เปิดจองแล้ววันนี้ ทุเรียนเมืองช้าง แห่งเทือกเขาพนมดงรัก ชายแดนไทย-กัมพูชา

สุรินทร์-เปิดจองแล้ววันนี้ ทุเรียนเมืองช้าง แห่งเทือกเขาพนมดงรัก ชายแดนไทย-กัมพูชา รุ่นแรกออกผลผลิตปีที่ 2 เจ้าของสวนการันตีรสชาติ เนื้อแห้ง รสมัน กลิ่นไม่ฉุนติดมือ แถมดกมากแทบติดพื้นดิน ลูกค้าแห่จองถึงต้น พบเกษตรกรปลูกทุเรียนแล้ว 45 ราย กว่า 338 ไร่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมผลักดันเป็นแห่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เชื่อมแหล่งท่องเที่ยวขอมโบราณหลายแห่ง ในพื้นที่อีสานใต้ชายแดน

วันที่ 15 พ.ค. 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  เกษตรกรชาวสวนยาง ในพื้นที่ อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ เริ่มมีการตัดต้นยางพารา มาปรับเปลี่ยนปลูกทุเรียนแทนกันมากขึ้น โดยเฉพาะทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ที่สวนของคุณลุงสิทธิ์ วงศ์ตาแสง อายุ 63 ปี อยู่บ้านเลขที่ 56 ม.17 บ.ไทยนิยม ต.บักได อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ถือว่าเป็นเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนรุ่นแรกๆของอำเภอพนมดงรัก และเริ่มมีผลผลิตออกจำหน่ายเมื่อปีที่แล้วถึง 11 ต้น และปีนี้ก็เริ่มมีต้นทุเรียนออกผลผลิตมากขึ้น เป็นปีที่ 2 โดยปลูกในพื้นที่จำนวน 10 ไร่ ซึ่งหลังจากทุเรียนออกผลผลิตก็มีลูกค้าแห่จองทุเรียนตั้งแต่อยู่บนต้นและยังไม่สุกกันเลยทีเดียว โดยเฉพาะ นายณัฐพัชร์ บุญมี นายก อบต.บักได ที่ได้จองทุเรียนกับลุงสิทธิ์ วงศ์ตาแสง แล้ว 1 ต้น พร้อมถือโอกาสพาสื่อมวลชนไปดูสวนทุเรียนต่างๆในพื้นที่ของเกษตรกรหลายสวนด้วยกัน และก็พบว่าทุเรียนแต่ละสวนมีผลดกเป็นอย่างมาก บางต้นออกผลแทบจะติดพื้นดินเลยทีเดียว

นายสิทธิ์ วงศ์ตาแสง อายุ 63 ปี เจ้าของสวนทุเรียน กล่าวว่า ผลผลิตปีที่แล้ว 11 ต้น ทำเงินได้ประมาณ 7 หมื่นบาท ส่วนปีนี้ยังไม่มากเท่าไหร่น่าจะได้ประมาณ 70 ต้น หรือ 4 ตัน ผลผลิตยังไม่ถึงครึ่งของทุเรียนที่ปลูกจำนวน 10 ไร่ กว่า 300 ต้น ปลูกเข้าปีที่ 6 สาเหตุที่ปลูก ก็คิดหาทางออกให้ตนเอง เพราะติดหนี้ติดสินเยอะ ทั้งงวดรถ หนี้สินต่างๆเข้ามา คอยแต่ยางพาราก็ไปไม่ได้ เพราะราคาตกต่ำ หาทางออกไม่เจอ เลยไปหาดูงานที่ภาคใต้บ้าง ศรีสะเกษบ้าง เขายังทำได้ เราก็ต้องทำได้ ไม่เคยรู้มาก่อน ต้องไปหาเรียนรู้ข้างนอก ตัดสินใจปลูกเลยทั้งที่ยังไม่รู้เรื่องอะไร ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ซื้อจาก อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ จ.จันทบุรีและ จ.ตราด ซึ่งแรกก้จะมีปัญหาเรื่องน้ำ ระบบน้ำที่ไม่ได้มาตรฐาน ปีแรกทุเรียนตายไป 100 กว่าต้น เกือบ 200 ต้น แต่ก็ไม่ย่อท้อ ตนเป็นคนที่ไม่ยอมง่ายๆ ถ้าไม่ผ่าน ยกเว้นแต่ว่าตนเองตายเสียก่อน ซึ่งก็จะมีแมลงรบกวนเป็นระยะ โดยช่วงใบอ่อนก็จะมีแมงอีนูนมากินใบ เรากำจัดโดยการจับไปคั่วกินบ้าง ฉีดยาฆ่าแมลงบ้าง ทุเรียนก็ค่อยๆโต ตนก็มีกำลังใจดูแล พอปีแรกผลผลิตออก ก็ดีใจมาก ว่าสามารถปลูกให้มีผลได้แล้ว และปีหน้าคาดว่าจะได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 10 ตัน ก็มีเปิดให้จองแล้ว นายก อบต.บักไดก็จองแล้ว 1 ต้น ก็มีจองมาเยอะแล้ว ถ้าใครสนใจจะจองก็อยากให้มาดูเองว่าเอาลูกไหนต้นไหนดีกว่าจองทางโทรศัพท์ทางไลน์ พอทุเรียนแก่เราก็โทรให้มาเอา ถ้าไม่มาเอาเราก็ขายก่อน แล้วจะให้รุ่นทีหลัง เรายังให้โอกาสลูกค้าอยู่ ถ้าให้คืนเงินจองคงไม่ได้ เพราะอาจจะใช้หมดแล้ว เพราะทุเรียนที่นี่มี 3 รุ่น รุ่นแรกสิ้นเดือนนี้ก็จะได้ตัดขายแล้ว ส่วนรสชาติทุเรียนจะมีความพิเศษแตกต่างจากที่อื่น คือ เนื้อจะแห้ง ไม่แฉะ รสชาติจะมัน แค่แตะลิ้นก็จะรู้เลยว่าอร่อย มือที่จับก็จะไม่มีกลิ่นติดมือ กลิ่นจะเบา กินง่ายสำหรับคนที่ไม่ชอบกลิ่นทุเรียนแรงๆ ลุงสิทธิ์ วงศ์ตาแสงฯกล่าว

นายณัฐพัชร์ บุญมี นายก อบต.บักได กล่าวว่า ในพื้นที่ อ.พนมดงรักสามารถปลูกผลไม้เมืองร้อนได้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นทุเรียน เงาะ ลองกอง ละมุด สะตอ ลิ้นจี่ ส่วนใหญ่จะเป้นทุเรียน เกษตรกรเริ่มปลูกกันมากขึ้น ร่วม 300 ไร่แล้ว แต่ที่มีผลผลิตแล้วไม่กี่สวน ฝากเชิญชวนประชาชนเข้ามาเที่ยวและจองทุเรียนเมืองช้างก็ติดต่อมาได้ที่คุณลุงและ อบต.บักได นอกจากสวนทุเรียนแล้ว ก็ยังมีแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆอีก ไม่ว่าจะเป็น ปราสาทตาควาย ปราสาทหิน สมัยขอมโบราณ และยังมีแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติอื่นๆ วัดวาอารามที่สวยงามหลายแห่ง และใครต้องการศึกษาเรียนรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ต่างๆ ทาง อบต.บักไดของเรายินดีต้อนรับ นายก อบต.บักได กล่าว

หลังจากนั้น นายก อบต.บักได ได้นำสื่อมวลชนไปชมสวนทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ของนายเลือย รักษ์สกุล ที่อยู่อีกแห่ง ในพื้นที่ 14ไร่ ที่ปลูกรุ่นแรกๆและเป็นปีที่ 2 ที่ให้ผลผลิต พร้อมได้พบกับนายวิชิต ประไว นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ชำนาญการ สนง.เกษตร อ.พนมดงรัก พร้อมเปิดเผยข้อมูลว่า ในพื้นที่มีเกษตรกรหันมาปลูกทุเรียนจำนวน 45 ราย ประมาณ 338 ไร่ แล้ว เกษตรกรเริ่มปลูกมาตั้งแต่ปี 58 โดยสวนแห่งนี้ปลูกประมาณ 334 ต้น ซึ่งเอกลักษณ์ของรสชาติทุเรียนที่นี่จะหวานน้อย กลิ่นไม่ฉุน กลิ่นไม่แรงเหมือนทุเรียนจันทบุรี ซึ่งเป็นโครงการปรับเปลี่ยนจากการปลูกสวนยางมาเป็นการปลูกไม้ผล ที่ สนง.เกษตร อ.พนมดงรัก ส่งเสริมการเกษตรและสนับสนุน และโครงการส่งเสริมของการยาง โค่นต้นยางออกปลูกไม้ผลด้านหน้า ส่วนด้านหลังเป็นโครงการของ สนง.เกษตร อ.พนมดงรัก เป็นโครงการสนับสนุนพันธุ์ไม้ผล มาให้เกษตรกรปลูก คาดว่าจะมีผลผลิตเต็มที่ทุกสวนใช้เวลาอีก 5 ปี โดย จ.สุรินทร์ มีพื้นที่ อ.บัวเชดและอ.พนมดงรัก ที่มีการปลูกทุเรียนมากพอๆกัน ซึ่ง อ.พนมดงรัก กำลังส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีบริบทวิวทิวทัศน์ต่างๆที่สวยงาม มีปราสาทตาควาย อ่างเก็บน้ำต่างๆ วัดเขาโต๊ะ และป่าที่อุดมสมบูรณ์ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ ตลอดเส้นทางชายแดน และอำเภอใกล้เคียงก็มีแหล่งท่องเที่ยวอีกหลายแห่งที่น่าสนใจด้วย นายวิชิต ประไวฯกล่าว.

 

ภาพ/ข่าว กฤษดากร กีรติธำรงค์เจริญ ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.สุรินทร์

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
จีนเตือนสหรัฐกำลังเล่นกับไฟหลังส่งอาวุธให้ไต้หวัน
อิลอน มัสก์วิจารณ์แรงผู้นำเยอรมันเหตุโจมตีตลาดคริสต์มาส
ซาอุฯเคยเตือนเยอรมนีเรื่องคนร้ายโจมตีตลาดคริสต์มาส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น