“สำลักสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ” คือ หลังคร่าชีวิต น้องอลิส

สำลักสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ

ภาวะ "สำลักสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ" คืออะไร หลังคร่าชีวิต อลิส อริศรา เน็ตไอดอลชื่อดัง ภาวะนี้อันตรายแค่ไหน หากเกิดขึ้นมีวิธีปฐมพยาบาลยังไง ดูเลย

“สำลักสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ” การปฐมพยาบาลผู้มีสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ มีกี่กรณี Heimlich คือ จากกรณี อลิส อริศรา (อลิสเน็ตไอดอล) เน็ตไอดอลชื่อดังยุคแรก ๆ ได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา จากภาวะสำลักสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ สร้างความเสียใจให้แก่ครอบครัวและแฟนคลับเป็นอย่างมาก แล้วภาวะนี้คืออะไร หากเกิดเหตุขึ้นสามารถปฐมพยาบาลให้รอดอย่างทันท่วงทีได้ไหม มาทำความรู้จักที่นี่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยเมื่อวานนี้ (6 มิถุนายน 2565) เกิดข่าวช็อกในโลกออนไลน์เป็นอย่างมาก เมื่อทางด้านเน็ตไอดอลชื่อดัง อลิส อริศรา จากไปอย่างสงบ ก่อนที่ต่อมาทางด้านเพื่อนสนิทของเธอได้ออกมาชี้แจงถึงสาเหตุการเสียชีวิตที่แท้จริงผ่านเฟซบุ๊ก Sirikanda Chaiburut ว่า มาทำความเข้าใจในการจากไปของน้องอลิสและขอให้ทุกคนให้เกียรติน้องและครอบครัวด้วยนะคะ (อย่าพูดถึงน้องในทางเสียหายถ้าไม่รู้จริง)

 

 

สำลักสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ

 

 

หลายคนถามป่านมาภาวะที่น้องอลิสเป็นคืออะไร ‘ภาวะสำลักสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ’ เกิดจากอาหาร (ข้าวเหนียวหมูปิ้ง) ติดค้างอุดตันในระดับของกล่องเสียงหรือหลอดลมทำให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ ทำให้น้องหายใจไม่สะดวกและด้วยภาวะนี้ทำให้สมองขาดออกซิเจน เป็นเหตุทำให้เกิดภาวะเจ้าหญิงนิทรา น้องนอนโรงพยาบาลติดเตียงมาถ้ารวมวันนี้ด้วยจะครบ 3 เดือนพอดี กลางดึกเมื่อคืนน้องมีภาวะไข้ขึ้นรุนแรงและหายใจไม่ออกอย่างรุนแรงและจากไปอย่างสงบเวลา 12.50 ของวันนี้

 

 

ไม่ชอบให้ใครพูดถึงน้องในทางไม่ดีและนี่คือสาเหตุโดยตรงทางการแพทย์ที่แพทย์แจ้งมาและจากคุณแม่โดยตรงเลย Rip นางฟ้าคนสวยของพี่
ขอร้องนะคะอย่า comment หรือพูดถึงน้องในทางไม่ดีช่วยให้เกียรติน้องอลิสและครอบครัวด้วย ขออนุญาตลงรูปนี้เพราะเป็นรูปที่จะตั้งไว้หน้าศพ ช่วยกันเลือกกับคุณแม่.. น้องดูสดใสและตัวน้องเองก็ชอบสีชมพูมากด้วย ปล. Facebook IG ของน้องอลิสไม่มีใครสามารถรู้รหัสและเข้าใช้งานได้นะคะ

 

 

สำลักสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ

 

 

 

โดย ภาวะสำลักสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ นั้นคืออะไร ทางด้าน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัมหิดล ได้ให้ข้อมูลความรู้ ไว้ดังนี้  (ปัญหาสำลัก)  สิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายเป็นปัญหาที่มีความสำคัญและอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ มักพบในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี  ซึ่งเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น สนใจชอบค้นคว้า ทดลองด้วยตนเอง จึงมักเอาสิ่งแปลกปลอมใส่ไปในช่องต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะช่องทางเดินหายใจ อันได้แก่  รูจมูก และปาก

 

 

ประกอบกับฟันกรามที่ยังขึ้นไม่ครบสมบูรณ์ทำให้ไม่สามารถบดเคี้ยวอาหารชิ้นโตให้ละเอียดเพียงพอ จึงอาจเกิดการสำลักในระหว่างรับประทานอาหาร และวิ่งเล่นไปด้วย ในผู้ใหญ่สามารถเกิดปัญหาสำลักได้เช่นเดียวกัน เมื่อผู้ป่วยพยายามจะทำกิจกรรมหลายๆอย่างในขณะกินอาหาร เช่น พูดหัวเราะ  เป็นต้น  บางครั้งฟันปลอมที่ยึดติดไม่แน่นพอ อาจเลื่อนหลุดลงสู่ทางเดินหายใจหรือทางเดินอาหารโดยไม่ได้ตั้งใจเช่นเดียวกัน

 

 

 

สำลักสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ

 

 

 

ปัญหาที่เกิดตามหลังการสำลัก

  1. ทำให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก ซึ่งทางเดินหายใจมีขนาดเล็กอยู่แล้ว การอุดกั้นแม้เพียงเล็กน้อย อาจทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
  2. เกิดการอุดกั้นของหลอดลมส่วนปลาย ทำให้เกิดภาวะปอดแฟบ ปอดพอง หรือหอบหืดได้
  3. เกิดการอุดกั้นการระบายของเสมหะในทางเดินหายใจ ทำให้เกิดปัญหาการอักเสบติดเชื้อตามมา เช่น ปอดอักเสบ, หลอดลมอักเสบ เป็นต้น
  4. สิ่งแปลกปลอมบางชนิด เช่น ถ่านนาฬิกาถ่านเครื่องคิดเลข  เมื่อตกค้างในทางเดินหายใจจะทำปฏิกิริยากับเสมหะหรือสิ่งคัดหลั่งต่าง ๆ เกิดเป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นด่างเข้มข้นรั่วซึมออกจากตัวถ่าน ทำให้เกิดการทำลายของเนื้อเยื่อข้างเคียงอย่างรุนแรง จนบางครั้งเกิดการทะลุของอวัยวะภายในเข้าสู่ช่องอกเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

 

 

ภาวะฉุกเฉินกรณีทางเดินหายใจอุดกั้น

เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจผู้ป่วยจะมีอาการสำลัก ไออย่างรุนแรง และมีอาหารหายใจลำบากได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดรูปร่างและตำแหน่งของสิ่งแปลกปลอม สิ่งแปลกปลอมขนาดใหญ่มักติดค้าง และเกิดการอุดตันในระดับของกล่องเสียงหรือหลอดลมส่วนต้น ทำให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจอย่างสมบูรณ์และเฉียบพลัน ผู้ป่วยมักมีประวัติสำลักในขณะรับประทานอาหาร กุมฝ่ามือไว้ที่ลำคอ พูดไม่มีเสียง กระสับกระส่าย หายใจไม่เข้า ริมฝีปากเขียวคล้ำ ภาวะนี้ถือเป็นภาวะฉุกเฉินเนื่องจากผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ภายในไม่กี่นาที

 

 

แนะนำให้ใช้วิธีของ Heimlich ช่วยเหลือผู้ป่วยโดยในผู้ใหญ่ หรือเด็กโต ให้ทำในท่านั่งหรือยืนโน้มตัวไปทางด้านหน้าเล็กน้อย ผู้ช่วยเหลือเข้าทางด้านหลัง ใช้แขนสอดสองข้างโอบผู้ป่วยไว้  มือซ้ายประคองมือขวาที่กำมือวางไว้ที่ใต้ลิ้นปี่  ดันกำมือขวาเข้าใต้ลิ้นอย่างรวดเร็วเพื่อให้เกิดแรงดันในช่องท้อง ดันเข้าใต้กระบังลมผ่านไปยังช่องทรวงอกเพื่อดันให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออกจากกล่องเสียง ในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ปีอาจใช้วิธีตบหลังหรือใช้ฝ่ามือวางลงบนทรวงอก แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างกดลงบริเวณใต้ลิ้นปี่

 

 

 

สำลักสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ

 

 

 

ข้อพึงระวัง

  1. ไม่แนะนำให้ใช้นิ้วมือกวาดไปในลำคอเด็ก เนื่องจากอาจทำให้สิ่งแปลกปลอมเคลื่อนตัวไปสู่ตำแหน่งที่มีการอุดกั้นมากขึ้น
  2. วิธีของ Heimlich ดังกล่าวควรใช้ในกรณีฉุกเฉินที่ผู้ป่วยมีการอุดกั้นของทางเดินหายใจอย่างสมบูรณ์เท่านั้นและผู้ช่วยเหลือควรมีความชำนาญพอสมควร ในกลุ่มผู้ป่วยที่ยังพอมีสติ หายใจเองได้ ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลมากกว่า เนื่องจากการตัดสินใจใช้วิธีดังกล่าวในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจอย่างสมบูรณ์ อาจทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปกว่าเดิม  ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของแพทย์พิจารณาให้การรักษา และนำสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินหายใจด้วยวิธีที่เหมาะสม  ปลอดภัย ได้แก่การดมยาสลบและใช้กล้องส่องตรวจทางเดินหายใจ
  3. สิ่งแปลกปลอมขนาดเล็ก อาจมีอาการไม่ชัดเจนและเกิดผลแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ  หอบหืด หลังการสำลักนานเป็นวันถึงสัปดาห์ได้  พี่เลี้ยงเด็กหรือตัวเด็กเองอาจกลัวถูกตำหนิหรือทำโทษจึงปกปิดประวัติการสำลักสิ่งแปลกปลอมไว้

 

 

คำแนะนำเพื่อป้องกันการสำลักสิ่งแปลกปลอม

  1. เลือกชนิดและขนาดของอาหารที่เหมาะสมให้แก่เด็กในวัยต่าง ๆ เพื่อป้องกันการสำลักอาหารและไม่ควรป้อนอาหารเด็กในขณะที่เด็กกำลังวิ่งเล่นอยู่
  2. เลือกชนิด  รูปร่างและขนาดของของเล่นให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก  รวมทั้งจัดเก็บสิ่งของที่อาจเป็นอันตราย ให้ปลอดภัยจากการหยิบฉวยของเด็ก
  3. สำหรับในผู้ใหญ่ที่มีปัญหาเรื่องฟัน  จะต้องปรึกษาทันตแพทย์เพื่อจัดหาฟันปลอมที่เหมาะสม เลือกรับประทานอาหารที่ไม่ต้องบดเคี้ยวรุนแรงมาก  ขนาดชิ้นอาหารที่พอเหมาะ  และควรถอดฟันปลอมออกก่อนเข้านอน

 

 

คำแนะนำในกรณีที่เกิดการสำลักสิ่งแปลกปลอม

  1. รีบนำส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ทันที
  2. งดน้ำ งดอาหารผู้ป่วยทันทีที่เกิดการสำลัก
  3. กรณีเป็นเด็กให้สอบถามผู้อยู่ในเหตุการณ์ว่า เด็กเกิดการสำลักในขณะทำอะไรอยู่  เช่น กินอาหาร  ขนม  เล่นของเล่น เป็นต้น  พร้อมทั้งนำตัวอย่างของอาหาร  ขนม สิ่งแปลกปลอมที่สงสัยมาด้วยเพื่อเป็นประโยชน์ในการวางแผนการรักษาของแพทย์

 

 

 

สำลักสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ

 

 

ขอขอบคุณ : Sirikanda Chaiburut , si.mahidol 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น