"วัณโรค" องค์การอนามัยโรค เรียกร้องสมาชิก เพิ่มการลงทุนด้านสุขภาพ หลังพบยอดผู้เสียชีวิตพุ่งครั้งแรกในรอบ 10 ปี
ข่าวที่น่าสนใจ
องค์การอนามัยโลกเรียกร้องสมาชิกประเทศต่าง ๆ เพิ่มการลงทุนกับบริการสุขภาพและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ “วัณโรค” หลังพบยอดผู้ป่วยและยอดผู้เสียชีวิตพุ่งสูงเป็นคร้ังแรกในรอบ 10 ปี พร้อมเน้นให้กลุ่มเด็กและเยาวชนเข้าถึงการรักษาและบริการป้องกันโรคอย่างทันท่วงที
แม้ว่า จำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา แต่กลับพบว่าปี 2564 จำนวนผู้เสียชีวิตกลับเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี โดยมีสาเหตุหลักมาจากโควิดที่ทุกภาคส่วน ต่างเททรัพยากรไปรับมือโรคดังกล่าว ตลอดช่วงสองปีที่ผ่านมา
ประกอบกับเกิดภาวะสงครามและการสู้รบในแถบยุโรปตะวันออก แอฟริกา และตะวันออกกลาง ยิ่งสร้างความยากลำบากต่อผู้ป่วยและผู้ที่มีความเสี่ยงติดโรคในการเข้ารับบริการสุขภาพเป็นอย่างมากทั้ง ซึ่งทางองค์การอนามัยโลก คาดการณ์ว่ามีผู้ป่วยจากโรคนี้มากถึง 30,000 คนต่อวัน และเสียชีวิต 4,100 คนต่อวัน ณ ตอนนี้ จึงถือว่าเป็นหนึ่งในโรคอันตรายที่สามารถคร่าชีวิตผู้คนมากที่สุด ซึ่งควรจะมีเม็ดเงินลงทุนถึง 4 แสนล้านบาทต่อปี ถึงจะช่วยให้งานวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันโรคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม กลับพบว่าจำนวนเม็ดเงินนี้ลดลงมากกว่าครึ่ง เมื่อเทียบระหว่างปี 2563 ก่อนโควิดระบาด และหลังการระบาด ด้านการวิจัยและพัฒนาสำหรับโรคนี้ ควรมีเม็ดเงินลงทุนเพิ่มขึ้นที่ประมาณ 35,000 ล้านบาทต่อปี ถึงจะสามารถพัฒนาเทคโนโลยีและยาที่รักษาโรคได้ โดยเฉพาะวัคซีนสำหรับ วัณ โรค แต่ในช่วงสองปีที่ผ่านมา กลับพบว่าเม็ดเงินลงทุนด้านนี้ไม่ถึงเป้าเช่นกัน
ระหว่างปี 2561-2563 มีผู้เข้ารับการรักษา “วัณโรค” มากถึง 20 ล้านคนคิดเป็น 50% ของเป้าหมายที่องค์การอนามัยโลกวางไว้ ขณะที่ผู้มีความเสี่ยงติดโรคมากกว่า 8.7 ล้านคนเข้าถึงบริการป้องกันโรค คิดเป็น 29% ของเป้าหมายที่วางไว้เท่านั้น
สถานการณ์ค่อนข้างย่ำแย่ในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 15 ปี องค์การอนามัยโลกประมาณการณ์ว่ามีผู้ป่วยในกลุ่มนี้มีมากถึง 63 % ที่ไม่สามารถเข้าถึงการตรวจและรักษาโรคได้ในปี 2563 ขณะที่ 72% ของกลุ่มผู้ป่วยเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน สองในสามของเด็กกลุ่มนี้ไม่ได้รับบริการป้องกันโรคนี้ ซึ่งยังส่งผลต่อการแพร่เชื้อในครัวเรือนอีกด้วย
พญ.เทเรซา คาแซวา ผู้อำนวยการโครงการวัณ โรค ประจำองค์การอนามัยโลก กล่าวว่า เมื่อเดือน มีนาคมที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลกได้ออกแนวทางจัดการโรคในกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งมีข้อเสนอสำคัญที่ขอให้นานาประเทศนำไปปฏิบัติตาม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและปัองกันโรคในกลุ่มเด็กและเยาวชน
นอกจากนี้ ยังแนะนำให้ลดเวลาการรักษาจาก 6 เหลือ 4 เดือน สำหรับกลุ่มผู้ป่วยเด็กและเยาวชนที่ดื้อยาอ่อน ๆ และจาก 12 เหลือ 6 เดือนสำหรับการรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากวัณ โรค ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และยังคงให้การรักษามีประสิทธิภาพที่ดีเท่าเดิม พร้อมแนะนำให้มีการจัดระบบการดูแลผู้ป่วยแบบกระจาย เพื่อให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงการรักษาในสถานที่ใกล้บ้านอีกด้วย
ข้อมูล : who
ข่าวที่เกี่ยวข้อง