“ฝีดาษลิง” ศูนย์จีโนมฯ ถอดรหัสพันธุกรรมไวรัส หวังใช้ในการป้องกันเชื้อ พัฒนาวัคซีน และติดตามการระบาด คาดสามารถพัฒนาชุดตรวจเสร็จใน 2 สัปดาห์ ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News
ข่าวที่น่าสนใจ
เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคมที่ผ่านมา ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) ได้โพสต์บนเพจ Facebook โดนระบุว่า การถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของไวรัสก่อโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) ช่วยบ่งชี้ว่า เป็นไวรัสสายพันธุ์ใด เหมือนหรือต่างจากสายพันธุ์ที่เคยระบาดในอดีต ที่กำลังระบาดในปัจจุบัน และอาจกลายพันธุ์แพร่ระบาดได้ในอนาคต
สามารถนำข้อมูลจีโนมไปใช้ในการป้องกัน เช่น
การตรวจวินิจฉัยไวรัสทางห้องปฏิบัติการด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ พร้อมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในการถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสจากสิ่งส่งตรวจ เพื่อเลดค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองตัวอย่างจำนวนมากหากมีการระบาดใหญ่ของไวรัสในอนาคต ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ จึงพัฒนาการตรวจสอบ 40 ตำแหน่งบนจีโนม (massarray genotyping) ของไวรัส (เพื่อป้องกันผลบวกและผลลบปลอม) ใช้เวลาในการพัฒนาประมาณ 2 สัปดาห์ เมื่อแล้วเสร็จสามารถตรวจคัดกรองไวรัสก่อโรคฝีดาษลิงได้ภายใน 48 ชั่วโมง
การพัฒนาการตรวจจีโนมของไวรัส 40 ตำแหน่งนี้ เป็นทั้งงานวิจัยและการดำเนินการเพื่อปิดช่องว่าง(ชั่วคราว)ในขณะที่ยังไม่มีชุดตรวจ PCR ต่อไวรัสผ่าน อย. เป็นการดำเนินการอยู่เฉพาะที่ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ เท่านั้น มิได้มีการผลิตเป็นชุดน้ำยาออกจำหน่ายเชิงพาณิชย์แต่ประการใด
ในช่วง 3 วันที่ผ่านมา มีรายงานจาก WHO พบผู้ติดเชื้อที่ยืนยันจากผลแลปในห้องปฏิบัติการ และผู้ต้องสงสัยติดเชื้อมากกว่า 100 ราย จาก 12 ประเทศ ได้แก่
และยังไม่คำตอบที่ชัดเจนว่าทำไมถึงมีการระบาดของโรคในหลายประเทศทั่วโลกพร้อมกันในขณะนี้ พบเพียงว่าจากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของไวรัสที่พบในโปรตุเกสและเบลเยียมในเดือนพฤษภาคม 2565 ปรากฏว่า เป็นสายพันธุ์จากแอฟริกาตะวันตก และมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับไวรัสฝีดาษลิงที่เคยแพร่ระบาดจากประเทศไนจีเรียมายังหลายประเทศในยุโรประหว่างปี 2561 และ 2562 ได้แก่
ขณะนี้มีวัคซีนและย้าต้านไวรัสที่คาดว่าใช้ป้องกันและรักษาโรคได้ แต่อาจต้องประเมินผลอีกครั้งจากการใช้จริงในปัจจุบัน
โรคฝีดาษ ลิงหรือโรคไข้ทรพิษลิง (Monkeypox) เกิดจากอะไร
– สายพันธุ์คองโก : รุนแรงกว่า มีผู้เสียชีวิตมากถึง 10 เปอร์เซ็นต์
– สายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก : มีอัตราการเสียชีวิต 1 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่หายเองได้
ฝีดาษ ลิง ติดต่อยังไง?
ความแตกต่างระหว่างโควิดกับฝีดาษ ลิง
หากสงสัยว่ามีการระบาดของโรคในประเทศเป็นจำนวนมาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถทำการสวอปน้ำลาย ส่วนน้ำหรือหนองจากตุ่มแผล ลงในน้ำยาฆ่าจุลชีพและไวรัส (inactivated transport medium) ส่งมายังศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ เพื่อให้ร่วมด้วยช่วยกันถอดรหัสพันธุกรรม
ในระยะแรกที่ยังไม่มีชุดตรวจ PCR แพร่หลาย ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์สามารถร่วมถอดรหัสพันธุกรรมด้วยเทคโนโลยี long-read nanopore sequencingในลักษณะของ shortgun metagenomic sequencing กล่าวคือ ไม่จำเป็นต้องทราบว่าในสิ่งส่งตรวจมีจุลชีพหรือไวรัสประเภทใดได้สำเร็จภายในเวลา 48 ชั่วโมง หากใช้ชิพ (flow cell) ขนาดเล็กในการถอดรหัสพันธุกรรม จะสามารถถอดรหัสพันธุกรรมได้ประมาณ 20 ตัวอย่างต่อชิพ
แต่หากใช้ชิพใหญ่ในการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม จะสามารถตรวจสอบหรือถอดรหัสพันธุกรรมได้มากกว่า 4,000 ตัวอย่างต่อชิพ ผลลัพธ์ที่ได้จะทราบว่ามีจุลชีพหรือไวรัสประเภทใดบ้าง และจำนวนเท่าไรในตัวอย่างส่งตรวจนั้น ๆ
ล่าสุด มีการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของไวรัสในโปรตุเกสและเบลเยียมได้สำเร็จ ซึ่งทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯได้ใช้รหัสพันธุกรรมดังกล่าวเป็นพิมพ์เขียวในการสร้างชุดตรวจจีโนมไวรัส 40 ตำแหน่งพร้อมกัน เพื่อป้องกันการเกิดผลบวก หรือผลลบปลอม (ต่างจาก PCR ซึ่งตรวจจีโนมได้ 1-2 ตำแหน่ง) ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 24 ชั่วโมง ด้วยเทคโนโลยี Massarray genotyping สามารถตรวจได้ 100 ตัวอย่างต่อวัน
ด้วยต้นทุนการตรวจต่ำกว่าการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม โดยมีค่าใช้จ่ายและระยะเวลาที่ใช้ตรวจไม่ต่างจากการตรวจ PCR ที่ใช้ตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ คาดว่าจะสามารถพัฒนาชุดตรวจด้วยเทคโนโลยี Massarray genotyping ได้แล้วเสร็จในอีกประมาณ 2 สัปดาห์จากนี้
ข้อมูล : Center for Medical Genomics
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวล่าสุด
เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น