นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า โรคฝีดาษลิงในไทย เดิมทีโรคดังกล่าวเป็นการติดต่อระหว่างสัตว์กับสัตว์ แต่ปัจจุบันมีการติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน และคนสู่คน ส่วนการติดต่อทางเพศสัมพันธ์นั้น เป็นเพียงข้อมูลสังเกต แต่ยังไม่มีข้อมูลยืนยันชัดเจน ซึ่งระยะฟักตัวของโรคฝีดาษลิงค่อนข้างนาน จากวันที่สัมผัสและวันเริ่มป่วยอยู่ที่ 5 – 21 วัน อาการ คือ มีไข้ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดกล้ามเนื้อ และหมดแรง ไม่ค่อยมีน้ำมูก ผื่นออกตามตัว ภายใน 1 – 3 วันหลังมีไข้ โดยขณะนี้ยังไม่มียาต้านไวรัสที่ทำลายเชื้อโดยตรง ที่ผ่านมามีเพียงวัคซีนฝีดาษคน แต่โรคฝีดาษลิงสามารถรักษาหายได้ ความรุนแรงของโรคถือว่ายังไม่ได้น่ากังวล
กระทรวงสาธารณสุข ระบุ ยังไม่พบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงในประเทศไทย มั่นใจมาตรการป้องกันสามารถรับมือได้ ด้าน ด้านองค์การอนามัยโลก ประเมินความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง
ข่าวที่น่าสนใจ
นายแพทย์โอภาส เปิดเผยอีกว่า ตอนนี้ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องฉีดวัคซีนฝีดาษ แต่ทางกระทรวงสาธารณสุข ก็ไม่ได้ประมาท มีมาตรการที่เฝ้าระวังเข้มงวด หากพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิง ต้องแยกทำการกักตัวและสอบสวนโรค เพื่อควบคุมวงระบาดของโรคและทำการรักษาให้ทันท่วงที ซึ่งประเทศไทยยังไม่พบรายงาน ผู้ติดเชื้อ มีผู้ป่วยสงสัย 6 คน แต่ผลออกมาแล้วเป็นเพียงเชื้อเริม ไม่ใช่ฝีดาษลิง ถึงแม้ว่าไทยจะมีโอกาศพบผู้ป่วยจากการเดินทางเข้าประเทศ แต่เชื่อว่า ระบบเฝ้าระวังและคัดกรอง จะสามารถตรวจพบได้ รวมถึงแผนเตรียมจัดหายา และวัคซีนโรคเพิ่มเติมในอนาคต
ขณะเดียวกัน สำหรับสถานการณ์ทั่วโลก พบโรคฝีดาษลิง ใน 43 ประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในแถบยุโรป มีผู้ป่วยยืนยัน 920 คน ผู้ป่วยสงสัย 70 คน โดยพบว่าระยะระบาดของโรคไม่เร็วเหมือนโควิด-19 อาการไม่รุนแรง และขณะนี้ ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต โดยองค์การอนามัยโลก ได้ประเมิน โรคฝีดาษลิง อยู่ในระดับความเสี่ยงปานกลาง ยังไม่ได้อยู่ในภาวะฉุกเฉินเ นื่องจากการระบาดยังไม่รวดเร็ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-