"ฝีดาษลิง" ฝีดาษวานร 5 ปัจจัยความยุ่งยากในการควบคุมโรคที่ระบาดในปีนี้ เผย ประสิทธิภาพ วัคซีน 3rd generation ฉีดใต้ผิวหนัง สร้างภูมิ ไม่เกิดตุ่มหนอง
ข่าวที่น่าสนใจ
หมอยง ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ Yong Poovorawan ระบุ ฝีดาษวานร 2022 ความยุ่งยากในการควบคุมโรคฝีดาษวานรที่ระบาดในปีนี้ ในยุโรปและอเมริกา มีผู้ป่วยร่วม 500 ราย ส่วนใหญ่ เพศชายถึง 98% และอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ อายุ 20 ถึง 50 ปี
ลักษณะของผื่น ตุ่มน้ำใส และตุ่มหนอง และที่แบนราบ รวมทั้งที่อยู่ใต้เล็บ ที่พบในคนติดเชื้อเจ็ดรายในประเทศอังกฤษในปี 2018 และ 2019 โดยเดินทางจากประเทศไนจีเรียสี่รายและมีการแพร่ไปยังคนในประเทศอังกฤษต่ออีกสามราย
และน่าจะเป็นช่วงเวลาที่เริ่มเห็นการแพร่จากคนสู่คนได้ชัดเจน ทั้งนี้ รายงานผู้ป่วยเจ็ดราย และรูปภาพทั้งหมดปรากฏในวารสาร Lancet Infectious Disease (24/5/2022) บทความนี้เข้าอ่านแบบ open access
ข้อมูลในประเทศอังกฤษ ฝีดาษลิง ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม จนถึงวันที่ 26 พฤษภาคม พบ 101 ราย รวมกับสกอตแลนด์เวลและไอร์แลนด์เหนือจะเป็น 106 ราย ข้อมูล และ รูป จาก UK health security agency
ความยุ่งยากในการควบคุมโรค คือ
- อาการของโรคไม่ได้รุนแรงแบบ ไข้ทรพิษ ยังไม่มีใครเสียชีวิตเลย เมื่อมีอาการน้อยบางรายก็ไม่ได้รับการวินิจฉัย
- ตุ่มที่ขึ้นก็ไม่ได้มาก 30% เกิดในที่ลับ บริเวณอวัยวะเพศ และถ้าไม่มีอาการมาก หรือตุ่มขึ้นน้อยก็จะไม่ได้พบแพทย์
- โรคนี้ติดต่อ เกี่ยวข้องกับ เพศสัมพันธ์ เพราะมีการสัมผัสกันอย่างใกล้ชิด
- ไม่มีหลักฐานในการติดต่อจากสัตว์ หรือเดินทางมาจากแอฟริกา เป็นการติดต่อระหว่างคนสู่คน
- ถ้าเชื้อฝีดาษวานร ที่ระบาดอยู่ขณะนี้ เข้าไปติดยังสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสัตว์ฟันแทะ ในตระกูล หนู กระต่าย กระรอก สัตว์เหล่านี้จะมีอาการน้อยมาก และเป็นพาหะที่จะกระจายโรคได้ จะยากต่อการควบคุมขึ้นอีก นำไปสู่การเกิดโรคประจำถิ่น
“ขณะนี้ โรคประจำถิ่นอยู่แอฟริกา มีความกังวลว่า ถ้าติดในสัตว์เลี้ยง ที่กำลังระบาดอยู่นี้ ก็อาจประจำถิ่นอยู่ยุโรปต่อไป”
ฝีดาษวานร วัคซีน 3rd generation
หมอยง ระบุ วัคซีนดังกล่าว ใช้สายพันธุ์ Vaccinia มาดัดแปลงพันธุกรรม (Modified Vaccinia Ankara) ผลิตโดย Bavarian Nordic ใช้ชื่อ MVA-BN เป็นไวรัสมีชีวิต ทำให้อ่อนฤทธิ์ ไม่สามารถแบ่งตัวได้
- ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง สร้างภูมิต้านทาน ไม่เกิดตุ่มหนอง
- ประสิทธิภาพ เท่าเทียมกับวัคซีนในอดีต
- ให้ได้ในผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ
- ไม่เป็นข้อห้ามเด็ดขาดในสตรีตั้งครรภ์ (ไวรัสไม่สามารถแบ่งตัวได้) ให้ได้ในแม่ที่กำลังให้นมบุตร
- ต่างกับวัคซีนใน Generation ที่ 1 และ 2 ที่ใช้ปลูก วัคซีนนี้ใช้ฉีดใต้ผิวหนัง 2 ครั้ง ห่างกัน 4 สัปดาห์
- ผู้ที่ปลูกฝีมาแล้ว ให้ครั้งเดียว
- ผู้สัมผัสโรค ให้ภายใน 4 วัน ป้องกันการติดเชื้อได้ หรือลดอาการโรคลง
- ในยุโรป (Imvanex) ในอเมริกา (Jynneos) ยังไม่ได้มีการขึ้นทะเบียน มาใช้ในประเทศไทย
ย้อนรอย 19 ปี โรคอุบัติใหม่ โอกาสระบาดใหญ่น้อยมาก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง