รมว.สุชาติ ร่วมเวทีถามมา – ตอบไปฯ เปิดมาตรการ ลดเหลื่อมล้ำ ยกระดับสวัสดิการ ลดหนี้ครัวเรือน ดูแลแรงงานรับเศรษฐกิจใหม่หลังโควิด

รมว.สุชาติ ร่วมเวทีถามมา – ตอบไปฯ เปิดมาตรการ ลดเหลื่อมล้ำ ยกระดับสวัสดิการ ลดหนี้ครัวเรือน ดูแลแรงงานรับเศรษฐกิจใหม่หลังโควิด

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นวิทยากรร่วมเสวนาในหัวข้อ “ลดความเหลื่อมล้ำ ยกระดับสวัสดิการ”หนี้ครัวเรือน แรงงาน ภายใต้การประชุมเสวนา “Better Thailand Open Dialogue ถามมา – ตอบไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม” โดยมี นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุทธิ สุโกศล ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมด้วย ณ รอยัล พารากอน ฮอล์ สยามพารากอน ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

นายสุชาติ ได้กล่าวถึงมาตรการช่วยเหลือแรงงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ได้มีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงานทุกคนที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งผู้ประกอบการต่อสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้มีมาตรการรักษา เยียวยา ฟื้นฟู และบริหารจัดการแรงงาน

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ทั้งแรงงานในระบบและนอกระบบ เพื่อเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย รักษาและกระตุ้นการจ้างงาน ให้พี่น้องผู้ใช้แรงงานสามารถมีงานทำ มีอาชีพ มีรายได้ และนายจ้างสามารถประกอบธุรกิจและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไปได้ ผ่านโครงการต่าง ๆ ได้แก่ การใช้เงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเยียวยาลูกจ้างที่ไม่ได้รับเงินตามกฎหมาย คณะกรรมการกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานปล่อยกู้ให้สหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการและในรัฐวิสาหกิจเพื่อนำไปปล่อยกู้ต่อให้กับแรงงานที่เป็นสมาชิก เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย ปรับเพิ่มประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานถูกเลิกจ้าง ลาออก สิ้นสุดสัญญาจ้าง ปล่อยสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานแก่สถานประกอบการ โครงการ ม33 เรารักกัน โครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตน เปิดจุดตรวจโควิด – 19 เปิดสายด่วน 1506 กด 6 ประสานจัดหาเตียง Hospitel ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด – 19 ผู้ใช้แรงงาน โครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน ลดอัตราเงินสมทบแก่ผู้ประกันตนมาตรา 33 ,39,40 เยียวยาผู้ประกันตนในกิจการสถานบันเทิง และผู้ประกอบการอาชีพอิสระที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสถานบันเทิงที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ โครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs โครงการ Factory Sandbox บริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงาน ส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในสถานประกอบกิจการ เป็นต้น

นายสุชาติ กล่าวต่อว่า กระทรวงแรงงานยังมีการบริหารจัดการให้แรงงานนอกระบบได้รับการคุ้มครอง และการพัฒนาสมรรถนะแรงงาน เพื่อรองรับตลาดแรงงานในปัจจุบันและอนาคต โดยได้เสนอ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่แรงงานนอกระบบให้สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการประกอบอาชีพ ได้รับการคุ้มครอง มีหลักประกันทางสังคม และรวมกลุ่มจัดตั้งองค์กรได้ การปรับปรุงกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน เป็นกองทุนแรงงานนอกระบบเพื่อให้แรงงานได้มีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น ในด้านการส่งเสริมการมีงานทำได้เตรียมตำแหน่งงานว่างทั้งในประเทศและต่างประเทศเกือบ 3 แสนอัตรา ผ่านแพลตฟอร์มแอพพลิเคชั่นไทยมีงานทำ พร้อมพบปะผู้นายจ้างประกอบการเพื่อรักษาตลาดเดิม ขยายตลาดแรงงานใหม่จัดส่งคนไทยไปทำงานไปยังต่างประเทศมากขึ้น อาทิ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และซาอุดีอาระเบีย

 

 

 

ในด้านการพัฒนาสมรรถนะแรงงาน ได้ยกระดับและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน Up Skill Re – Skill และ New –Skill ฝึกอบรมการประกอบอาชีพผ่านระบบออนไลน์ การจัดหาแรงงานและพัฒนาทักษะแรงงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานยังได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคมตามแนวทางแผนการปฏิรูปประกันสังคม เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่างๆ แก่ผู้ประกันตนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนมีสิทธิเลือกรับบำเหน็จ บำนาญชราภาพ เป็นหลักประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงินได้ และนำเงินกรณีชราภาพที่ตนเองสมทบอยู่ในกองทุนประกันสังคมออกมาใช้ก่อนบางส่วนได้ ตลอดจนรองรับสังคมผู้สูงอายุอีกด้วย

“กระทรวงแรงงาน มุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานในทุกมิติ ด้วยการพัฒนาสมรรถนะแรงงานให้มีทักษะฝีมือที่สูงขึ้น มีงานทำ มีอาชีพ มีรายได้ที่เหมาะสม ได้รับความคุ้มครอง มีหลักประกันทางสังคม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี รองรับการเติบโตของระบบเศรษฐกิจใหม่และสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศและนโยบายเปิดประเทศฟื้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ภายหลังโควิดคลี่คลาย”นายสุชาติ กล่าวท้ายสุด

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น