“ปวดหลังเรื้อรัง” 4 สัญญาณ โรคกระดูกสันหลังอักเสบชนิดยึดติด

ปวดหลังเรื้อรัง, ข้อกระดูกอักเสบชนิดเรื้อรัง, กรมการแพทย์, วิธีรักษาอาการปวดหลัง,​ ปวดหลัง

"ปวดหลังเรื้อรัง" กรมการแพทย์ เตือน ภัยใกล้ตัวชาวออฟฟิศ เผย 4 สัญญาณร้ายของโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด เปิดสาเหตุชัด ๆ เกิดจากอะไร รักษาได้ไหม?

“ปวดหลังเรื้อรัง” อาการ ปวด หลัง เรื้อรัง แพทย์เผย 4 สัญญาณเตือนโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด เปิดสาเหตุ และวิธีรักษา ย้ำ คนที่มีอาการควรรีบพบแพทย์รักษาทันที หากปล่อยให้อาการรุนแรงมากขึ้น อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

4 สัญญาณเตือน โรคกระดูกสันหลังอักเสบชนิดยึดติด

  • “ปวดหลังเรื้อรัง”
  • หลังยึดติด เคลื่อนไหวลำบาก
  • ปวดหลังมาก โดยเฉพาะช่วงเช้าหรือหลังพักผ่อน
  • อาการอักเสบของข้อกระดูสันหลังข้อต่อตามร่างกาย

 

 

 

กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา เผยสาเหตุเกิดจาก

  • การอักเสบของกระดูกสันหลังเรื้อรังร่วมกับข้ออักเสบเป็นเวลานาน
  • ทำให้กระดูกสันหลังติดกันเคลื่อนไหวไม่ได้
  • รักษาไม่หายแต่สามารถคุมอาการและชะลอการรุนแรงโรคได้

 

 

 

ปวดหลังเรื้อรัง, ข้อกระดูกอักเสบชนิดเรื้อรัง, กรมการแพทย์, วิธีรักษาอาการปวดหลัง,​ ปวดหลัง

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เผยว่า เป็นโรคหลักในกลุ่มโรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอาการแสดงของโรคคล้ายกัน คือ การอักเสบของข้อกระดูกสันหลัง ข้อต่อตามร่างกาย การอักเสบที่กระดูกบริเวณที่เส้นเอ็นยึดเกาะ การอักเสบของม่านตาและลำไส้
ลักษณะอาการในระยะแรก
  • ผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดหลังส่วนล่าง หรือปวดสะโพกเรื้อรังโดยเฉพาะช่วงเช้าหรือหลังพักผ่อน
  • อาการหลังติดยึด ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก
  • ทำงานไม่ได้ จนเกิดภาวะหลังคด ทรงตัวลำบากและช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

 

 

 

ปัจจุบัน ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดของโรคได้ แต่คาดว่าโรคนี้อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น

  • พันธุกรรม ตรวจพบโปรตีน HLA-B27 ผู้ป่วยโรคนี้มักมีญาติเป็นโรคเช่นเดียวกัน
  • อายุจะเริ่มแสดงอาการในผู้ป่วยอายุน้อย ระหว่าง 20-30 ปี
  • พบเพศชายมากกว่าเพศหญิง
  • ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาบรรเทาอาการ เพราะ หากปล่อยให้อาการรุนแรงมากขึ้น อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

 

 

 

ปวดหลังเรื้อรัง, ข้อกระดูกอักเสบชนิดเรื้อรัง, กรมการแพทย์, วิธีรักษาอาการปวดหลัง,​ ปวดหลัง

นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ป่วยแต่ละรายอาจ มีอาการที่แตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงของโรค ปัจจุบันใช้ Modified New York Criteria โดยให้การวินิจฉัย และการรักษาผู้ป่วยได้ตั้งแต่ระยะแรก และติดตามการเปลี่ยนแปลงผลการรักษาของผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ ติดตามการดำเนินโรคได้อย่างถูกต้อง และปรับให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยอายุรแพทย์ทั่วไป อายุรแพทย์ทางด้านโรคข้อและ รูมาติสซั่ม และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู วินิจฉัยโดยการตรวจร่างกายและตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและแยกโรคร่วมหรือการอักเสบชนิดอื่น ๆ

 

 

 

การรักษา

  • การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยในการสังเกตตัวเองและเข้าใจตัวโรค ว่ายังไม่มีวิธีป้องกันหรือรักษาให้หายขาด
  • แต่สามารถควบคุมและชะลอการดำเนินโรคได้
  • การรักษาจำเป็นต้องให้ยา เพื่อคุมการอักเสบเรื้อรังและอาการปวดแบบต่าง ๆ
  • ควรบริหารร่างกายเพื่อยืดหยุ่นข้อต่อและกล้ามเนื้อ จะช่วยให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้สะดวกใกล้เคียงปกติและป้องกันข้อติดยึด
  • อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยได้รับการรักษาในระยะท้ายของโรค การรักษาด้วยยาและกายภาพอาจไม่เพียงพอ ต้องทำการผ่าตัด เพื่อแก้ไขโครงสร้างและมีการดูแลแบบสหวิชาชีพต่อไป

 

 

 

ปวดหลังเรื้อรัง, ข้อกระดูกอักเสบชนิดเรื้อรัง, กรมการแพทย์, วิธีรักษา,

 

 

ข้อมูล : กรมการแพทย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ณัฐวุฒิ" โอ่คนไทยอ่านขาดแล้ว เกมฝ่ายขวาจัด ปลุกชาตินิยม ล้มรบ. เย้ยรอบนี้ไม่ง่ายเหมือนก่อน
เปิด 40 รายชื่อ สรุปยอดผู้สมัคร ป.ป.ช. พบคนดังเพียบ
"ยายวัย 80 ปี" เครียดอยากจบชีวิต หลังถูก "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" หลอกโอนเงินเก็บเกลี้ยงบัญชี
"ร้านเนื้อย่างดัง" โพสต์ตามหา "ลูกค้า" โอนเงินค่าอาหารเกิน 2 แสนบาท
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 10 เตือน ปชช.ไทยตอนบนอากาศแปรปรวน ภาคใต้ฝนตกหนัก เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน
ระทึก ! บุกยิงบ้านผู้ใหญ่ โบว์ คาดว่า การเมือง ท้องถิ่นเป็นเหตุ
‘บิ๊กต่าย’ เผยตร.ทำงานยังคงทำคดี ‘ดิไอคอน’ ตามที่ DSI ร้องขอ
ครูบาอริยชาติ เกจิภาคเหนือวัดแสงแก้วโพธิญาณ เชียงราย สร้างพระพุทธเมตตา จากหยกรัสเซียใหญ่ที่สุดในโลก น้ำหนักกว่า 10 ตัน
นายกฯ-สามี พา "น้องธิธาร" ลูกสาว วิ่งเล่นสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า
กระทรวงดีอี – ดีป้า เปิดศึกบิน – ซ่อมโดรนเกษตรชิงแชมป์ประเทศไทย ในรายการ “Thailand Agriculture Drone Competition 2024”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น