียนครอบครองตามกฎหมายตามโอกาสที่ราชการกำหนด
หลังจากการลงพื้นที่ คณะพลเรือเอกชัยวัฒน์ได้รับฟังการบรรยายสรุปจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและตัวแทนของชาวเลในพื้นที่ ณ.โรงเรียนชาวเลบ้านสังกาอู้ โดยได้รับข้อร้องจากคนในพื้นที่ ประกอบด้วย ประสงค์อยากได้พื้นที่ติดทะเลไม่ไกลจากหมู่บ้านหรือชุมชนปัจจุบันขอเอกสารสิทธิเพื่อป้องกันการบุกรุกหรือขายโดยร้องขอเป็นโฉนดชุมชนหรือนิคมสหกรณ์,สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) หรือพื้นที่อนุญาติครอบครองใช้ประโยชน์พิเศษเฉพาะชาติพันธุ์ชาวเล ขนาดของพื้นที่แปลงรวม อย่างน้อยไม่น้อยกว่า 5 ไร่คูณด้วยจำนวนครัวเรือนของหมู่บ้านหรือชุมชนในปัจจุบันที่มาลงทะเบียน รวมทั้งขอพื้นที่บากัดเกาะที่ชาวเลเคยทำเพิงพัดชั่วคราว ระหว่างฤดูการทำประมง ขอบท่าจอด,ท่าเทียบเรือ อำนวยความสะดวกสำหรับการประมงและรองรับการท่องเที่ยวเพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่ให้แก่ชาวเลอย่างไรก็ตามอยากให้คำนึกถึงพื้นที่ทำกินหลังอุทยานประกาศพื้นที่ท่องเที่ยวด้วย