ผ่าจุดอ่อนสังคมไทย “รากลอย” ฝ่าวิกฤตการเมืองโลกแบ่งขั้ว : ปกรณ์ นิลประพันธ์

รัฐบาลประเทศเป้าหมายที่รู้ทัน ไม่ว่าช้าหรือเร็ว พยายามเป็นกลางหรือเอาตัวออกห่าง ก็มักจะถูกบ่อนเซาะให้ขาดเสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม จนผู้คนลุกขึ้นต่อต้านรัฐบาลเพื่อเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ที่สนับสนุนค่ายของตน

หมายเหตุ : เขียน โดย  ปกรณ์ นิลประพันธ์

การเมืองระหว่างประเทศมีแนวโน้มที่จะตึงเครียดมากขึ้น แน่นอนว่าระบอบขั้ว ระบอบค่าย ที่จางหายไปหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในช่วงปลาย 1980s จะกลับมา คนรุ่นผมคงจะพอจำกันได้ถึง “การแทรกแซง” รูปแบบต่าง ๆ ของแต่ละขั้ว แต่ละค่าย ที่จะทำให้ “รัฐเป้าหมาย” มาอยู่ในค่ายของตัวเองเพื่อถ่วงดุลอีกค่ายหนึ่ง ผ่านการสนับสนุนหรือแม้กระทั่งทำลายในรูปแบบต่างๆ ทั้งทางตรง ทางอ้อม และทางลับเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่า โดยใช้จุดอ่อนหลัก ๆ คือ

1. การศึกษาของประเทศเป้าหมายมักจะอ่อนแอ ผู้คนพร้อมที่จะ “เชื่อ” และเฮโลสาระพากับคารมคมคายของคนที่ชอบหรือที่คิดว่าใช่ มากกว่าที่จะคิดหาคำตอบ “ด้วยเหตุผล

2. มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสูง ผู้คนมีความสามารถในการทำงานจำกัด ไม่มีค่านิยมในการทำงานหนัก ชอบทำน้อยได้มาก ประมาณนั้น

3. ระบบสังคมไม่เข้มแข็ง ผู้คนส่วนใหญ่ของประเทศเป้าหมายนั่นมักจะคิดถึงแต่ตัวเองมากกว่าส่วนรวม กับ “รากลอย” ไม่รู้จักและไม่รักในขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของตนเอง

4. ชอบแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือแก้ผ้าเอาหน้ารอดไปวัน ๆ ไม่คิดถึงความยั่งยืนของส่วนรวมในระยะยาว

การแทรกแซงที่เขาทำกันเนียน ๆ ในอดีตคือ

1. การให้ทุนไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน ในประเทศในค่ายของตนนัยว่าเขามีความก้าวหน้าทางศิลปวิทยาการชั้นสูง ใครรู้เท่าทัน ก็โชคดีไป แต่ถ้าใครไม่รู้เท่าทัน ก็จะกลายเป็นเครื่องมือของเขาไป

2. การใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์เพื่อสอดแทรกค่านิยมค่ายของตนในประเทศเป้าหมาย เดี๋ยวนี้คงเพิ่มโซเชียลมีเดียเข้าไปด้วย เพื่อสร้าง popular culture เพราะคนพร้อมที่จะเชื่อมากกว่าจะคิดตามเหตุผล

3. การให้อาวุธมือสองมาใช้งานแบบราคามิตรภาพหรือให้เปล่า ซึ่งจริง ๆ แล้วของฟรีไม่มีในโลก

4. การให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคในด้านต่าง ๆ เพื่อส่งคนเข้ามาสอนคนในประเทศเป้าหมาย ให้เกิดความรู้สึกรักชอบต่ายของตนขึ้นผ่าน “มิตรภาพ” อันบริสุทธิ์

รัฐบาลประเทศเป้าหมายที่รู้ทัน ไม่ว่าช้าหรือเร็ว พยายามเป็นกลางหรือเอาตัวออกห่าง ก็มักจะถูกบ่อนเซาะให้ขาดเสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม จนผู้คนลุกขึ้นต่อต้านรัฐบาลเพื่อเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ที่สนับสนุนค่ายของตน

สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในช่วงสงครามเย็น จางหายไปพักนึงดังว่า แต่มันกลับมาอีกแล้ว แรงและเร็วกว่าเดิมโดยการผสมผสานของเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย

มีตำรา/เอกสารมากมาย แต่ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของตำราประวัติศาสตร์บ้านเรา ที่ยังเน้นให้ท่องจำว่ากรุงตั้งเมื่อไร เสียกรุงวันไหน ปีไหน บางเล่มยังวนเวียนอยู่กับภูเขาอัลไตอยู่เลย

ในทัศนะผม การทำยุทธศาสตร์ การวางนโยบาย และการวางแผนงานโครงการต่าง ๆ ต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองระหว่างประเทศนี้ให้มาก เพราะมันจะกระทบต่อระบบของเราโดยตรง จะคิดแบบการค้าเสรีมาก ๆ อย่างในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมาอีกไม่ได้ แต่ที่สำคัญคือต้องปิดจุดอ่อนหลักสามสี่ประการข้างต้นให้ได้เพื่อสร้างความเข้มแข็งจากภายใน จะได้ไม่ถูกบ่อนเซาะได้ง่าย ๆ

ผมแก่ใกล้ปลดระวางแล้ว ก็ทำเท่าที่จะทำได้ และบ่นบ่อย ๆ เพื่อชวนคิดชวนลงมือแก้ปัญหากัน

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ปาเลสไตน์สั่ง อัลจาซีรา จอดำไม่มีกำหนด
ระทึก "หนุ่ม" เมาซิ่งกระบะเสียหลัก พุ่งชนร้านค้าพังยับ ทำชาวบ้านแตกตื่นกลางดึก
อดีตทหารพุ่งรถดับหมู่ในสหรัฐฯลงมือคนเดียว
"วรชัย" ซัดคนหน้าเดิมปลุกโจมตี "ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์" แนะฝ่ายค้านเลิกแค้น มองประโยชน์ประเทศเป็นหลัก
ผู้นำยูเครนเชื่อ ความคาดเดาได้ยากของทรัมป์ ช่วยยุติสงครามได้
ชุลมุนวุ่นวาย บุกจับผู้นำเกาหลีใต้แต่เจอขวาง
มือบึ้มกระบะเทสลาเป็นหน่วยรบพิเศษกรีนเบอเรต์
“อ.อ๊อด” จี้ “สตช.-อว.” เอาผิด ปมอบรมตร.อาสาคนจีน ชี้เข้าข่ายฉ้อโกง
"โก๊ะตี๋" ประกาศแยกทาง "กวาง" ภรรยา หลังเพิ่งแต่งงานได้ปีเดียว จบเส้นทางรัก 12 ปี แจงสาเหตุเรื่องทัศนคติส่วนตัว
กรมอุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศหนาวเย็น อุณหภูมิลดอีก 2 องศา ภาคใต้เจอฝนเล็กน้อยบางแห่ง กทม.เย็นสุด 21 องศา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น