ความผิดฐานทำลายล้างสภาพแวดล้อม Ecocide :

สุดสัปดาห์กับ "ปกรณ์ นิลประพันธ์" เลขาธิการกฤษฎีกา นำเสนอความเคลื่อนไหวนักกม.ต่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับกฎหมายใหม่ๆ เพื่อคุ้มครองความเป็นอยู่และชีวิตของของชาวโลก

ในขณะที่นักรัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism) สาละวนอยู่กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีนักกฎหมายระหว่างประเทศของบ้านอื่นเมืองอื่นกลุ่มหนึ่งที่เขาก้าวไปสู่ยุค Post-Constitutionalism กันแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป ก็กำลังคิดอ่านหารือประเด็นทางกฎหมายใหม่ ๆ เพื่อคุ้มครองความเป็นอยู่และชีวิตของของชาวโลกทั้งมวลอยู่

กลุ่มนักกฎหมายระหว่างประเทศที่ตอนนี้เป็นผู้นำในเรื่องนี้ คือ กลุ่ม Stop Ecocide Foundation

นักกฎหมายกลุ่มนี้เห็นพ้องต้องกันว่าการกระทำที่เป็น “การทำลายล้างสิ่งแวดล้อม” (Ecocide) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหรือ Climate change ซึ่งกระทบทุกคนในโลกสีฟ้าใบนี้ จึงเป็นการกระทำที่ยอมรับไม่ได้ และเห็นว่าผลของมันรุนแรงไม่แตกต่างไปจากการกระทำที่เป็นอาชญากรสงคราม (War crime) การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ (Crime against Humanity) ซ้ำร้ายจะรุนแรงกว่าอีก จึงต้องมีมาตรการจัดการกับการกระทำดังกล่าว ไม่งั้นทั้งมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นบนโลกคงจะต้องเผชิญกับหายนะภัยทั้งหลาย จนอาจถึงขั้นที่ว่าสูญพันธุ์กันหมดเป็นแน่

พวกเขาเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องใช้มาตรการทางกฎหมายอาญาระหว่างประเทศเป็นเครื่องมือในการป้องกันมิให้มีการทำลายล้างสภาพแวดล้อมของโลกมากไปกว่านี้ และได้ร่วมกันเสนอว่าสมควรเพิ่มการกระทำที่เป็นการทำลายล้างสิ่งแวดล้อม เป็นการกระทำความผิดอาญาที่ต้องขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court) เช่นเดียวกับความผิดฐานอาชญากรสงคราม การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ โดยเพิ่มความผิดฐาน Ecocide ไว้ใน Article 5 (1) ของ Rome Statute of International Criminal Court รวมทั้งบัญญัติรายละเอียดการกระทำความผิดดังกล่าวใน Article 8 ter ของ Rome Statute ด้วย

เขาเสนอนิยามของคำว่าการกระทำที่เป็นการทำลายล้างสิ่งแวดล้อม สรุปได้ว่า เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือทำให้เกิดความเสียหาย โดยผู้กระทำรู้ว่าการนั้นส่งผลผลกระทบต่อความยั่งยืนของสภาพแวดล้อม หรือทำให้สภาพแวดล้อมเสียหายหรือถูกทำลายอย่างกว้างขวางหรือเป็นระยะเวลายาวนาน โดยคำว่าสภาพแวดล้อมนี้หมายถึงโลกและชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก

อย่างไรก็ดี การผลักดันความคิดริเริ่มนี้ให้ประสบความสำเร็จคงต้องใช้เวลาอีกพอสมควร เพราะต้องผ่านด่านหินในการแก้ไขเพิ่มเติม Rome Statute ซึ่งแน่นอนว่าการเมืองระหว่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของความคิดริเริ่มเพื่อคุ้มครองมวลมนุษยชาติ

เห็นเป็นเรื่องที่น่าสนใจจึงนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

ใครสนใจลองติดตามดู

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อุตุฯ" เผย "เหนือ-อีสาน-กลาง" อากาศเย็นตอนเช้า เตือนใต้ยังรับมือฝนตก
แม่ทัพภาคที่ 2 ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครอบครัวกำลังพล ห่วงใยไปถึงบ้าน เพราะเราคือครอบครัวกองทัพบก
สวนนงนุชพัทยาเปิดเวที CHONBURI PROUD EXPO 2024 หนุน SMEs ชลบุรีสู่ตลาดโลก
“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น