"บัตรทองหาย" ต้องทำยังไง สามารถทำใหม่ได้ไหม มีขั้นตอนอะไรบ้าง แล้วสามารถรักษาได้ตามปกติไหม? มีคำตอบแล้วที่นี่
ข่าวที่น่าสนใจ
“บัตรทองหาย” ต้องทำยังไง? ดูเป็นเรื่องใหญ่ไม่ใช่น้อย เชื่อว่าหลายคนต้องกังวลแน่ ๆ จะสามารถใช้สิทธิรักษาฟรีได้ไหม? ล่าสุด สปสช. ไม่รอช้า พร้อมคลายข้อสงสัยประชาชน เผยแนวทางแก้ไข หากเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น โดยระบุว่า
ประชาชนสามารถรักษาตามโรงพยาบาลตามสิทธิได้ตามปกติ
- เนื่องจาก ปัจจุบัน มีนโยบายอำนวยความสะดวกประชาชนด้วยการใช้บัตรประจำตัวประชาชน ใบเดียว สามารถเข้ารับการรักษาได้เลย
- หากเป็นเด็ก สามารถใช้สูติบัตรแทนบัตรทอง รับการรักษาที่หน่วยบริการหรือสถานพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ทุกแห่ง
- ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ กทม. และคลินิกเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ หรือสถานพยาบาลตามสิทธิที่ไปรักษาเป็นประจำ
หาก “บัตรทองหาย” ต้องการต้องใหม่ สามารถทำได้ผ่าน 3 ช่องทาง
- สมัครด้วยตนเองได้ที่ สำนักงานเขต กทม. (19 เขต), สปสช. เขตพื้นที่ 1-13, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, โรงพยาบาลของรัฐ ตรวจสอบสถานพยาบาลบัตรทองใกล้บ้าน : คลิกที่นี่
- โทรสายด่วน สปสช. 1330 จากนั้นกด 2 ตามด้วยหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และเครื่องหมาย #
- ผ่าน Application สปสช. (IOS : คลิกที่นี่ / Android : คลิกที่นี่)
- ผ่าน LINE Official Account สปสช. ค้นหา Line ID @nhso หรือคลิกที่นี่
- ติดต่อผ่านเว็บไซต์สปสช. : คลิกที่นี่ เลือกเข้าเมนูประชาชน, เลือกหัวข้อ, ตรวจสอบสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ คลิกที่นี่
นอกจากนี้ บัตรทอง ยังเพิ่มบริการใหม่ ดังนี้
- เจ็บป่วยรักษากับหมอประจำครอบครัวในหน่วยบริการปฐมภูมิไหนก็ได้ นำร่องใน จ.ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา อุบลราชธานี และ กทม.
- โรคมะเร็งรับบริการที่ไหนก็ได้ ดำเนินการทั่วประเทศ
- ย้ายหน่วยบริการได้สิทธิทันที ไม่ต้องรอ 15 วัน ดำเนินการทั่วประเทศ
- ผู้ป่วยในไม่ต้องกลับไปรับใบส่งตัว นำร่องใน จ.นครราชสีมา และ กทม.
พร้อมตั้งเป้าปี 2565 จะขยายบริการให้ผู้ป่วยในไม่ต้องกลับไปรับใบส่งตัวได้ทั่วประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยและญาติ ในกรณีเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินจำเป็นต้องเข้ารับบริการจากหน่วยบริการอื่น
ข้อมูล : สปสช.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง