“ธนวรรธน์” มองเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า หลังปัจจัยลบในประเทศถาโถม  

"ธนวรรธน์" มองขณะนี้ปัจจัยลบ มากกว่าปัจจัยบวก ทำให้เศรษฐกิจไทยยังซึมตัว และฟื้นตัวช้า หลัง คนยังไม่แน่ใจว่าจะเปิดประเทศอย่างไร 120 วัน กระจายวัคซีนได้มากน้อยแค่ไหน หลังพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น การเมืองวุ่นวายขึ้น

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยกับ TOPNEWS ผ่านรายการ ลึกจริงเศรษฐกิจ : Top Biz Insight  วันที่ 24 มิถุนายน 2564 ในประเด็น “ทิศทางเศรษฐกิจไทยเผชิญโควิด ม็อบการเมืองซ้ำเติม”

มุมของเศรษฐกิจ มองว่าเราอยู่ในระดับที่น่าพอใจหรือยัง ณ ตอนนี้  นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ยังไม่น่าพอใจ โดยแบ่งเป็นประเด็นบวก และประเด็นลบ

ประเด็นบวก คือ ถ้าเราทำ 120 วันได้ จะเป็นกลไกสำคัญในการฟื้นเศรษฐกิจ ฟื้นความเชื่อมั่น แต่จะต้องอยู่ภายใต้สมมติฐานว่าคุมโควิดอยู่  และฉีดวัคซีนได้เยอะ , การฉีดวัคซีน เป็นประเด็นบวกแน่  เพราะเราทำการ survey ประชาชน คนที่ได้รับการฉีดวัคซีน เค้าจะมั่นใจในการใช้จ่าย มั่นใจในการที่จะเดินทางมากขึ้น

ประเด็นลบ คือ การติดเชื้อโควิดที่มันไม่ลง บางวัน  3 พัน บางวัน 4 พัน และมีสายพันธุ์เบต้า และตอนนี้จำนวนผู้เสียชีวิต ตลอดจนข้อมูลข่าวสารว่าเตียงเต็ม สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นตัวบั่นทอน เพราะฉะนั้น มันก็จะลบมากกว่าสถานการณ์ที่เราฉีดวัคซีนกันได้ไม่เยอะ

ต่อมา วัคซีนขาดแคลน คือการที่วัคซีนเข้ามาไม่ตามแผน อันนี้ลบแน่นอน  เพราะคนแทนที่จะได้บวกจากการได้ฉีดวัคซีน แต่ต้องกังวลว่า จะได้ฉีดวัคซีนไหม ก็เลยไม่มั่นใจไปเลยว่า วัคซีนจะมาจริงตามแผนของรัฐบาลรึป่าว

สำหรับประเด็นของการชุมนุมทางการเมือง อันนี้จะเป็นตัวลบ เพราะขนาดโควิด-19 คุมกันไม่ค่อยอยู่แล้ว มีปัญหาทางการเมืองเข้ามาซ้ำ ซึ่งจะยิ่งทำร้ายเศรษฐกิจ

“ ถ้าถามว่า เอาทุกอย่างรวมๆ สถานการณ์นี้ คนยังไม่แน่ใจว่าเราจะเปิดอย่างไร 120 วัน วัคซีนจะฉีดอย่างไร จะได้ครบมากน้อยแค่ไหน แต่สิ่งที่เห็นก็คือ วัคซีนขาดแน่ โควิดยังติดเชื้อกันเยอะ การเมืองดูวุ่นวายขึ้น เพราะฉะนั้น ปัจจัยลบตอนนี้มากกว่าปัจจัยบวก จึงทำให้เศรษฐกิจยังซึมตัวและฟื้นตัวช้า” นายธนวรรธน์ กล่าว

กรณีของการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมือง มันเหมาะสม หรือสมควรหรือไม่ นายธนวรรธน์ กล่าวว่า กลับมาในการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางการเมืองที่เป็นผลลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชุมนุมทางการเมือง นำพามาซึ่ง 2 อย่าง คือ หนึ่ง มันเป็นความวุ่นวายที่อาจจะทำให้เกิดสถานการณ์ของการปะทะ ซึ่งก็เป็นการอาจจะทำให้เกิดความเดือนร้อนของประชาชน  ผู้ชุมนุม หรือฝ่ายต่างๆ อันที่สอง จะเป็นการสุ่มเสี่ยงเรื่องสถานการณ์โควิด  แต่ก็เป็นประเด็นที่ไม่กระทบรุนแรง มันไม่ได้ทำให้นักท่องเที่ยวกลัว เพราะยังไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามา

อย่างไรก็ตามประเด็นนี้ ถ้าเป็นการชุมนุมเฉยๆ  สงบ ก็เป็นวิถีปกติตามกรอบประชาธิปไตย ก็ไม่กระเทือนเศรษฐกิจมาก  ก็ไม่สุ่มเสี่ยง แต่ถ้าการชุมนุมนำพามาด้วยการปะทะ ความวุ่นวายก็จะมีผลกระทบต่อการลงทุน เอกชนก็จะมีความรู้สึกว่า มันไม่น่าลงทุนนะ ทั้งๆ ที่มีโควิด ยังมีการชุมนุม และจะมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย

ถ้าสถานการณ์ชุมนุมทางการเมือง นำพามาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้ เช่น เหตุการณ์ยุบสภา หรืออื่นๆ ก็จะยิ่งเป็นความเสี่ยงของประเทศ เพราะคนจะไม่มั่นใจในเสถียรภาพทางการเมือง เพราะฉะนั้น ถามว่ามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไหม มีแน่นอน แต่ถามว่า กระบวนการที่ทำนั้น เป็นไปตามกรอบประชาธิปไตยอยู่หรือเปล่า ก็ยังเป็นอยู่

อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  กล่าวว่า  คิดว่าการเมืองอยู่ที่สภา กับประชาชน บางทีประชาชนก็ไม่สามารถคุมเสียงสภาได้ เพราะฉะนั้น ในเชิงตรรกะการเมือง ก็เชื่อว่าคะแนนของรัฐบาลในสภายังท่วมท้นอยู่  สังเกตจากการอภิปรายทุกประเด็น ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณ หรือพ.ร.ก.เงินกู้ 5 แสนล้านบาท และยังไม่มีตรรกะหรือมีเหตุผลเพียงพอในการแปรเปลี่ยน เพราะมันไม่มีหลักการที่จะต้องไปแปรเปลี่ยนด้วยเหตุผลอะไร

แต่ถามว่า ในกลุ่มของการแสดงความไม่เห็นด้วย เป็นเรื่องของปกติในสภา และเป็นเรื่องปกตินอกสภา เพราะฉะนั้น รัฐธรรมนูญจึงไม่ได้ห้ามการชุมนุมนอกสภา  เพียงแต่รัฐธรรมนูญก็บอกว่า ถ้าจะชุมนุมก็ให้ขออนุญาต  เพราะฉะนั้น ตอนนี้ต้องบอกว่า การชุมนุมก็เป็นการแสดงออกทางเมือง ซึ่งอาจจะทำให้ประชาชนกลุ่มหนึ่งมีความรู้สึกคล้อยตาม และมีความรู้สึกว่า รัฐบาลอาจจะไม่มีคะแนนนิยมในใจเขา ซึ่งก็จะมีผลต่อการเลือกตั้ง

นายธนวรรธน์ กล่าวว่า “ตามภาพในเชิงของการเมืองหรือเชิงเศรษฐกิจ ตอนนี้ถือว่าเป็นการแสดงออกทางการเมือง ซึ่งยังไม่น่ามีผลกระทบกระเทือนรุนแรงต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจยังพึ่งพาสถานการณ์โควิด และการฉีดวัคซีน และการเปิดประเทศเป็นสำคัญ”  

แต่ทั้งนี้ เอกชนจำเป็นต้องตามสถานการณ์ทางการเมือง เพราะว่า การเมืองทำให้เกิดความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจ มันก็มีผลต่อความเสี่ยงทางธุรกิจ แต่ถามว่า กลุ่มธุรกิจหรือนักธุรกิจโดยส่วนใหญ่ที่ผมทำงานใกล้ชิดด้วย ผมไม่ได้ยินความห่วงใยเรื่องการเมืองมากมายนัก แต่การเมืองเป็นประเด็นที่เขาติดตาม

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงในส่วนของโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ และคนละครึ่ง เฟส 3  ซึ่งจะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. นี้ จะช่วยฉุดความมั่นใจของประชาชนขึ้นมาได้บ้างหรือไม่ นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ไม่ได้ครับ คือ มันฉุดมาได้บ้าง แต่ว่าวงจรของความเสียหายทางเศรษฐกิจมันสูง รัฐบาลเลือกการใช้คนละครึ่ง ซอยออกเป็น 2 ส่วน คือ ไตรมาสที่ 3 ให้คนละ 1,500 บาท เฉลี่ยเดือนละ 500 ซึ่งถือว่าน้อย และไตรมาส 4 ก็ให้คนละ 1,500 บาท เช่นกัน ตรงส่วนนี้ เอกชนเองโดยกกร. เองมองว่า มันน้อย ทำไมไม่เติมให้เป็น 6,000 บาท คือ ไตรมาสละ 3,000 บาท

หรือถ้าต้องการฟื้นเศรษฐกิจเร็ว ทำไมไม่ใส่ไป 4,500 บาทเลยในไตรมาสที่ 3 เพื่อจะได้ฟื้นเศรษฐกิจ แทนที่เงินมันจะหมุนแค่ประมาณ 4 หมื่นกว่าล้าน ก็หมุนไปประมาณ 1.3 แสนล้านบาท หรืออย่างน้อยก็ประมาณ 9 หมื่นกว่าล้านบาท  ดังนั้น รัฐบาลอาจจะมีข้อจำกัดของเงิน จึงทำให้ออกพ.ร.ก.เงินกู้ 5 แสนล้านบาท เพราะฉะนั้น ถ้าถามว่าวงเงินจากการใช้ คนละครึ่ง ถือว่าเป็นการใช้จ่ายที่เอาเงินของภาคเอกชนที่มีเงินออมอยู่แล้วครึ่งหนึ่งมาใช้จ่ายกับเงินของรัฐ เพราะฉะนั้น ถ้าอัดเข้าไป 3,000-4,500 บาท มันก็จะมีวงเงินหมุนในระบบเศรษฐกิจ เบ็ดเสร็จรวมประมาณ 2-3 แสนล้านบาท

ประเด็นต่อมา โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ คนลงทะเบียนน้อย เพระมันซ้ำซ้อน ไม่ตรงเป้า ทั้งนี้ เอกชนเสนอวิธีที่ตรงๆ และได้ผลมาแล้ว แต่ก็ต้องเข้าใจแนวคิดของรัฐว่า เขาทำได้หรือไม่ คือการเสนอแบบช้อปดีมีคืน

ช้อปดีมีคือ ตรงๆ คือใช้จ่าย แล้วก็ไปหักภาษีในส่วนเกิน เพราะกลุ่มคน 4 ล้านคนตามโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ เป็นกลุ่มคนที่มีรายได้เยอะ เนื่องจากว่ารัฐบาลไทยไม่ให้ทำสิทธิ  2 อันซ้อนกัน คือใครใช้คนละครึ่ง ก็ห้ามใช้สิทธิอื่น ใครใช้ยิ่งใช้ยิ่งได้ ก็ห้ามใช้สิทธิอื่น เพราะฉะนั้น ลองสังเกตบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นสิ่งที่ทำโครงการเพื่อคนมีรายได้น้อย คนละครึ่งมันอยู่หมวดเดียวกับเราชนะ คือให้คนมีรายได้ไม่มาก  แต่คนละครึ่งเติมให้คนมีรายได้ปานกลาง

อีกกลุ่มหนึ่งตามนโยบายรองนายกรัฐมนตรีที่ต้องการให้คนมีตังค์ ได้เข้ามาร่วมในการใช้จ่าย ก็เลยใช้ยิ่งใช้ยิ่งได้ แต่จริงๆ แล้ว ช้อปดีมีคืน มันตอบสนองตรง ซึ่งก็แน่นอน รัฐบาลบอกว่า จะเอาเงินจากยิ่งใช้ยิ่งได้ออกไปเกลี่ยให้โครงการอื่น เอกชนก็เคยเสนอไปก่อนหน้านี้แล้วว่า อยากให้เอาช้อปดีมีคืน มาปัดฝุ่น  ตอนนี้ก็คงจะแล้วแต่รัฐบาลว่าจะดำเนินการอย่างไร

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ทำไมไม่หานโยบายที่ลดค่าใช้จ่ายโดยตรง เช่น ลดอัตราภาษีเลย 1% หรือ 2% ประชาชนจะได้นำไปใช้จ่ายใช้สอย นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ต้องบอกว่าไม่ง่าย เพราะรัฐตั้งงบประมาณไว้ ภายใต้งบประมาณ รัฐบาลต้องตั้งเป้าหมายว่าจะเก็บภาษีได้เท่าไร เพราะฉะนั้น การที่รัฐบาลปิดหีบงบประมาณที่ผ่านสภาในวาระแรก ว่าจะมีนโยบายขาดดุล 7 แสนล้านบาท ถ้าไปกระทบกระเทือนต่อโรงสร้างภาษีมากๆ รัฐบาลก็จะเก็บภาษีไม่เข้าเป้า ซึ่งจะทำให้ปิดหีบงบประมาณไม่ลงตามที่เสนอ

อย่างไรก็ตาม ด้วยความเข้าใจรัฐว่า อย่างช้อปดีมีคืน มันไปออกในช่วงของถ้างบประมาณมันผ่านออกไปจากสภาแล้ว และปรากฎว่า ช้อปดีมีคืนไปผูกพันเกี่ยวกับการคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อัตราที่จ่ายเกินไป ตั้งแต่ 10% ถึง 35% รัฐบาลคงกังวลเรื่องรายได้ภาษีไม่ตรงเป้า เพราะฉะนั้น ถ้าไปปรับโครงสร้างภาษีให้เลย 1-2% อันนี้ยิ่งยาก เพราะจะไปกระทบโครงสร้างตรงของรายได้ภาษีไม่เป็นไปตามงบประมาณ ซึ่งจะทำให้วินัยทางการคลังหายไป

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

พ่อเลี้ยงหื่น! มอมเหล้าลูกเลี้ยง วัย 16 ปี จนขาดสติก่อน ลวนลาม ขณะแม่อยู่ด้วยก็ไม่เว้น เครียดหนักเคยคิดสั้นฆ่าตัวตาย สุดอึ้ง!! เอาเรื่องไปบอกแม่ กลับไม่เชื่อ
พล.ต.ท.ธนายุตม์ ยื่นสำนวนคดี “แอม ไซยาไนด์” ให้อัยการด้วยตัวเอง 14 รายการ
ราชกิจจาฯเผยแพร่ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้ชื่อใหม่ "เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี"
“แม่สามารถ” เครียดจัด ผูกคอคาห้องขังดีเอสไอ จนท.ช่วยระทึก ห่วงลูกจะอดข้าวประท้วง ขอความเป็นธรรม
เคราะห์ร้าย ! หนุ่มวัย 18 ปี ขี่จยย. ถูกกันสาดหล่นใส่หัวเจ็บสาหัส
ยูเครนลั่นไม่ทำลายทุ่นระเบิดอ้างถูกรัสเซียรุกราน
ผบ.ตร.สั่งตรวจสอบดำเนินคดี “กลุ่มน้ำไม่อาบ” ทุกมิติ พร้อมเอาผิดตามหลักฐานคลิปที่ปรากฏ
ขุนเขา ‘ฮว่าซาน’ ่ของจีนสวยสะกดยามห่มหิมะขาว
ทหารพรานจัดกำลังตรวจค้นเก็บกู้บ่วงดักสัตว์ป่า
ผลักดัน ! แรงงานต่างด้าวมากกว่า 100 ราย ออกนอกประเทศ หวั่นเกรงมาสร้างความวุ่นวายในพื้นที่

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น