“อีสท์ วอเตอร์” วุ่นหนัก ก.ล.ต.ให้แจงคำร้องฉาวใน 15 วัน

"อีสท์ วอเตอร์" วุ่นหนัก ก.ล.ต.ให้แจงคำร้องฉาวใน 15 วัน

นอกเหนือจากประเด็นปัญหาการฟ้องร้องในแง่ความไม่ปกติที่เกิดขึ้นจากการประมูลคัดเลือกเอกชนจัดให้เช่า/บริหาร ระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก ในพื้นที่ ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี , ระยอง มูลค่าสูงถึง 2.5 หมื่นล้านบาท ถึง 2 ครั้ง ส่งผลให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ต้องตัดสินใจ สั่งให้ชะลอกำหนดการเซ็นสัญญาระหว่าง กรมธนารักษ์ กับ บริษัท วงษ์สยาม ก่อสร้าง เพื่อดำเนินการตรวจสอบทุกระบบขั้นตอนการประมูล เพื่อความโปร่งใส ไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซ้อน เหมือนกับบางโครงการสัมปทานรัฐ ที่กำลังเป็นปัญหามีการฟ้องร้อง ทำให้เกิดความล้าช้าไปกว่า 1 ปี อย่างโครงการรถไฟฟ้าสีส้ม

อีกจุดหนึ่งที่ Top News ติดตามมาตั้งแต่ต้นก็คือ กรณีเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2565 ตัวแทนกลุ่มผู้ถือหุ้นของบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ “อีสท์ วอเตอร์” ได้ยื่นคำร้องต่อเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และทาง ก.ล.ต. เพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบการบริหารงานของ นางอัศวินี ไตลังคะ ประธานคณะกรรมการบริษัทและกระบวนการสรรหากรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของบริษัท เนื่องจากอาจมีการฝ่าฝืนจรรยาบรรณทางธุรกิจ ข้อบังคับบริษัท กฎบัตรคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนของบริษัท และความผิดตามหลายมาตราของหมวด 3/1 ว่าด้วยเรื่องการบริหารกิจการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ในส่วนของหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการและผู้บริหารตามมาตรา 89/7 มาตรา 89/8 มาตรา 89/10 มาตรา 89/11 มาตรา 89/12 และมาตรา 89/14 พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และหมวด 6 ว่าด้วยเรื่องคณะกรรมการตามมาตรา 85 มาตรา 88 ของ พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 แล้ว

นอกจากนี้ ตัวแทนกลุ่มผู้ถือหุ้นของ “อีสท์ วอเตอร์” ยังให้ข้อมูลว่า มีเหตุอันควรสงสัยหลายประการว่า นางอัศวินี ประธานคณะกรรมการบริษัทฯ อาจมีการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อจรรยาบรรณในทางธุรกิจว่าด้วยเรื่องความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ รายการที่เกี่ยวโยงกัน และ การทำธุรกรรมระหว่างกันของกลุ่มบริษัท

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ต่อมา เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2565 ทางตัวแทนกลุ่มผู้ถือหุ้นฯ อีสท์ วอเตอร์ ระบุว่า ได้รับการประสานจากทาง ก.ล.ต. ว่า ขอให้ผู้ถือหุ้นที่ร้องเรียนจัดส่งข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องเรียนซึ่งเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 2535 เป็นการเพิ่มเติม เพื่อพิจารณาประกอบคำร้องที่ยื่นมาก่อนหน้า
ทางกลุ่มผู้ถือหุ้น จึงรวบรวมข้อมูลและพยานหลักฐานเอกสารเพื่อนำส่ง ก.ล.ต. จำนวน 11 รายการ รวมทั้งสิ้น 244 หน้า เพื่อให้มีการพิจารณาในประเด็นที่ร้องเรียนไปใน 3 ประเด็น คือ

1. ประเด็นความเคลือบแคลงสงสัยเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ของประธานคณะกรรมการบริษัทฯ และในกระบวนการสรรหาแต่งตั้งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของบริษัทฯ

2. ประเด็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน และ ธุรกรรมระหว่างกันของกลุ่มบริษัท ที่อาจจะเข้าข่ายการฝ่าฝืนกฎหมาย กฎระเบียบที่ออกโดยหน่วยงานรัฐ จรรยาบรรณทางธุรกิจ ข้อบังคับของบริษัท

3. ประเด็นการพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนเพื่อสรรหาผู้มาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ แทนผู้ที่ดำรงตำแหน่งอยู่เดิมที่กำลังจะหมดวาระนั้น มีการฝ่าฝืนกฎบัตรคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนของบริษัท

ไม่เท่านั้น จากการตรวจสอบเพิ่มเติม พบว่า มูลเหตุส่วนหนี่งทำให้มีการยื่นคำร้องของตัวแทนผู้ถือหุ้น คือ ข้อกล่าวหาว่า นางอัศวินี ไตลังคะ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริษัทและกระบวนการสรรหากรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของบริษัท อาจมีการฝ่าฝืนจรรยาบรรณทางธุรกิจ ข้อบังคับบริษัท กฎบัตรคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนของบริษัท และความผิดตามหลายมาตราของหมวด 3/1 ว่าด้วยเรื่องการบริหารกิจการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือไม่ เนื่องจากปรากฏว่าในรายชื่อกรรมการ บริษัท ยูนิเวอร์แซล ยูทีลิตี้ส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ยูยู ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์ วอเตอร์ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 โดยมีทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 50 ล้านบาท และได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 930 ล้านบาท ในปี 2558

ปรากฏว่า มีบุคคลหนึ่งที่ถูกระบุเป็นสามีของ นางอัศวินี ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบ กรรมการธรรมาภิบาลและสรรหา ในสัดส่วนกรรมการอิสระ บริษัท ยูนิเวอร์แซล ยูทีลิตี้ส์ จำกัด (มหาชน) จนทำให้เป็นประเด็นพิจารณาว่า กรณีดังกล่าวเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ ขณะที่กลุ่มผู้ถือหุ้น ได้นำข้อมูลนี้มาประกอบเป็นข้อร้องเรียน เรื่อง การฝ่าฝืนจรรยาบรรณทางธุรกิจ ข้อบังคับบริษัท กฎบัตรคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนของบริษัท และความผิดตามหลายมาตราของหมวด 3/1 ว่าด้วยเรื่องการบริหารกิจการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ในส่วนของหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการและผู้บริหารตามมาตรา 89/7 มาตรา 89/8 มาตรา 89/10 มาตรา 89/11 มาตรา 89/12 และมาตรา 89/14 พรบ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และหมวด 6 ว่าด้วยเรื่องคณะกรรมการตามมาตรา 85 มาตรา 88 ของ พรบ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535

 

ล่าสุด Top News ได้สอบถามความคืบหน้าการดำเนินการตามคำร้องของผู้ถือหุ้นอีสท์ วอเตอร์ กับนางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ ก.ล.ต. ได้ข้อมูลว่า กรณีมีผู้ร้องเรียนให้มีตรวจสอบการบริหารงานของ นางอัศวินี ไตลังคะ ประธานคณะกรรมการบริษัทและกระบวนการสรรหากรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ EASTW ที่อาจฝ่าฝืนจรรยาบรรณทางธุรกิจ ข้อบังคับบริษัท และพิจารณาค่าตอบแทนของบริษัท ว่า

 

 

“ขณะนี้ กลต. เตรียมออกหนังสือ เพื่อให้ผู้บริหารฯ รวมถึงอีสท์ วอร์เตอร์เอง เข้าชี้แจงข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าว และหลังจากออกหนังสือส่งแล้วต้องรอระยะเวลา 15 วัน เพื่อให้บริษัทได้ชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น หลังจากนั้น ทาง ก.ล.ต. จะนำข้อมูล ข้อเท็จจริงที่ได้ มาวิเคราะห์อีกครั้งว่า เป็นไปตามที่เป็นข่าวหรือไม่ และมีรายละเอียดอย่างไร โดยการลงทุนในตลาดทุน และบทบาทของ สำนักงาน ก.ล.ต. จะเน้นเรื่องของความโปร่งใส ดังนั้นบริษัทจดทะเบียนจึงต้องมีหน้าที่ในการชี้แจงคำร้องประกอบกันไปด้วย”

ไม่เท่านั้นอีกประเด็นสำคัญ Top News เพิ่งได้รับข้อมูลเพิ่มเติม พบว่า นอกจากปัญหาที่ทางกลุ่มผู้ถือหุ้นร้องเรียนต่อก.ล.ต.ก่อนหน้า ยังมีปมใหม่ว่าด้วยกระบวนการคัดเลือก กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ อีสท์ วอเตอร์ คนใหม่ เพื่อรับผิดชอบหน้าที่ตั้งแต่ 1 เมษายน 2565 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 ปรากฎว่ามีข้อสังเกตุ ถึงความไม่ปกติที่เกิดขึ้นกับการปฏิบัติหน้าที่ของบอร์ด อีสท์ วอเตอร์ เพราะรายชื่อบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ หรือ ซีอีโอ คนใหม่ ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2565 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 มีผลสอบด้านความรู้ ความสามารถ(TOEIC) อาทิ ความถนัดด้านภาษาอังกฤษ , บุคลิกภาพ , ทัศนคติในการทำงาน ฯลฯ คะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด หรือ มีค่าคะแนนเพียง 225 คะแนน ทำให้ไม่ติดอันดับ 1 ใน 5 ผู้มีคะแนนลำดับสูงสุด ซึ่งมีลำดับคะแนนความรู้ ความสามารถในระดับ 785-945 คะแนน

แต่กรณีดังกล่าว กรรมการสรรหากลับให้น้ำหนักกับผลการสัมภาษณ์ และผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ผลสอบด้านความรู้ ความสามารถ (TOEIC) กลับเบียดแทรกขึ้นมาเป็นผู้ได้รับการเลือกให้มาสัมภาษณ์ รอบสุดท้าย 3 คน รวมถึงได้ความไว้วางใจจากบอร์ด อีสท์ วอเตอร์ ให้ทำหน้าที่ซีอีโอ อีสท์ วอเตอร์ คนใหม่ อย่างพลิกความคาดหมาย และชี้ให้เห็นอีกปรากฎหนึ่งที่ไม่ปกติ จากการบริหารจัดการ บริษัท อีสท์ วอเตอร์ ภายใต้การกำกับของนางอัศวินี ไตลังคะ ที่กำลังถูกผู้ถือหุ้นร้องตรวจสอบ และก.ล.ต. ให้ชี้แจงข้อมูลภายใน 15 วัน

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น