“ชัยวุฒิ” ยันเจ้าหน้าที่ถ่ายภาพ “แอนนา” ไม่ผิดทำตามอำนาจหน้าที่

"ชัยวุฒิ" ย้ำ กฎหมาย PDPA มุ่งคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ปิดกั้นสื่อฯเสนอข่าวได้ปกติ ยัน จนท.ถ่ายภาพ "แอนนา" ไม่ผิด ทำตามอำนาจหน้าที่

วันที่ 7 มิ.ย.65 นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวถึง กรณีที่ นายวรินทร วัตรสังข์ หรือ “แอนนา” หนึ่งในผู้ต้องหาคดีหวยทิพย์ เว็บไซต์โชคดีล็อตเตอรี่ออนไลน์ ที่นำสลากกินเเบ่งรัฐบาลมาขายออนไลน์ โดยไม่มีสลากอยู่จริง ระบุว่า การเผยแพร่ภาพตนเองอาจเข้าข่ายการละเมิด พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA หรือไม่ ว่า โดยหลักการกฎหมายดังกล่าวมุ่งคุ้มครองสิทธิของประชาชนในข้อมูลส่วนตัวที่เก็บไว้ตามหน่วยงานต่างๆ ไม่ให้นำไปใช้ให้เกิดความเสียหาย แต่มีข้อยกเว้นในมาตรา 4 (3) ที่ยกเว้นในการประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน การนำเสนอข่าวต่างๆไม่เข้าข่ายเป็นความผิดตามกฏหมาย PDPA ดังนั้นสื่อมวลชนสามารถนำเสนอข่าวได้อย่างอิสระ ไม่ต้องกังวลกฎหมายดังกล่าว แต่ต้องเป็นไปตามประมวลจริยธรรมของวิชาชีพสื่อมวลชน ดังนั้นสื่อมวลชนอย่ากังวล หากนำเสนอข่าวตามหน้าที่ อย่างตรงไปตรงมา ก็ไม่มีความผิด ตามกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น ถ้าสื่อมวลชนจะโต้เถียงกัน ก็ต้องเป็นเรื่องของการประกอบวิชาชีพตามมาตรฐานจริยธรรมสื่อมวลชน

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ส่วนที่แอนนา ระบุว่าการที่เจ้าหน้าที่ได้บันทึกภาพตนเองนั้นถือว่าผิดกฎหมาย PDPA ถือเป็นการเข้าใจผิดหรือไม่ นายชัยวุฒิ กล่าวว่าในมาตรา 3 ระบุว่าการดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐ หรือหน่วยงานรัฐ ซึ่งมีกฎหมายกำกับดูแลอยู่แล้ว ก็ต้องว่ากันไปตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ เช่นเรื่องการสืบสวนสอบสวน การดำเนินคดีต่างๆ ก็มีกฎหมายกำกับดูแลให้อำนาจเจ้าหน้าที่อยู่แล้ว ส่วนจะดำเนินการได้มากน้อยแค่ไหน ก็เป็นเรื่องของกฎหมายกำหนด

นายชัยวุฒิ กล่าวว่า ขณะเดียวกันในมาตรา 4 มีข้อยกเว้นอีกเรื่อง คือ ยกเว้นเรื่องงานที่ทำตามปกติของหน่วยงานด้านความมั่นคงเพื่อประโยชน์สาธารณะ ก็จะไม่เข้าข่ายความผิดตามกฏหมาย PDPA เพราะหน่วยงานความมั่นคง มีการสืบสวนสอบสวนและเก็บข้อมูลของผู้ต้องหาและบุคคลที่มีความผิด ซึ่งได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันในหน่วยงานอยู่แล้ว เป็นการทำตามอำนาจหน้าที่ เพื่อความมั่นคงของรัฐและประโยชน์ สาธารณะ ไม่มีความผิดตามกฏหมาย PDPA

 

“ขออย่านำเรื่องการดำเนินคดี หรือการนำเสนอข่าว มาปนกับกฎหมาย PDPA เพราะจะทำให้ประชาชนเกิดความสับสน เพราะกฎหมาย PDPA เป็นการมุ่งเน้นคุ้มครองข้อมูลของประชาชน เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อมูลส่วนตัว ที่ไม่อยากเปิดเผยและได้มีข้อมูลอยู่กับหน่วยงานองค์กรต่างๆ ดังนั้น ต้องมีการเก็บข้อมูลให้ดี อย่าให้รั่วไหลและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และทำให้เกิดความเสียหายกับบุคคล ส่วนการเสนอข่าวหรือการทำคดีของเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่อยู่ในกฎหมาย PDPA อย่านำมาปนกัน”

ทั้งนี้ หากมีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลทางกระทรวง มีสำนักงานที่ดูแลเรื่องดังกล่าวอยู่ และติดต่อมายังเว็บไซต์ของกระทรวงได้ และหากมีข้อสงสัยหรือเรื่องร้องเรียนต่างๆก็สามารถสอบถามได้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น