"ฝีดาษลิง" monkeypox หรือ ไข้ทรพิษลิง คืออะไร มีอาการอย่างไรบ้าง อันตรายแค่ไหน? หลังอังกฤษยืนยันพบผู้ติดเชื้อแล้ว 7 ราย
ข่าวที่น่าสนใจ
เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา สำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพแห่งสหราชอาณาจักร (The UK Health Security Agency : UKHSA) ยืนยัน พบผู้ติดเชื้อโรคฝีดาษ ลิงพบผู้ติดเชื้อ 7 ในอังกฤษ พร้อมแจ้งว่า หากพบผื่นหรือรอยโรคตามร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศ ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในทันที
UKHSA กล่าวว่า “ผื่นอาจเกิดขึ้นได้ โดยส่วนใหญ่มักเริ่มที่ใบหน้า จากนั้นจึงลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย รวมทั้งอวัยวะเพศ หลังจากนั้นผื่นจะเปลี่ยนไปและผ่านระยะต่าง ๆ อาจคล้ายอีสุกอีใสหรือซิฟิลิส ก่อนที่จะกลายเป็นสะเก็ด ก่อนจะหลุดไปเอง ผู้ป่วยส่วนใหญ่ฟื้นตัวจากโรคฝีดาษในไม่กี่สัปดาห์”
โรคฝีดาษ ลิง (Monkeypox) คืออะไร?
- เป็นเชื้อไวรัสที่มักพบในแอฟริกากลางและตะวันตก ส่วนใหญ่มาจากการแพร่กระจายโดยสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะหลายชนิด เช่น หนู กระรอก กระต่าย เป็นต้น สัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงรวมทั้งคนก็อาจติดเชื้อได้
- สามารถแบ่งได้ 2 รูปแบบ ได้แก่
– สายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก : มีอาการรุนแรงต่ำ
– สายพันธุ์แอฟริกาหรือสายพันธุ์คองโก : รุนแรงกว่าสายพันธ์ุแรก
- ก่อนหน้านี้ อังกฤษเคยพบผู้ติดเชื้อไวรัสนี้ครั้งแรกในปี 2018 มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ได้รับการวินิจฉัยในสหราชอาณาจักร โดยบันทึกครั้งแรกในปี 2018 ในความคิดของแต่ละคนว่าติดเชื้อไวรัสในไนจีเรีย สันนิษฐานว่ามีการติดเชื้อไวรัสจากผู้เดินทางกลับมาจากประเทศในไนจีเรีย
- ปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนสำหรับการรักษาโรคนี้โดยตรง แต่วัคซีนฝีดาษสามารถใช้ในการรักษาได้
โรคฝีดาษ ลิง ติดต่อทางไหน
- แพร่กระจายจากคนสู่คนได้ค่อนข้างยาก ต้องอาศัยการใกล้ชิดกัน
- ตามรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา สันนิษฐานว่า การติดเชื้อคนสู่คนส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากละอองทางเดินหายใจ ซึ่ง CDC กล่าวว่า “ละอองทางเดินหายใจโดยทั่วไปไม่สามารถเดินทางได้ไกลกว่า 2-3 ฟุต ดังนั้น จึงจำเป็นต้องอยู่ใกล้ชิดกันเป็นเวลานาน ซึ่งรวมถึงการสัมผัสโดยตรงกับของเหลวในร่างกาย และสิ่งของเครื่องใช้ที่มีการปนเปื้อน”
- นอกจากนี้ ยังสามารถติดเชื้อได้จากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง ไอ หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ
- รวมไปถึงการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัด หรือการกินเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ เป็นต้น
อาการ
- ผู้ป่วยจะแสดงอาการของโรคหลังติดเชื้อประมาณ 12 วัน
- มีไข้ หนาวสั่น ปวดหัว
- เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต
- ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง และอ่อนเพลีย
- จากนั้นประมาณ 1-3 วัน จะมีผื่นขึ้นบริเวณแขนขา และอาจจะเกิดบนหน้าและลำตัวได้ด้วย
- ผื่นจะกลายเป็นตุ่มหนอง
- ในระยะสุดท้ายตุ่มหนองจะเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออกมา
- อาการป่วยประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคเองได้
- อัตราตายของโรคพบสูงสุดในกลุ่มเด็กเล็ก ซึ่งอาจสูงถึงร้อยละ 10
ศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้อและพาหะนำโรค เผยข้อมูลการรักษาผู้ป่วยของประเทศซาอีร์ในขณะนี้ แสดงถึงรูปแบบใหม่ของโรค monkeypox ซึ่งมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไป กระทรวงสาธารณสุขของซาอีร์ จึงได้ร่วมกับองค์การอนามัยโลก ตรวจสอบรายละเอียดการระบาดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2540
- พบอัตราการแพร่เชื้อในครัวเรือนค่อนข้างต่ำ = การติดต่อจากคนสู่คนเกิดขึ้นได้น้อยมาก และการระบาดมักจะหยุดไปเอง หลังจากมีการแพร่ติดต่อไปยังคนอื่น ๆ เป็นลูกโซ่อีก 1-2 รุ่น เท่านั้น
- สัดส่วนของผู้ป่วยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป (27%) มีมากกว่ารายงานที่ผ่านมา (8%) ซึ่งการระบาดในอดีตมักพบในเด็กเล็กมากกว่า
การแพร่ระบาดดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม โดยผู้ป่วยเพิ่งเดินทางไปไนจีเรีย สัปดาห์ต่อมา มีรายงานพบผู้ป่วยอีก 2 ราย อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน และเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา มีรายงานพบผู้ติดเชื้อเพิ่มอีก 4 ราย ในลอนดอน 3 ราย และทางตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ 1 ราย โดยทั้ง 4 เคสนี้ ไม่เชื่อมโยงกับกรณีก่อนหน้านี้ สันนิษฐานว่าติดต่อจากเพศสัมพันธ์
ด้านดร.ไมเคิล เฮด นักวิจัยอาวุโสด้านสาธารณสุขระดับโลกที่มหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตัน กล่าวว่า เคสล่าสุดอาจเป็นการแพร่ระบาดของ “ฝีดาษ ลิง” ครั้งแรก ที่มีการบันทึกไว้ว่าติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่ยังไม่ได้รับการยืนยัน และไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็มีความเป็นไปได้
การควบคุมและป้องกันโรค
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ
- หรือการกินเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ
- ใช้สบู่หรือเจลทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ล้างมือเสมอ
- ไม่สัมผัสเสื้อผ้า สิ่งของ และเครื่องนอนของผู้อื่น
- การฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษจะสามารถป้องกันโรคฝีดาษ ลิงได้ประมาณร้อยละ 85 ก่อนหน้าที่จะกวาดล้างไข้ทรพิษได้นั้น มีการฉีดวัคซีนหรือที่เรียกกันว่าการปลูกฝี ซึ่งจะช่วยป้องกันทั้งสองโรคนี้ได้
- อย่างไรก็ตาม เด็กที่เกิดหลังปี พ.ศ. 2523 ซึ่งไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษมาก่อน จะเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อโรคฝีดาษลิงมากกว่าประชากรกลุ่มอื่น ๆ
ข้อมูล : theguardian, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข และ ศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้อและพาหะนำโรค
ข่าวที่เกี่ยวข้อง