‘ธณิกานต์’ ขอบคุณ ครม.ไฟเขียว ปลดล็อก #สมรสเท่าเทียม

‘ธณิกานต์’ ขอบคุณ ครม.ไฟเขียว ปลดล็อก #สมรสเท่าเทียม ชี้ 3 ประเด็นที่ต้องคำนึงในเวทีสภาฯ

น.ส.ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตบางซื่อ-ดุสิต พรรคประชารัฐ ขอบคุณ ครม.ไฟเขียวปลดล็อก #สมรสเท่าเทียม พร้อมให้ความเห็นว่า นับเป็นความก้าวหน้าของประเทศไทย และน่ายินดีที่วันนี้ร่างกฎหมาย #สมรสเท่าเทียม ได้กลับสู่วาระของสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาในขั้นต่อไป ซึ่งหัวใจสำคัญของการทำงานฝ่ายนิติบัญญัติ คือ ผลักดันให้เกิดความเท่าเทียมทางกฎหมายแก่คน ทุกคน ทุกเพศ ด้วยการตรากฎหมายรับรองสิทธิและสวัสดิการอย่างเท่าเทียม

ข่าวที่น่าสนใจ

น.ส.ธณิกานต์ กล่าวถึงขั้นตอนของสภาผู้แทนราษฎร ว่า ‘ขั้นแรกของสภาจะเป็นการลงมติรับหลักการ ต่อไปก็จะเป็นการตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อหาฉันทามติรายมาตราและให้ได้แนวทางการปลดล็อกอันนำไปสู่ความเท่าเทียมของคนทุกเพศอย่างแท้จริง ขอทุกฝ่ายร่วมผลักดันให้เกิดสังคมที่ยุติการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง เด็กผู้หญิง และผู้มีความหลากหลายทางเพศ’

น.ส.ธณิกานต์ กล่าวว่า มี 3 ประเด็นหลัก ที่ต้องคำนึงถึงและร่วมหาทางออกในชั้นกรรมาธิการ รัฐสภา คือ

1. สวัสดิการภาครัฐ เนื่องจากยังไม่มีการขึ้นทะเบียนนับจำนวน LGBTQ+ ในประเทศไทย ซึ่งกระทรวงการคลังขอเวลา 3 ปี หลังจากกฎหมายฉบับนี้ผ่าน เพื่อจัดสรรงบประมาณในการดูแล ให้ได้รับสิทธิเท่าเทียมกันทุกประการ เพื่อสอดคล้องกับหลักการจัดสรรงบประมาณที่คำนึงถึงมิติทางเพศ หรือ Gender Responsive Budgeting #GRB ซึ่งสนับสนุนความเสมอภาคยิ่งขึ้น

2. ผลของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 20/2564 ส่งผลให้การสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) มาตรา 1448 นั้นยังคงทำได้เฉพาะ ระหว่างชายกับหญิง อยู่ต่อไป ดังนั้น การแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) โดยปรับแก้คำนิยามใหม่ที่คำนึงถึงทุกเพศ จะเป็นไปได้อย่างไรบ้าง เช่น ใช้คำว่า บุคคล 2 คน แทน ชาย-หญิง, ใช้คำว่า คู่สมรส แทน สามี-ภรรยา, ใช้คำว่า บุพการี แทน บิดา-มารดา

3. สิทธิพลเมือง ถ้าจะยกระดับให้กฎหมายของไทยก้าวสู่ระดับสากล ต้องคำนึงถึงสิทธิของความเป็นพลเมืองโลก หรือ Global Citizen แต่กรณีคู่รัก LGBTQ+ ชาวต่างชาติ เข้ามาขอแต่งงานและจดทะเบียนในประเทศไทย ทางกฤษฎีกาได้ชี้ถึงประเด็นเรื่องค่านิยมและความเชื่อตามหลักศาสนา ที่อาจส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ เช่น มุสลิมกับมุสลิมที่เป็น LGBTQ+ ต่างชาติ เข้ามาแต่งงานกันในประเทศไทย ซึ่งขัดกับหลักศาสนาและอาจขัดกับประเทศที่ตนอาศัย ส่งผลต่อความมั่นคงของไทยหรือไม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น