“ฝีดาษลิง” ย้อนรอย 19 ปี โรคอุบัติใหม่ โอกาสระบาดใหญ่น้อยมาก

"ฝีดาษลิง" ในคน โรคนี้ไม่ใช่โรคใหม่ เคยระบาดในแอฟริกาแล้วเข้าสู่อเมริกา หมอยง ย้อนรอย บทความทางวิชาการที่เคยเขียนไว้เป็นเวลาเกือบถึง 20 ปีแล้ว

“ฝีดาษลิง” ไม่ได้เป็นโรคเกิดใหม่ หมอยง เผย บทความทางวิชาการ ที่เขียนไว้เป็นเวลาเกือบถึง 20 ปีแล้ว ย้ำ การติดต่อของโรคนี้ ติดต่อได้ยากกว่า COVID-19 ไข้ทรพิษ มาก โอกาสที่จะระบาดใหญ่แบบ โควิด หรือ ไข้ทรพิษ จึงมีน้อยมาก ที่นี่ TOP News นำส่วนหนึ่งมาให้ได้ย้อนรอยกัน

ข่าวที่น่าสนใจ

 

ฝีดาษลิง, ย้อนรอย, โรคอุบัติใหม่, ระบาด, หมอยง, COVID-19, ไข้ทรพิษ, โควิด

 

 

 

 

หมอยง ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ ฝีดาษลิง ในคน โรคนี้ไม่ใช่โรคใหม่ เคยระบาดในแอฟริกาแล้วเข้าสู่อเมริกา ระบาดในหลายรัฐในปี พ.ศ. 2546 มีผู้ป่วยมากกว่า 30 ราย ในปีนั้น ผมได้เขียนบทความทางวิชาการ ลงในวารสารคลินิก อย่างละเอียด และข้อเสนอแนะ บทความนี้ก็ยังสามารถใช้ได้ในปัจจุบัน ได้ไปค้นและหยิบขึ้นมา เป็นเวลาเกือบถึง 20 ปีแล้ว ที่เขียนเรื่องนี้ขึ้นมา และเมื่อมาอ่านดูเนื้อหาก็ยังสามารถใช้ได้ดี การติดต่อของโรคนี้ ติดต่อได้ยากกว่า COVID-19 ไข้ทรพิษ มาก โอกาสที่จะระบาดใหญ่แบบ โควิด หรือ ไข้ทรพิษ จึงมีน้อยมาก

 

 

 

 

ฝีดาษลิง, ย้อนรอย, โรคอุบัติใหม่, ระบาด, หมอยง, COVID-19, ไข้ทรพิษ, โควิด

 

 

 

 

ฝีดาษ ลิง (ในคน)

 

เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 โรคอุบัติใหม่ที่เป็นข่าวใหญ่เกิดขึ้นอีก สร้างความวิตกให้กับผู้คนเป็นจำนวนมาก คือ ฝีดาษ ลิง (monkeypox) ฝีดาษ ลิง ไม่ได้เป็นโรคเกิดใหม่ เป็นโรคที่มีอยู่แล้วในสัตว์ป่าจำพวกลิงและหนู และเคยมีการระบาดข้ามาในคน โดยเฉพาะการระบาดที่เกิดขึ้นในสารารณรัฐคองโก เดิมคือประเทศแซร์ (Zaine) เมื่อปี พ.ศ. 2539 – 2540 ฝีดาษลิงพบครั้งแรกในลิงที่อยู่ในห้องปฏิบัติการ ในปี พ.ศ 2501 จึงได้ตั้งชื่อว่าเป็นฝีดาษลิง (monkeypox) มารู้จักกันดีตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา หลังจากที่มีการเลิกปลูกฝีป้องกันฝีดาษ (smallpox) ทำให้เด็กรุ่นใหม่ที่ไม่ได้ปลูกฝีมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรค (ถ้าได้รับเชื้อ) ทั้งนี้ เพราะการปลูกฝี (Variolation) ตั้งแต่สมัย Edward Jenner โดยใช้เชื้อฝีดาษวัว (cowpox) มาป้องกัน smallpox (ฝีดาษ) สามารถป้องกันฝีดาษลิงได้ด้วย โรคฝีดาษลิงจึงเริ่มพบได้โดยเฉพาะเด็กในแอฟริกาหลังจากเลิกปลูกฝีป้องกันโรคฝีดาษ

 

การระบาดในประเทศสหรัฐอเมริกา

 

การะบาลของโรคฝีดาษ ลิง เกิดขึ้นที่รัฐ Illinois Indiana และ Wisconsin จากการสืบสวนพบว่าผู้ป่วยใด้วับเชื้อมาจาก peairie dogs (สัตว์ในตระกูลหนู) ต่อมามีการสืบหาต้นทางการติดต่อ เข้าใจว่าเกิดจากการที่มีร้านค้าลัตว์ป่า ในมลรัฐเท็กซัสได้นำเข้าหนูแกมเบีย (Gambian giant rat, Cricetomys sp.) จาก Ghana และมีการส่งต่อหนูแกมเบียจำนวนหนึ่งไปยังร้านค้าลัตว์ที่ Iowa และส่งต่อไป Illinois ในขณะเดียวกันร้านค้าสัตว์ที่เท็กซัสที่นำเข้าหนูแกมเบียก็ยังมีการเลี้ยง peairie dogs ในสถานที่เดียวกัน และมีการส่งต่อหนู peairie dogs ไปยังรัฐ Illinois จึงทำให้เชื่อว่าหนู peairie dogs ติดเชื้อฝีดาษ ลิง มาจากหนู Gambian rat การคืบค้นหาสาเหตุจำเป็นต้องมีการตรวจสอบหาไวรัสดังกล่าวจากสัตว์ด้วย เพื่อทราบที่มาและลักษณะทางพันธุกรรมของไวรัสจึงจะบอกถึงแหล่งที่มาได้เป็นอย่างดี

 

 

 

 

ฝีดาษลิง, ย้อนรอย, โรคอุบัติใหม่, ระบาด, หมอยง, COVID-19, ไข้ทรพิษ, โควิด

 

 

 

 

ลักษณะอาการของโรค

 

ฝีดาษ ลิง มีระยะเวลาฟักตัวประมาณ 7 – 17 วัน ตามรายงานโดย CDC ในผู้ป่วยจำนวน 30 รายที่เกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคมและต้นมิถุนายน ผู้ป่วยจะมีไข้และตามมาด้วยผื่นที่เป็น papular rash โดยจะค่อย ๆ เป็นตามระยะจาก vesiculation, pustulation, umblication และ encrustation โดยผื่นบางตุ่มจะแตกเป็น ulcer ผื่นพบได้ที่ศีรษะ ลำตัว แขน ขา และผื่นยังพบได้ที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า บางรายผื่นกระจายทั้งตัว โดยเฉพาะผื่นที่ขึ้นทั้งหมดจะอยู่ในระยะเดียว ไม่เหมือนตุ่มสุกใสที่มีหลายระยะของโรค ผู้ป่วยมีอาการทางเดินหายใจ ต่อมน้ำเหลืองโต

 

ไวรัสฝีดาษ ลิง (Monkeypox virus)

 

ไวรัสเป็นสาเหตุของฝีดาษ ลิง เป็นไวรัสอยู่ในกลุ่มเดียวกับไวรัสฝีดาษ (smallpox) คือ กลุ่ม orthopoxvirus ใน family Poxviridae เป็น double stranded DNA ในกลุ่มนี้มีความใกล้เคียงกับไวรัสฝีดาษ smallpox (variola), cowpox, vaccina เป็นไวรัสที่มีขนาดใหญ่

 

กลไกการเกิดโรค

 

คล้ายกับฝีดาษ เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกายจะไปแบ่งตัวเพิ่มจำนวนในต่อมน้ำเหลือง ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต และอาศัยอยู่ใน mononuclear cell เพื่อเพิ่มจำนวนมากขึ้น ผ่านทางกระแสน้ำเหลือง กระจายเข้ากระแสเลือด มาที่ผิวหนัง และก่อโรคให้เป็นผื่นตุ่มน้ำเกิดขึ้น กลไกเกิดโรคได้มีการศึกษาในลิง โดยติดทางการหายใจ และขั้นตอนการเกิดโรคในลิง (Macaca fascicularis)

 

 

 

 

ฝีดาษลิง, ย้อนรอย, โรคอุบัติใหม่, ระบาด, หมอยง, COVID-19, ไข้ทรพิษ, โควิด

 

 

 

 

 

การวินิจฉัยโรค

 

การวินิจฉัยที่สำคัญจากลักษณะทางคลินิกที่สำคัญรวมทั้งประวัติการสัมผัสโรคดังกล่าวกับสัตว์ต้องสงสัย โดยเฉพาะสัตว์จำพวกหนูและกระรอก การตรวจทางห้องปฏิบัติการสามารถทำได้โดยการใช้ swab จากน้ำที่ตุ่มน้ำหรือหนองมาทำการตรวจด้วยวิธี PCR นอกจากนี้การวินิจฉัยสามารถทำได้โดย virus isolation การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน immunohistochemistry

 

มีความจำเป็นต้องเก็บเชื้อ smallpox ไว้หรือไม่

 

มีการเก็บเชื้ง smallpox virus ไว้ในศูนย์วิจัย 2 แห่งคือ Russian Fedenation และห้องปฏิบัติการใน USA ในการประชุม World Health Assembly ในปี พ.ศ. 2539 WHO ได้ตัดสินใจให้ทั้ง 2 แห่ง ควรจะทำลายเชื้อดังกล่าวเพื่อการแสดงว่าการกวาดล้าง (eliminate) ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ และ WHO ได้เก็บ smallpox vaccine ไว้ 5 แสนโดส ซึ่งเพียงพอในการควมคุมฝีดาษ ลิง ถ้ามีการระบาด และมีการเก็บ smallpox vaccine seed virus (vaccinia virus strain Lister Estrea) ไว้เพื่อการผลิตถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ อย่างไรก็ตาม เข้าใจว่าในปัจจุบันก็ยังไม่ได้มีการทำลายเชื้อไวรัสดังกล่าว

 

การป้องกันและการดูแลควบคุมโรค

 

การปลูกฝีป้องกันฝีดาษ สามารถป้องกัน ฝีดาษ ลิง ได้ ควรได้รับวัคซีนก่อนสัมผัสโรคอย่างน้อย 14 วัน และไม่ควรให้ในคนที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง แต่อย่างไรก็ตาม โรคดังกล่าวไม่ได้มีในประเทศไทย จึงไม่เป็นข้อแนะนำให้ทำดังกล่าว การเฝ้าระวังการนำโรคเข้าประเทศ และวางมาตรการการนำเข้าสัตว์ที่อาจจะนำโรคดังกล่าวได้ น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับประเทศไทย การแพร่กระจายโรคจากคนไปสู่คนเกิดขึ้นได้น้อย จึงเป็นเหตุผลอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้โรคนี้ง่ายต่อการควมคุม

 

 

 

 

ฝีดาษลิง, ย้อนรอย, โรคอุบัติใหม่, ระบาด, หมอยง, COVID-19, ไข้ทรพิษ, โควิด

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

แจ้ง 4 ข้อหาหนัก 'อส.เมากร่าง' ยิงสนั่นกลางร้านข้าวต้ม ดับ 2 ศพ เปิดวงจรปิดอีกมุม เห็นวินาทีก่อเหตุชัด
ตร.ไซเบอร์ ขยายผลตามรวบ "ผู้จัดหาบัญชีม้า" แก๊งลวง "ชาล็อต" กว่า 4 ล้านบาท
“บิ๊กอ้วน”ซัดปาก! พวกกระหายสงคราม “บิ๊กปู” คอนเฟิร์ม “ว้าแดง” เรียบร้อยดี
เวียงแหงโมเดล! เยาวชนคนรุ่นใหม่ One Young World เครือซีพี ปักธง FIGHT หมอกควันชายแดนไทย-พม่า เรียนรู้-ชวนชุมชมร่วมลด PM 2.5
ทิพยประกันภัย จับมือ NT ลงนาม MOU พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ายุคดิจิทัล
กรมวิทย์ฯ บริการ มอบของขวัญปีใหม่ประชาชน 2568 ..ฟรี !! ฝึกอบรมเสริมทักษะด้าน วทน. ฟรีค่าธรรมเนียมยื่นขอการรับรองทุกขอบข่าย เสริมความสามารถของห้องปฏิบัติการไทยสู่สากล
"ณเดชน์-เบลล่า" ขึ้นแท่นดาราแห่งปี "หมูเด้ง" ข่าวเด่นแห่งปีของจริงกลบทุกกระแส
เซเว่นฯ เดินหน้านโยบาย “2 ลด ลดพลาสติก ลดพลังงาน" เพื่อสิ่งแวดล้อม 24 ชม. เชิญชวนคนไทย ลดใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
“ภูมิธรรม”คาด 4 ลูกเรือไทยได้รับการปล่อยตัว 4 ม.ค. นี้ ยืนยันกลาโหม-กองทัพไม่ได้อ่อนแอ
ฮาร์บินเปิด ‘สวนสนุกน้ำแข็ง-หิมะ’ จีนใหญ่สุดในโลก

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น