ฉาวซ้ำซากผู้บริหาร”อีสท์ วอเตอร์” ส่อไม่โปร่งใสคัดเลือกซีอีโอใหม่

ฉาวซ้ำซากผู้บริหาร"อีสท์ วอเตอร์" ส่อไม่โปร่งใสคัดเลือกซีอีโอใหม่

ติดตามต่อเนื่องกับประเด็นร้อนว่าด้วยการประมูลคัดเลือกเอกชน จัดให้เช่า/บริหาร ระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก ในพื้นที่ ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี , ระยอง มูลค่าสูงถึง 2.5 หมื่นล้านบาท ถึง 2 ครั้ง และทางด้านบอร์ดที่ราชพัสดุ รวมถึง กรมธนารักษ์ พยายามผลักดันให้มีการเซ็นสัญญญากับ บริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด

ทั้ง ๆ ที่ศาลปกครองยังไม่มีคำพิพากษาในคดีหลัก ว่าด้วยกรณี อีสท์ วอเตอร์ ดำเนินการฟ้องร้องคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนเพื่อบริหารและดำเนินกิจการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก (คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนฯ) และกรมธนารักษ์ เนื่องจากคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนฯ ซึ่งแต่งตั้งโดยกรมธนารักษ์ ได้มีคำสั่งยกเลิกการคัดเลือกเอกชนเพื่อบริหารและดำเนินกิจการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก (การคัดเลือกเอกชนฯ ครั้งแรก) และการออกประกาศพร้อมหนังสือเชิญชวนฉบับใหม่ เป็นเหตุให้บริษัทฯ ได้รับความเสียหาย ตั้งแต่เมื่อวันที่ 23 ก.ย. 2564

ขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2565 ตัวแทนกลุ่มผู้ถือหุ้นของบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ “อีสท์ วอเตอร์” ได้มีการยื่นคำร้องต่อเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และทาง ก.ล.ต. เพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบการบริหารงานของ นางอัศวินี ไตลังคะ ประธานคณะกรรมการบริษัทและกระบวนการสรรหา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของบริษัท

เนื่องจากอาจมีการฝ่าฝืนจรรยาบรรณทางธุรกิจ ข้อบังคับบริษัท กฎบัตรคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนของบริษัท และความผิดตามหลายมาตราของหมวด 3/1 ว่าด้วยเรื่องการบริหารกิจการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ในส่วนของหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการและผู้บริหารตามมาตรา 89/7 มาตรา 89/8 มาตรา 89/10 มาตรา 89/11 มาตรา 89/12 และมาตรา 89/14 พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และหมวด 6 ว่าด้วยเรื่องคณะกรรมการตามมาตรา 85 มาตรา 88 ของ พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 แล้ว

โดยตัวแทนกลุ่มผู้ถือหุ้นของ “อีสท์ วอเตอร์” ให้ข้อมูลว่า มีเหตุอันควรสงสัยหลายประการว่า นางอัศวินี ประธานคณะกรรมการบริษัทฯ อาจมีการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อจรรยาบรรณในทางธุรกิจว่าด้วยเรื่องความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ รายการที่เกี่ยวโยงกัน และ การทำธุรกรรมระหว่างกันของกลุ่มบริษัท

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ต่อมา เมื่อ วันที่ 18 เม.ย. 2565 ทางตัวแทนกลุ่มผู้ถือหุ้นฯ อีสท์ วอเตอร์ ระบุว่า ได้รับการประสานจากทาง ก.ล.ต. ว่า ขอให้ผู้ถือหุ้นที่ร้องเรียนจัดส่งข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องเรียนซึ่งเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 2535 เป็นการเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาประกอบคำร้องที่ยื่นมาก่อนหน้า

ทางกลุ่มผู้ถือหุ้น จึงรวบรวมข้อมูลและพยานหลักฐานเอกสารเพื่อนำส่ง ก.ล.ต. จำนวน 11 รายการ รวมทั้งสิ้น 244 หน้า เพื่อให้มีการพิจารณาในประเด็นที่ร้องเรียนไปใน 3 ประเด็น คือ

1. ประเด็นความเคลือบแคลงสงสัยเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ของประธานคณะกรรมการบริษัทฯ และในกระบวนการสรรหาแต่งตั้งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของบริษัทฯ

2. ประเด็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน และ ธุรกรรมระหว่างกันของกลุ่มบริษัท ที่อาจจะเข้าข่ายการฝ่าฝืนกฎหมาย กฎระเบียบที่ออกโดยหน่วยงานรัฐ จรรยาบรรณทางธุรกิจ ข้อบังคับของบริษัท

3. ประเด็นการพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนเพื่อสรรหาผู้มาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่แทนผู้ที่ดำรงตำแหน่งอยู่เดิมที่กำลังจะหมดวาระนั้นมีการฝ่าฝืนกฎบัตรคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนของบริษัท”

ไม่เท่านั้น จากการตรวจสอบเพิ่มเติม พบว่า มูลเหตุส่วนหนี่งทำให้มีการยื่นคำร้องของตัวแทนผู้ถือหุ้น คือ ข้อกล่าวหาว่า นางอัศวินี ไตลังคะ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริษัทและกระบวนการสรรหากรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของบริษัท อาจมีการฝ่าฝืนจรรยาบรรณทางธุรกิจ ข้อบังคับบริษัท กฎบัตรคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนของบริษัท และความผิดตามหลายมาตราของหมวด 3/1 ว่าด้วยเรื่องการบริหารกิจการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือไม่

เนื่องจากปรากฏว่าในรายชื่อกรรมการ บริษัท ยูนิเวอร์แซล ยูทีลิตี้ส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ยูยู ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์ วอเตอร์ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 โดยมีทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 50 ล้านบาท และได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 930 ล้านบาท ในปี 2558 ถูกระบุว่าเป็นบุคคลผู้ใกล้ชิดกับ นางอัศวินี และได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็น ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ กรรมการธรรมาภิบาลและสรรหา ในสัดส่วน กรรมการอิสระ บริษัท ยูนิเวอร์แซล ยูทีลิตี้ส์ จำกัด (มหาชน) จนทำให้เป็นประเด็นพิจารณาว่า กรณีดังกล่าว เข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่

 

โดยประเด็นข้อกล่าวหาทั้งหมดนี้ นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ ก.ล.ต. เคยให้ข้อมูลกับ Top News ว่า กรณีมีผู้ร้องเรียนให้มีตรวจสอบการบริหารงานของ นางอัศวินี ไตลังคะ ประธานคณะกรรมการบริษัท และประธานกระบวนการสรรหากรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ EASTW อาจฝ่าฝืนจรรยาบรรณทางธุรกิจ ข้อบังคับบริษัท และพิจารณาค่าตอบแทนของบริษัท ว่า “กลต. เตรียมออกหนังสือ เพื่อให้ผู้บริหารฯ รวมถึง อีสท์ วอเตอร์เอง เข้าชี้แจงข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าว และหลังจากออกหนังสือส่งแล้วต้องรอระยะเวลา 15 วัน เพื่อให้บริษัทได้ชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น หลังจากนั้น ทาง ก.ล.ต. จะนำข้อมูล ข้อเท็จจริงที่ได้ มาวิเคราะห์อีกครั้งว่า เป็นไปตามที่เป็นข่าวหรือไม่ และมีรายละเอียดอย่างไร ”

อย่างไรก็ตามประเด็นปัญหาของ อีสท์ วอเตอร์ ไม่จบเท่านั้น เพราะ ภายในบริษัทเพิ่งมีประเด็นใหม่ ว่าด้วย กระบวนการคัดเลือก กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ อีสท์ วอเตอร์ คนใหม่ เพื่อรับผิดชอบหน้าที่ ตั้งแต่ 1 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 ด้วยปรากฎข้อสังเกตุ ถึงความไม่ปกติที่เกิดขึ้นกับการปฏิบัติหน้าที่ของบอร์ด อีสท์ วอเตอร์ อีกครั้ง

เพราะ รายชื่อบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ หรือ ซีอีโอ คนใหม่ พบว่าเข้าข่ายอาจมีคุณสมบัติ ไม่ได้ตามหลักเกณฑ์ที่ควรจะเป็น โดยมีผลสอบ ด้านความรู้ ความสามารถ (TOEIC) อาทิ ความถนัดด้านภาษาอังกฤษ , บุคลิกภาพ , ทัศนคติในการทำงาน ฯลฯ คะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด หรือ มีค่าคะแนนเพียง 225 คะแนน จากหลักเกณฑ์กำหนดว่า ต้องมีคะแนนมากกว่า 550 คะแนน และทำให้บุคคลนั้นไม่ติดอันดับ 1 ใน 5 ผู้มีคะแนนลำดับสูงสุด ซึ่งมีลำดับคะแนน ความรู้ ความสามารถ ในระดับ 785-945 คะแนน

แต่กรณีดังกล่าว กรรมการสรรหา กลับให้น้ำหนักการคัดเลือกไปที่เรื่องผลการสัมภาษณ์ และ ผู้ไม่ผ่านเกณฑ์ผลสอบ ด้านความรู้ ความสามารถ (TOEIC) รวมถึงบุคคลดังกล่าว หรือ ซีอีโอ คนปัจจุบัน กลับได้รับการเลือกให้มาสัมภาษณ์ ในรอบสุดท้าย 3 คน รวมถึงได้ความไว้วางใจจากบอร์ด อีสท์ วอเตอร์ ให้ทำหน้าที่ ซีอีโอ อีสท์ วอเตอร์ คนใหม่ อย่างพลิกความคาดหมาย ในฐานะผู้มีความเหมาะสมสูงสุด เป็นลำดับที่ 1 จนกลายเป็นประเด็นใหม่ ที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการ บริษัท อีสท์ วอเตอร์ ภายใต้การกำกับของ นางอัศวินี ไตลังคะ ที่กำลังถูกผู้ถือหุ้นร้องตรวจสอบ และก.ล.ต. กำหนดให้ชี้แจงข้อมูล เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปตามข้อร้องเรียนของผู้ถือหุ้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เซเว่นฯ เดินหน้านโยบาย “2 ลด ลดพลาสติก ลดพลังงาน" เพื่อสิ่งแวดล้อม 24 ชม. เชิญชวนคนไทย ลดใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
“ภูมิธรรม”คาด 4 ลูกเรือไทยได้รับการปล่อยตัว 4 ม.ค. นี้ ยืนยันกลาโหม-กองทัพไม่ได้อ่อนแอ
ฮาร์บินเปิด ‘สวนสนุกน้ำแข็ง-หิมะ’ จีนใหญ่สุดในโลก
ทรัมป์เสนอยูเครนสละดินแดนเพื่อยุติสงคราม
โฆษกกห. ยัน ไม่ได้ปิดด่านชายแดนจังหวัดตาก แค่สกัดโรค อุดช่องทางธรรมชาติ
“พิพัฒน์” ลุยปฏิรูป “ก.แรงงาน” ก้าวใหม่สู่ยุค AI สร้างทักษะพัฒนาฝีมือ ดูแลสวัสดิการทุกมิติ
"สรรเพชญ" พร้อมกลุ่มสส.ร่วม "ชวน-บัญญัติ" ส่งหนังสือเร่งรัฐ เยียวยาน้ำท่วมทำใต้วิปโยค
“ทักษิณ” อวย ฉายา “แพทองโพย” เก่งกว่าพ่อนั่งนายกฯ ฟุ้งคนเหนือก็เป็นพ่อเลี้ยงกันหมด
“อนุทิน” น้อมรับฉายา “ภูมิใจขวาง” ลั่นไม่ได้คิดขวางใคร ชื่นชม “นายกฯ” ตั้งใจทำงาน หลังถูกมองเป็นรบ. (พ่อ) เลี้ยง
“รทสช.” เคลื่อนไหว หลังสื่อทำเนียบฯตั้งฉายา “พีระพันธุ์” Fc แห่คอมเมนต์ให้กำลังใจ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น