102 ปี “บ้านเกิดป๋า” ตั้งกลางใจเมือง “สงขลา” ข้าวของเครื่องใช้ จารึกไว้เป็นตำนาน

พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของประเทศ เป็นนายกรัฐมนตรีจากคำเชิญของรัฐสภาถึง 3 สมัย ระหว่างปี 2523-2531 ครองตำแหน่งนายกฯ นานกว่า 8 ปี 5เดือน พื้นเพเป็นชาวจังหวัดสงขลา

ครบรอบ 3  ปี ของการจากไป กับบุคคลในตำนาน  พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี รัฐบุรุษ อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 16 ดำรงตำแหน่ง 3 สมัย ระหว่างปี พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2531 เกิดเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2463 บ้านเลขที่ 1 ถนนจะนะ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา  ต่อมา พลเอกเปรม ได้เสียชีวิตลง เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 62

พ่อของป๋า 

บ้านเกิดหลังนี้ เป็นบ้านประจำตำแหน่งของ “พะทำมะรง” (เดิมใช้คำว่า พธำมะรงศ์) อันเป็นตำแหน่งเก่าแก่ ของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ครั้งหนึ่ง รองอำมาตย์โทขุนวินิจทัณฑกรรม หรือ “บึ้ง ติณสูลานนท์” บิดาของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ขณะท่านได้เคยดำรงตำแหน่ง พะทำมะรงพิเศษ เมืองสงขลา ในปี พ.ศ.2457 ต่อมาบ้านหลังนี้ได้ผุพังไปตามกาลเวลาจนต้องรื้อถอน
กระทั่งในปี พ.ศ.2530 นายสนิท รุจิณรงค์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ (ในขณะนั้น) ได้ร่วมกับภาครัฐและเอกชน เริ่มก่อสร้างบ้านประจำตำแหน่งพะทำมะรงขึ้นมาใหม่ ตามหลักฐานที่มีอยู่ในขณะนั้น โดยมีจุดประสงค์ “เพื่อเป็นการเชิดชูวงศ์ตระกูลติณสูลานนท์” ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2532 มีพิธีเปิดใช้อาคารอย่างเป็นทางการ ด้วยงบประมาณการก่อสร้าง 736,039 บาท

เสมือนบ้านเกิดป๋าจริงๆ

พิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์ เป็นสถาปัตยกรรมแบบเรือนไทยที่สร้างขึ้นเพื่อจำลองสถานที่เกิดของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่ง พิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์ ตั้งอยู่ในตัวเองเมืองสงขลา การเดินทางมาจึงสะดวก และอยู่ใกล้กับแหล่งท่องเที่ยวอื่นของสงขลา ซึ่งภายในพิพิภัณฑ์จะมีการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ของป๋าเปรมจริงๆ ในสมัยนั้น เพื่อให้เห็นถึงการดำรงชีวิต พิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์ เปรียบเสมือนสถานที่ท่องเที่ยวเล็กๆ รวมทั้งยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชาวสงขลาและนักท่องเที่ยว

ปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์ ได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากเทศบาลนครสงขลา โดยเปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าชมได้โดยไม่เสียค่าเข้าชมทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ นอกจากนี้ในช่วงเย็นของวันศุกร์และวันเสาร์ พิพิธภัณฑ์ยังได้เปิดให้เข้าชมเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมการเรียนรู้บนกิจกรรมถนนคนเดินอีกด้วย

 

ข่าวที่น่าสนใจ

แสดงประวัติของครอบครัวติณสูลานนท์

พิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์ เป็นเรือนไม้ยกพื้นชั้นเดียวใต้ถุนสูง วางบนฐานเสาสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 0.40 x 0.40 เมตร หลังคาทรงปั้นหยาแบบเรือนภาคใต้ มุงด้วยกระเบื้องเกาะยอ ประกอบด้วย เรือนพักอาศัย และเรือนครัว มีชานพื้นไม้เปิดโล่ง เชื่อมถึงกัน ผนังไม้ตีซ้อนเกล็ดถ่ายน้ำหนักสู่โครงคร่าวและเสาไม้ตามลำดับ หน้าต่างและประตูเป็นบานเปิดคู่ ภายในมีการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ ตลอดจนภาพสื่อความหมายถึงประวัติของครอบครัวติณสูลานนท์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ด้านข้างของพิพิธภัณฑ์เป็นเรือนไม้โปร่งชั้นเดียว และบ่อน้ำ ปัจจุบันเรือนดังกล่าวใช้เป็นศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยวของเทศบาลนครสงขลา

พิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์ เป็นตัวอย่างงานอนุรักษ์ประเภทการสร้างขึ้นใหม่ อีกทั้งยังมีความสำคัญในแง่ของการริเริ่มและร่วมมือของประชาชน เพื่อเชิดชูเกียรติประวัติของบุคคลสำคัญในท้องถิ่น

เส้นทางการเมือง 

พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของประเทศ เป็นนายกรัฐมนตรีจากคำเชิญของรัฐสภาถึง 3 สมัย ระหว่างปี 2523-2531 ครองตำแหน่งนายกฯ นานกว่า 8 ปี 5เดือนายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของประเทศ เป็นนายกรัฐมนตรีจากคำเชิญของรัฐสภาถึง 3 สมัย ระหว่างปี 2523-2531 ครองตำแหน่งนายกฯ นานกว่า 8 ปี 5เดือน พล.อ.เปรม เริ่มเข้าสู่การเมืองตั้งแต่ยศพันเอก คุมกองกำลังทหารม้า ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502
มีตำแหน่งในรัฐบาลครั้งแรกยุค พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดย พล.ท.เปรม (ตำแหน่งในเวลานั้น) ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ได้เป็น ‘รัฐมนตรีช่วยมหาดไทย’ และได้เป็น ‘รัฐมนตรีกลาโหม’ ควบตำแหน่ง ‘ผู้บัญชาการทหารบก’ ในสมัย พล.อ.เกรียงศักดิ์ เป็นนายกฯ ครั้งที่ 2 ตลอด 8 ปี 5 เดือนของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พล.อ.เปรม ไม่เคยถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจเลยสักครั้งเดียว ทั้งยังเป็นต้นแบบของความซื่อสัตย์

จุดเด่นสำคัญของรัฐบาลป๋า 

พล.อ.เปรม มีทีมที่ปรึกษา หรือ ‘เทคโนแครต’ ชั้นยอดจำนวนมาก ทีมเศรษฐกิจที่โดดเด่น นำโดย เสนาะ อูนากูล อดีตผู้ว่าแบงก์ชาติ, ดร.วีรพงษ์ รามางกูร คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งยังได้นายธนาคารอย่าง สมหมาย ฮุนตระกูล และนักบัญชีอย่าง สุธี สิงห์เสน่ห์ มาทำหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตลอดช่วงเวลาในการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาล พล.อ.เปรม ที่ปรึกษาด้านความมั่นคง อาทิ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ, พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์, พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ และ น.อ.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ และที่ปรึกษาด้านการเมืองและสังคม อาทิ นายชัยอนันต์ สมุทวณิช, นายทินพันธุ์ นาคะตะ และ นายสุขุม นวลสกุล

ถึงวันนี้ “ป๋าเปรม” จะกลายเป็นบุคคลในตำนานที่ไร้ลมหายใจไปแล้ว หลังจากที่ได้ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2562 เวลา 09.09 น. ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ทว่าลูกหลานชาวสงขลา ยังคงมีความรัก และระลึกถึงด้วยการต่อยอดทำความดี ตามแนวทาง “เกิดมาต้องแทนคุณแผ่นดิน”​

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง
รมว.วัฒนธรรม เปิดงานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเลครั้งที่ 14 ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว กระบี่ เร่งส่งเสริมวิถีชีวิต วัฒนธรรมชาวเล
ป้าย สุดเจ๋ง "รับซื้อบ้านผีสิง" เจ้าของป้ายรับซื้อจริง มารีโนเวทขาย
"สุดาวรรณ" เยี่ยมชมชุมชนชาวเลสังกาอู้-วิถีวัฒนธรรมชาวเลอูรักลาโวยจ จ.กระบี่
สจ.ธรรมชาติฟ้องตรงอัจฉริยะเรียกค่าเสียหาย 10 ล้านบาท

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น