“โรคฉี่หนู” 2565 หน้าฝน ระวัง น้ำท่วมขัง อันตรายกว่าที่คิด

โรคฉี่หนู, หน้าฝน, ระวัง, น้ำท่วมขัง, อันตราย, ฤดูฝน, ไข้สูง, ปวดศีรษะ, สับสน, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

"โรคฉี่หนู" เป็นโรคที่พบว่าระบาดมากที่สุดในช่วงฤดูฝน น้ำฝนจะไหลเอาเชื้อโรคต่าง ๆ มารวมกันอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมขัง ต้องระวัง อันตรายกว่าที่คิด

“โรคฉี่หนู” ภัยที่มากับ หน้าฝน ต้องระวัง น้ำท่วมขัง อันตรายกว่าที่คิด เช็คด่วน อาการแสดงภายหลังการติดเชื้อ หากไม่รีบพบแพทย์รักษาและปล่อยไว้นานจนอาการมากขึ้นอาจเสียชีวิตได้ รายละเอียด ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

 

โรคฉี่หนู (Leptospirosis)

 

  • เป็นโรคที่พบระบาดได้ในช่วงฤดูฝน น้ำฝนจะชะล้างเอาเชื้อโรคต่าง ๆ จากสภาพแวดล้อมไหลมารวมกันอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมขัง
  • โรค ฉี่ หนู เกิดจากเชื้อก่อ โรค ฉี่ หนู (pathogenic Leptospires) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่อยู่ในปัสสาวะของสัตว์ที่เป็นพาหะ เช่น หนู สุกร โค กระบือ สุนัข เป็นต้น
  • โดยสัตว์ที่เป็นพาหะอาจไม่แสดงอาการ แต่มีการติดเชื้อที่ท่อไตทำให้มีการปล่อยเชื้อออกมากับปัสสาวะ ซึ่งเชื้อจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมขังตามดิน โคลน แอ่งน้ำ ร่องน้ำ น้ำตก แม่น้ำ ลำคลอง และสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานเป็นเดือน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม

 

คนติดเชื้อและป่วยได้อย่างไร

 

  1. สัมผัสเชื้อก่อ โรค ฉี่ หนู จากการสัมผัสสัตว์ที่เป็นพาหะโดยตรง เช่น ปศุสัตว์ หรือสัตวแพทย์
  2. ทางอ้อมโดยการย่ำน้ำ เล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมที่สัมผัสสิ่งแวดล้อมที่ดินและน้ำปนเปื้อนเชื้อก่อ โรค ฉี่ หนู อยู่ เช่น ชาวนา ชาวสวน โดยเฉพาะรายที่ผิวหนังบริเวณที่แช่น้ำมีบาดแผล หรือว่ายน้ำแล้วมีการสำลักน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าสู่ร่างกาย เป็นต้น

 

* แต่ไม่พบแต่ไม่พบการติดต่อจากคนถึงคนโดยตรง โดยระยะฟักตัวของโรคตั้งแต่ได้รับเชื้อจนป่วยจะใช้เวลาประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ แต่อาจนานได้ถึง 3 สัปดาห์

 

 

 

 

โรคฉี่หนู, หน้าฝน, ระวัง, น้ำท่วมขัง, อันตราย, ฤดูฝน, ไข้สูง, ปวดศีรษะ, สับสน, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

 

 

 

 

ผู้ที่ความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อ

 

  1. ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ประสบอุทกภัยที่มีน้ำท่วมขัง มีการเดินย่ำน้ำ ลุยน้ำท่วม
  2. ผู้ที่ทำงานในภาคเกษตร (ชาวนา ชาวไร่ เลี้ยงสัตว์ เช่น คนงานบ่อปลา ฯลฯ) หรือทำงานในโรงฆ่าสัตว์
  3. คนงานขุดลอกท่อระบายน้ำ
  4. ผู้ที่ชอบเดินป่า ท่องเที่ยวตามแม่น้ำ ทะเลสาบ น้ำตก หรือเล่นกีฬาทางน้ำตามธรรมชาติ

 

อาการแสดงภายหลังการติดเชื้อ

 

กลุ่มที่อาการไม่รุนแรง

 

  • จะมีอาการไข้สูงแบบทันทีทันใด
  • ปวดศีรษะ
  • สับสน
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

 

ซึ่งอาการดังกล่าวคล้ายโรคติดเชื้อหลายชนิด เช่น ไข้เลือดออก เป็นต้น โดยอาการที่พบบ่อยและทำให้นึกถึง โรค ฉี่ หนู ได้แก่

 

  • อาการปวดกล้ามเนื้อที่รุนแรง
  • อาการตาแดง หรือ เลือดออกใต้ตาขาว

 

ผู้ป่วยกลุ่มนี้ถ้าได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของโรค และเป็นอยู่ได้นานถึง 1 สัปดาห์

 

กลุ่มที่อาการรุนแรง

 

ผู้ป่วยนอกจากจะมีอาการไข้สูง ปวดเมื่อย เหมือนกลุ่มแรกแล้ว จะมีอาการแทรกซ้อนของโรคร่วมด้วย เช่น

 

  • ตาเหลือง
  • ตัวเหลือง
  • คอแข็ง
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • การทำงานของไตลดลง
  • ปอดอักเสบ
  • เลือดออกผิดปกติ รายที่รุนแรงมากอาจพบเลือดออกในปอดได้

 

* กลุ่มนี้ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันการเสียชีวิต

 

 

 

 

โรคฉี่หนู, หน้าฝน, ระวัง, น้ำท่วมขัง, อันตราย, ฤดูฝน, ไข้สูง, ปวดศีรษะ, สับสน, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

 

 

 

 

 

การป้องกันการติดเชื้อ

 

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำหรือสิ่งแวดล้อมเพราะอาจปนเปื้อนปัสสาวะสัตว์ที่อาจมีเชื้อโรค ฉี่ หนู เช่น

 

  1. การเดินลุยน้ำ
  2. ย่ำโคลน
  3. การแช่น้ำนาน ๆ โดยเฉพาะกรณีซึ่งมีบาดแผลตามร่างกาย หรือแค่รอยถลอก รอยขีดข่วน

 

  • หากจำเป็นต้องเดินลุยน้ำ

 

  1. ควรให้สวมรองเท้าบูทเพื่อป้องกันน้ำไม่ให้น้ำถูกแผล
  2. ระวังอย่าให้มีน้ำขังในรองเท้าบูทที่ใส่
  3. กำจัดขยะไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของหนู
  4. กำจัดหนูตามแหล่งที่อยู่อาศัย
  5. หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำในแหล่งน้ำที่อาจมีเชื้อโรค ฉี่ หนู ปนเปื้อนอยู่

 

ผู้ที่ทำงานเสี่ยงต่อโรค

 

  • ควรใช้ถุงมือยาง
  • รองเท้าบูท
  • หลีกเลี่ยงการทำงานในน้ำ

 

ถ้าต้องลุยน้ำเป็นเวลานานหรือจำเป็นต้องทำงานในสภาวะดังกล่าวควรสวมใส่เครื่องป้องกัน หากไปแช่หรือย่ำน้ำที่อาจมีเชื้อโรคฉี่หนูปนเปื้อนอยู่ควรรีบอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายโดยเร็วและเช็ดตัวให้แห้ง

 

หมายเหตุ: ลักษณะอาการของโรค

 

  • จะมีไข้สูงทันทีทันใด
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดตามกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะบริเวณน่อง

 

หากมีอาการดังกล่าวให้รีบพบแพทย์ทันที และแจ้งประวัติการเดินลุยน้ำ ย่ำโคลน หรือการสัมผัสน้ำแก่แพทย์ผู้รักษาให้ทราบด้วย หากไม่รีบรักษาและปล่อยไว้นานจนอาการมากขึ้นอาจเสียชีวิตได้

 

 

 

 

โรคฉี่หนู, หน้าฝน, ระวัง, น้ำท่วมขัง, อันตราย, ฤดูฝน, ไข้สูง, ปวดศีรษะ, สับสน, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูล : Siriraj Piyamaharajkarun Hospital

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF
ทบ.ยืนยันอีกรอบ! ปมร้อน “แสตมป์” ไม่เกี่ยวกองทัพ พบไม่เคยร้อง 112
ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”
KIA-PDF ตีวงล้อมพม่า! ทอ.โผล่ช่วย แต่ยิงพลาดเป้า-สอยร่วงพวกเดียวกัน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น