“ประกันสังคม” ออกจากงานมากกว่า 1 ครั้งภายใน 1 ปี ได้เงินไหม

ประกันสังคม

"ประกันสังคม" หากผู้ประกันตนลาออกหรือถูกเลิกจ้างมากกว่า 1 ครั้งภายใน 1 ปี ยังมีสิทธิได้รับเงินทดแทนไหม เช็คคำตอบได้ที่นี่ TOP News

“ประกันสังคม” เงินชดเชยประกันสังคม กรณีลาออก 2565 เป็นอีกหนึ่งข้อสงสัยที่ใครหลายคนอยากทราบคำตอบที่แท้จริงอยู่ไม่น้อย หากผู้ประกันตนลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้างมากกว่า 1 ครั้งภายใน 1 ปี ยังมีสิทธิได้รับเงินทดแทนไหม งานนี้ทางด้าน สำนักงานประกันสังคม ออกมาชี้แจงแล้ว ดูได้ที่นี่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ในปัจจุบันยุคเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แบบนี้ อาจทำให้ใครหลายคนมีสิทธิ์ลาออกจากงาน หรือถูกเลิกจ้างมากกว่า 1 ครั้ง และเหตุนี้เองก็อาจเกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่าจะสามารถได้รับเงินทดแทน เงินชดเชยอยู่หรือไม่ ซึ่งทางด้านเพจเฟซบุ๊ก สำนักงาน ประกัน สังคม กระทรวงแรงงาน ก็เคยออกมาประชาสัมพันธ์ถึงเรื่องราวนี้ว่า

 

  • ออกจากงานมากกว่า 1 ครั้งภายใน 1 ปี จะยังมีสิทธิได้รับเงินทดแทนไหม ?

ผู้ประกันตนที่ลาออกหรือถูกเลิกจ้างมีสิทธิได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงานจาก ประกัน สังคม หากจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงาน และมีระยะเวลาการว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป ทั้งนี้ในกรณีที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออกมากกว่า 1 ครั้งภายใน 1 ปี ก็ถือว่ายังมีสิทธิได้รับเงินทดแทนทุกครั้ง โดยผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้างจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนรวมกันไม่เกิน 180 วัน ส่วนกรณีลาออกจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนรวมกันไม่เกิน 90 วัน

 

 

ประกันสังคม

 

 

 

นอกจากนั้นล่าสุด ยังเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ ให้อีกด้วย ได้แก่

  • การขยายความคุ้มครองให้กับผู้ประกันตนเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ

โดยขยายอายุขั้นสูงของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ให้ผู้รับเงินบำนาญชราภาพสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนได้ ให้ผู้รับเงินบำนาญชราภาพสามารถขอรับเงินบำนาญจ่ายล่วงหน้าได้

  • การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพอันเกิดจากข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน

เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประกันตน โดยกำหนดให้ผู้ประกันตนสามารถเลือกรับเงินบำเหน็จหรือเงินบำนาญชราภาพได้ (ขอเลือก) ในกรณีเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ สาธารณภัย หรือเหตุการณ์อื่นใดอันส่งผลกระทบต่อผู้ประกันตน ก็สามารถนำเงินสะสมกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อนได้ (ขอคืน) และการนำเงินสะสมกรณีชราภาพไปเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินได้ (ขอกู้)

  • การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์อื่นๆ ได้แก่

เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรจากเดิมจ่าย 90 วัน เป็น 98 วัน เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพจากเดิมจ่ายร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 70 กรณีสงเคราะห์บุตรให้ได้รับการคุ้มครองต่อไปอีก 6 เดือน นับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน

 

 

ประกันสังคม

 

 

  • ปรับปรุงเงื่อนไขในการสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39

และกำหนดให้เงินเพิ่มของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะต้องไม่เกินเงินสมทบที่ต้องจ่าย

  • แก้ไขเพิ่มเติมในส่วนของบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการ

ทั้งในส่วนของการได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน การกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม วาระการดำรงตำแหน่ง เพิ่มเติมอำนาจของคณะกรรมการในการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ รวมทั้งการบริหารจัดการพนักงานและลูกจ้าง

  • การแก้ไขมาตรการการลงโทษทางอาญาแก่นายจ้าง

เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะความผิดที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ‘การปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ.ประกัน สังคม ในครั้งนี้ จะเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้ผู้ประกันตนได้มีหลักประกันทางสังคมและได้รับสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบ ประกัน สังคม ที่มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสการเข้าถึงบริการจากภาครัฐ รวมทั้งเป็นการจัดรัฐสวัสดิการที่เหมาะสมรองรับสังคมสูงอายุอีกด้วย’

 

 

 

ประกันสังคม

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น