“โควิด” 65 ติดแล้วจบหรืออะไร คำตอบสุดท้ายความจริงที่ต้องกลัว

แอนโดรกราโฟไลท์, ฟ้าทลายโจร, โอไมครอน, โอไมครอน, Omicron, ลองโควิด, โควิด, โควิด, อัลฟา, เดลตา, หมอธีระวัฒน์, วัคซีน, พีซีอาร์, เอทีเค

"โควิด" ติดแล้วจบหรือไม่ ความจริง ยังคงต้องกลัวไหม สิ่งที่ต้องตระหนักในขณะนี้คือ... ผลกระทบหลังจากที่หายไปแล้วจากการติดเชื้อ อะไรคือคำตอบสุดท้าย

“โควิด” ติดแล้วจบ..จริงไหม? หมอธีระวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรศาสตร์และทางระบบประสาท โพสต์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ล่าสุด ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

 

แอนโดรกราโฟไลท์, ฟ้าทลายโจร, โอไมครอน, โอไมครอน, Omicron, ลองโควิด, โควิด, โควิด, อัลฟา, เดลตา, หมอธีระวัฒน์, วัคซีน, พีซีอาร์, เอทีเค

 

 

 

หมอธีระวัฒน์ โพสต์ว่า เดือน พฤษภาคม ถือเป็นการประกาศฤดูกาลสดใสใช้ชีวิตได้เกือบปกติ แม้กระทั่งในโรงพยาบาลเริ่มพิจารณา ไม่ต้องนั่งห่าง แม้กระทั่งร้านอาหาร เหลือแต่หน้ากาก พีซีอาร์ เป็นกรณียกเว้นพิเศษ จัดว่าฟุ่มเฟือย
เอทีเค ไม่ต้องมีก็ยังได้ ร้านอาหาร มีเพียง ชาร์ พลัส SHA ซึ่งดูหรูหรา

 

นอกจากนั้น เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า วัคซีน ไม่ว่ายี่ห้อใดไม่สามารถกันการติดได้ หรือกันได้ไม่มากนัก และประสิทธิภาพในการลดอาการหนัก ยังมีข้อจำกัดและหดหายไปในระยะเวลารวดเร็วไม่กี่เดือน

 

“ความจริง เหล่านี้ ทำให้เรายังคงต้องกลัวกับโควิดหรือไม่” หมอธีระวัฒน์ ระบุพร้อมบอกต่อว่า อาจจะไม่ถึงขนาดนั้น ก็ถ้ายังกังวล ปิดประตูปิดบ้าน ประเทศคงเดินหน้าไม่ได้ วัคซีนปัจจุบันไม่ใช่คำตอบสุดท้าย วินัยเข้มงวด ใส่หน้ากากแยกตัวออกห่าง 2 เมตร 3 เมตร ก็คงไม่ใช่คำตอบสุดท้าย

 

 

 

 

แอนโดรกราโฟไลท์, ฟ้าทลายโจร, โอไมครอน, โอไมครอน, Omicron, ลองโควิด, โควิด, โควิด, อัลฟา, เดลตา, หมอธีระวัฒน์, วัคซีน, พีซีอาร์, เอทีเค

 

 

 

 

“ถึงเวลาที่เราจะต้องมีชีวิต ในสถานการณ์โรคติดเชื้อ แม้ว่า Omicron (โอไมครอน หรือ โอมิครอน) ขณะนี้ จะมีสายย่อย ต่าง ๆ นานา และแอฟริกาใต้เองซึ่งได้อานิสงส์จากการติดเชื้อตามธรรมชาติทั้งประเทศ โดยที่อัตราการฉีดวัคซีนมีเพียง 16% แต่กลับมีอัตราการเข้าโรงพยาบาลและเสียชีวิตน้อยมาก แต่ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามีสายย่อย โอไมครอน หรือ โอมิครอน เกิดขึ้นและการติดเชื้อในแต่ละวันเพิ่มขึ้นหลายเท่า แต่คงต้องติดตามว่าจะรุนแรงเหมือนกับสมัย เดลตา หรือไม่”

 

หมอธีระวัฒน์ ระบุอีกว่า สิ่งที่ต้องตระหนักในขณะนี้คือ ผลกระทบหลังจากที่หายไปแล้วจากการติดเชื้อ ที่เรียกว่า Post acute sequelae และประกอบไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างติดเชื้อเมื่อเชื้อหายไปแล้ว แต่ไม่ยอมสงบและยังเป็นอยู่แถมยังอาการหนักมากขึ้น หรือขณะที่ติดเชื้ออาการน้อยนิดมีเพียงแค่ เจ็บคอ น้ำมูกไหล แต่เมื่อหมดเชื้อไปแล้ว กลับมีอาการแปลกประหลาด ซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลา ทั้งวันทั้งคืนหรือเกิดขึ้นเป็นบางช่วง และกระทบตั้งแต่หัวจดเท้า ทุกอวัยวะและรวมถึงเครื่องในช่องท้องและระบบผิวหนัง ผมร่วง จนกระทั่งถึงสมอง มีทั้ง เฉยชา เหนื่อยล้า คิดอะไรไม่ออก หดหู่ ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ความรู้สึกทางเพศถดถอย

 

“ลักษณะดังกล่าว อาจไม่สามารถประเมินได้ด้วยแบบทดสอบที่เราใช้กันในปัจจุบันคือ แบบทดสอบอาการหดหู่ซึมเศร้า แบบทดสอบอาการทางสมองทางพุทธิปัญญา เพราะอาการเหล่านี้ในหลายคน ไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลาขณะที่ตรวจก็จับผู้ร้ายไม่ได้”

 

 

 

 

หลายรายที่พวกเราเจอในขณะนี้ อยู่ดี ๆ ก็ลุกขึ้นแล้วเป็นลม บางคนหลับลึก หลับยาว ปลุกไม่ตื่นและแล้วก็ตื่นขึ้นเอง ตรวจทั้งหัวใจสวนเส้นเลือดหัวใจ ตรวจเลือด ตรวจคอมพิวเตอร์สมองสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เจาะน้ำไขสันหลัง ไม่เจออะไร ถูกวินิจฉัยว่า คิดไปเอง หดหู่ เป็นโรควิตกซึมเศร้า แกล้งทำ แต่เมื่อเราตรวจเลือดหาหลักฐานการอักเสบที่สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบของการติดเชื้อ โควิด ผลปรากฏเด่นชัดเหลือเกินว่า การอักเสบที่เกิดขณะติดเชื้อโควิดแม้อาการไม่มาก กลับทอดยาวและปะทุรุนแรงขึ้นมหาศาล

 

 

 

 

“ถามว่า ขณะนี้เรามีการติดเชื้อ COVID-19 เป็นล้านคน ติด อัลฟา ติด เดลตา ก็มาติด โอไมครอน หรือ โอมิครอน ใหม่ได้ ติด Omicron ก็ยังติด Omicron สายย่อย สายรวม ต่อได้ และวัคซีนไม่ใช่คำตอบสุดท้าย แยกตัวปิดกิจการ เศรษฐกิจล่มจม ก็ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย” หมอธีระวัฒน์ โพสต์และว่า นั่นก็คือประการที่หนึ่ง ไม่พยายามปล่อยตัวให้ติด มีวินัยบ้าง แต่ประการสำคัญประการที่สองก็คือ เมื่อคิดว่าติดแล้ว ต้องสงบสยบอาการและการติดเชื้อให้ได้ในเวลาอันเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้ว่าจะไม่มีข้อพิสูจน์ชัดเจนว่าจะสามารถป้องกัน COVID-19 ได้ แต่อย่างน้อยขณะนี้ เรารู้แล้วว่า มีรายงานที่ตีพิมพ์เผยแพร่ทั่วโลกว่าคนที่ฉีดวัคซีนไปแล้วและยังติดเชื้อ COVID-19 ก็ไม่สามารถป้องกันปรากฏการณ์ Long COVID ได้

 

 

 

 

 

ดังนั้น จะติดก็ไม่ว่าอะไร เพราะ โอไมครอน หรือ โอมิครอน ไม่ได้ดุร้ายมากนัก ยกเว้น คนที่ทำบาปทำกรรมมาแต่ชาติก่อน หรือแล้วแต่บุญแต่กรรม และคนที่มีความเสี่ยง จะเรียกรหัสเป็น 608 หรืออะไรก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นข้อกำหนดชัดเจน

 

เมื่อสงสัยว่า ติด หรือพิสูจน์ว่า ติด ณ วินาทีนั้น ฟ้าทลายโจร มีมากมาย 40 – 50 ยี่ห้อ เลือกขนาดที่มี แอนโดรกราโฟไลท์ กิน 60 มิลลิกรัม เช้ากลางวันเย็น ถ้าเป็นเด็ก 10 มิลลิกรัมเช้ากลางวันเย็น ห้าวัน และยังมียาอีกหลายชนิดที่ได้ผล แต่ยังไม่เป็นที่รับรองของทางการ แต่ควรที่จะปรึกษาแพทย์ที่ใช้ข้อมูลรอบด้านในการตัดสินใจเพื่อรักษาชีวิตให้รอดปลอดจาก COVID และ Long COVID

 

 

 

 

“ในปัจจุบันแค่ตัวหมอเอง มีคนไข้ ลองโควิด ไม่ถึง 50 คน และยังมีคนไข้ที่ได้รับผลกระทบเคราะห์ร้ายจากวัคซีนที่มีอาการเหมือน Long COVID ทุกประการ อีกหลายสิบคน ยังต้องดูแลและตัดสินใจที่จะใช้ยาสมเหตุสมผลไม่มากเกินไปไม่น้อยเกินไป และเป็นตามคนป่วยแต่ละคน ไม่มีสูตรสำเร็จ โดยการควบรวมกับการวัดดัชนีการอักเสบและผลกระทบกับสมองในการสะสมโปรตีนพิษที่ทำให้เกิดสมองเสื่อมมากขึ้น (โครงการศึกษาและพัฒนาดัชนีชี้วัด จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติและกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนวัตกรรม)”

 

ถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่จะเปิดประเทศก็ไม่ได้ว่าอะไร จะไม่ตรวจก็ไม่ได้ว่าอะไร แต่ถ้ารู้ว่าติดก็ต้องหาสิ่งที่คนไทยทุกคนเข้าถึงได้ ราคาถูกที่สุด เพื่อตัดวงจรของการติดเชื้อ COVID-19 ให้สั้นที่สุดและไม่ต้องมีคนที่ได้รับผลกระทบมากมายมหาศาล และจะเป็นปัญหากับความมั่นคงทางด้านระบบสาธารณสุขในปัจจุบันและในระยะยาว

 

 

 

 

แอนโดรกราโฟไลท์, ฟ้าทลายโจร, โอไมครอน, โอไมครอน, Omicron, ลองโควิด, โควิด, โควิด, อัลฟา, เดลตา, หมอธีระวัฒน์, วัคซีน, พีซีอาร์, เอทีเค

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น