ลุ้นรมว.คลัง ถกผลสอบท่อส่งน้ำ EEC “ธนารักษ์” เสี่ยงค่าโง่ไม่รอศาลพิพากษา

ลุ้นรมว.คลัง ถกผลสอบท่อส่งน้ำ EEC "ธนารักษ์" เสี่ยงค่าโง่ไม่รอศาลพิพากษา

ยังคงต้องรอบทสรุป สำหรับการ “ประมูลโครงการท่อส่งน้ำ EEC” มูลค่ากว่า 2.5 หมื่นล้านบาท หลังจากเมื่อวันที่ 9 พ.ค.2565 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง ลงนามคำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ 883/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการบริหารจัดการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก และมีการรายงานผลการดำเนินการให้กระทรวงการคลังทราบ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 ตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม สั่งการให้ชะลอการเซ็นสัญญาเพื่อดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง และป้องกันเหตุที่อาจทำให้ประเทศเสียค่าโง่ เนื่องจากโครงการดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนการฟ้องร้องต่อศาลปกครอง

ซึ่งการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงชุดดังกล่าวนั้น หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า เหมาะสมหรือไม่ที่ตั้งคนในกระทรวงการคลัง ตรวจสอบกันเอง อีกทั้งยังปรากฎรายชื่อข้าราชการกรมธนารักษ์ ร่วมในคณะกรรมการฯ ด้วย

และเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 65 นายไชยา พรหมา ส.ส.หนองบัวลำภู พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎ ก็ได้ทำหนังสือด่วนที่สุดถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เสนอให้คัดเลือกเอกชนโครงการท่อส่งน้ำอีอีซีใหม่ ด้วยวิธีการประมูล เพื่อความโปร่งใส เปิดกว้าง ตรวจสอบได้ เหตุที่ผ่านมาทำทีโออาร์ไม่สมบูรณ์

ข่าวที่น่าสนใจ

ล่าสุด วันที่ 23 พ.ค.65 นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวถึงเรื่องกรณีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการบริหารจัดการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก ว่า ขณะนี้ได้ข้อสรุปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และมีการส่งรายงานทั้งหมดให้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พิจารณาเรียบร้อยแล้ว

ขั้นตอนต่อจากนี้ อยู่ระหว่างการรอคำสั่งจาก นายอาคม ว่าจะให้ดำเนินการอย่างไรต่อไป หากรมว.คลัง พิจารณาแล้วเห็นชอบให้ดำเนินการต่อ กรมธนารักษ์ก็จะดำเนินการตามคำสั่งของรัฐมนตรี

นายประภาศ กล่าวว่า ประเด็นสำคัญของการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการฯ ชุดดังกล่าว คือ
– ดูขั้นตอนการประมูลและการคัดเลือกผู้ชนะการประมูลว่า ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

– มีประเด็นรองที่คณะกรรมการฯ ต้องตรวจสอบเบื้องต้น คือ เรื่องการเสียภาษีของผู้รับสัมปทานรายเดิม คือ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) EASTW หรือ อีสท์ วอเตอร์ ว่าการได้รับรายได้จากการส่งน้ำที่ผ่านมา มีการเสียภาษีที่ถูกต้องหรือไม่

ส่วนสาเหตุที่คณะกรรมการฯ ต้องสอบประเด็นเรื่องภาษีด้วย เนื่องจากก่อนตั้งคณะกรรมการฯ ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ส่งหนังสือมายังกรมธนารักษ์ เพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม หลังจากที่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อร้องเรียน ว่า บริษัท อีสท์ วอเตอร์ อาจมีการนำส่งรายได้ให้กรมธนารักษ์ไม่ถูกต้อง และอาจมีการหลีกเลี่ยงภาษีอากร จึงได้ให้อำนาจคณะกรรมการชุดนี้ตรวจสอบเรื่องนี้รวมถึงได้มีการลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงในเบื้องต้นแล้ว

อย่างไรก็ตาม นายประภาศ กล่าวว่า ประเด็นนี้ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และเป็นเรื่องเชิงลึก ซึ่งการจะตรวจสอบให้เกิดความกระจ่างอย่างแท้จริง ต้องเป็นหน้าที่ของดีเอสไอที่จะร่วมมือกับกรมสรรพากร ในการดำเนินการตรวจสอบต่อไป เบื้องต้นทราบว่าทั้ง 2 หน่วยงาน กำลังดำเนินการตรวจสอบประเด็นดังกล่าวอยู่

 

ทั้งนี้ นายประภาศ ยังคงยืนยันว่า การประมูลครั้งนี้ถูกต้องตามกฎหมายทุกขั้นตอน และมีความโปร่งใส รวมทั้งก็ยังมีการตรวจสอบจากองค์กรภายนอก ทั้งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) อยู่ด้วย

ส่วนการเซ็นสัญญากับบริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด หรือไม่นั้น นายประภาศ ยืนยัน จะต้องรอคำสั่งจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรงงการคลัง ว่ามีความเห็นอย่างไร หากไม่มีคำสั่งให้ตรวจสอบอะไรเพิ่มเติม ก็ให้เป็นหน้าที่ของกรมธนารักษ์ในการเดินหน้าเซ็นสัญญาต่อไป เพราะหากไม่ดำเนินการก็จะกลายเป็นละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากการประมูลดำเนินการอย่างถูกต้อง

ส่วนเหตุผลที่จะไม่เซ็นสัญญากับบริษัท วงศ์สยามก่อสร้าง นายประภาศ กล่าวว่า มีเพียง 2 เรื่องเท่านั้น คือ
1. คำพิพากษาของศาลฯ ออกมาว่าไม่ให้เซ็น
2. ศาลมีการสั่งคุ้มครองชั่วคราวเป็นการเร่งด่วน แต่ที่ผ่านมา ผู้ที่แพ้การประมูลได้ยื่นเรื่องของคุ้มครองกับศาลถึง 3 ครั้งแล้ว โดย 2 ครั้งศาลยกคำร้อง และอีกครั้งคือไม่รับคำร้อง ซึ่งหากให้รอคำพิพากษาของศาลปกครอง ซึ่งไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ ก็จะทำให้ไม่สามารถดำเนินการใดๆได้

ส่วนประเด็นที่ฝ่ายค้านจะนำประเด็นเรื่องการประมูลท่อส่งน้ำ EEC ไปอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม มองว่า เป็นเรื่องปกติ เพราะเป็นประเด็นทางการเมือง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกรมฯ โดยกรมธนารักษ์จะมีหน้าที่เพียงส่งข้อมูลให้กับผู้บริหารและฝ่ายการเมืองในการชี้แจงฝ่ายค้านหากมีการอภิปรายในประเด็นนี้

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ทีมข่าว TOPNEWS ได้ติดตามบทสรุปเรื่องนี้ กับรมว.คลัง มาอย่างต่อเนื่อง หากมีความคืบหน้าอย่างไร ก็จะมารายงานให้ทราบต่อไป

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เจพาร์ค ศรีราชา” จัดพิธีอัญเชิญเทพเจ้าโอคุนินุชิ ประทับในศาลเจ้าโอคุนิ ศาลเจ้าชินโตแห่งที่สามของประเทศไทย
ก้าวสู่ปีที่ 5 Future Food Leader Summit 2025 ชวนสร้างไอเดีย บนแนวคิด “อาหารฟื้นฟูเพื่ออนาคต” เปิดตัว Future Food AI ครั้งแรกในเอเชีย
TIPH คว้าอันดับเครดิตองค์กรสูงสุดของกลุ่มโฮลดิ้งส์ ตอกย้ำศักยภาพผ่านการประเมินจากทริสเรทติ้ง
"บิ๊กเต่า" เตรียมส่งทีมสอบ "บอสพอล" ปมเส้นเงิน 8 แสน โยงแม่นักการเมือง ส.
"วราวุธ" ขออย่านำ "เกาะกูด" เป็นประเด็นการเมืองระหว่างประเทศ ชี้ MOU 44 ไม่เกี่ยวข้อกังวลทุกฝ่าย
แม่ค้าขนมครกโอดยอมกัดฟันสู้ หลังราคาน้ำกะทิขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 100 บาทแต่ยันขายขนมครกราคาเดิมกลัวลูกค้าหด
"นายกฯ" เผย ครม.อนุมัติ 2.5 พันล้าน ฟื้นฟูเกษตรกร หลังน้ำลด
หนุ่มขับรถกระบะไปส่งหมู หลับในขับรถพุ่งชนฟุตบาท พลิกคว่ำตีลังกาชนเสาไฟ ดับคารถพร้อมเพื่อนต่างด้าวที่นั่งมาด้วยกันเสียชีวิต 2 ศพ
ครม.ตั้ง “บิ๊กรอย” นั่งที่ปรึกษาภูมิธรรม “คารม-ศศิกานต์” เป็นรองโฆษกรบ.
พบแล้ว "สุสานหรู" ถูก "ซินแส" ใช้ลวงเหยื่อ ซื้อที่ดินต่อดวงชะตาชีวิต ก่อนสูญเงินกว่า 30 ล้านบาท

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น