"มะเร็งปอด" Chest x-ray , CT scan , Low dose CT scan เปรียบเทียบข้อดีและข้อจำกัดของแต่ละวิธีในการตรวจคัดกรอง ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลงได้
ข่าวที่น่าสนใจ
ข้อดีและข้อจำกัด วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดแบบต่าง ๆ
Chest x-ray หรือ เอกซเรย์ทรวงอก
- ทำได้ง่ายและรวดเร็ว เสียค่าใช้จ่ายน้อย แต่มีประสิทธิภาพไม่มากพอที่จะคัดกรองมะเร็ง ปอด ในระยะเริ่มต้นที่มีขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตร และถ้าอยู่ในตำแหน่งที่หัวใจ กระบังลม หรือกระดูกมาบดบัง ยิ่งทำให้มองไม่เห็นก้อนผิดปกติได้
CT scan หรือ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์
- มีความแม่นยำสูงกว่ามาก แต่เป็นวิธีที่ได้รับกัมมันตภาพรังสีมากกว่าเอกซเรย์ปอดถึง 120 เท่า
Low dose CT scan หรือ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องอกแบบใช้รังสีต่ำ
- มีความแม่นยำกว่าเอกซเรย์ทรวงอก เห็นก้อนขนาดตั้งแต่ 2 – 3 มิลลิเมตรขึ้นไป เห็นได้ทุกตำแหน่ง เพราะเห็น 3 มิติ ส่งผลให้พบมะเร็ง ปอด ได้รวดเร็วตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง ปอด ลงได้ 20%
“ดังนั้น การตรวจเอกเรย์คอมพิวเตอร์ช่องอกแบบใช้รังสีต่ำ จึงเป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็ง ปอด ที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ” หมอมนูญ ระบุและบอกว่า คนไข้ได้รับกัมมันตภาพรังสีน้อยกว่าการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ธรรมดา 8 เท่า เปรียบได้กับได้รับกัมมันตภาพรังสีจากการทำเอกซเรย์ปอด 15 ครั้ง
ยกตัวอย่าง
- ผู้ป่วยหญิง อายุ 80 ปี ไม่สูบบุหรี่ ไม่ไอ ไม่เหนื่อย น้ำหนักลด 7 กิโลกรัมในเวลา 6 เดือน
- ตรวจ CEA ค่ามะเร็งในเลือดสูง 19 (ค่าปกติน้อยกว่า 4.3)
- เอกซเรย์ปอดเฉพาะด้านหน้าไม่พบอะไรผิดปกติ (ดูรูป)
- คอมพิวเตอร์ทรวงอกในวันเดียวกัน เห็นก้อนขนาด 2.5 เซนติเมตร ที่ปอดข้างซ้ายด้านล่าง อยู่ด้านหลังของหัวใจ จึงทำให้เอกซเรย์ปอดไม่เห็นก้อนผิดปกติ (ดูรูป)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง