ติดตามความคืบหน้า หลังศาลมีคำพิพากษาคดี พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล หรือผกก.โจ้ อดีตผกก. สภ.เมืองนครสวรค์กับพวกรวมกันฆ่าทารุณผู้เสียหาย ด้วยการประหารชีวิต ก่อนลดโทษลง 1 ใน 3 คงจำคุกตลอดชีวิต พ.ต.อ.ธิติสรรค์ กับพวก6 คน ส่วนจำเลยที่ 6 โดนโทษจำคุก 5 ปี4 เดือน สร้างความเคลือบแคลงสงสัยขึ้นในสังคม
ล่าสุด วันนี้ ( 9 มิ.ย.) นายอิทธิพร แก้วทิพย์ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ได้ออกมาให้ความเห็นว่า เกี่ยวกับคดีดังกล่าวพนักงานอัยการจะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาอีกหรือไม่ อธิบดีอัยการคดีศาลสูงจะเป็นผู้พิจารณา เพราะถึงแม้ศาลจะจำคุกตลอดชีวิต เเต่อัยการจะอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์ก็สามารถทำได้ ยกตัวอย่างเช่น หากศาลลดโทษลงแล้ว โทษน้อยเกินไป อัยการก็อุทธรณ์ให้ลงโทษหนักขึ้นได้ ส่วนคดีนี้เข้าใจเบื้องต้นว่า ศาลลงโทษทุกข้อหา และประหารชีวิตเต็มตามฟ้องของอัยการแล้ว ส่วนสาเหตุที่ลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิตเพราะจำเลยได้บรรเทาผลร้ายแล้ว จึงถือเป็นเหตุบรรเทาโทษ อันนี้ก็เป็นดุลยพินิจของศาล
โฆษกอสส.ชี้คดีโจ้ถุงดำ กฎหมายเปิดช่องให้ศาลอุทธรณ์ ช่วยกรองอีกชั้น ส่วนอัยการจะยื่นอุทธรณ์โทษเพิ่มหนือไม่ อยู่ในดุลยพินิจของอัยการศาลสูง ชี้จะแก้ต่างในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกันให้ตำรวจหรือไม่ ยังมีประเด็นต้องพิจารณา
ข่าวที่น่าสนใจ
อย่างไรก็ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา245วรรคสอง บัญญัติว่า คดีที่ศาลชั้นต้นลงโทษประหาร หรือจำคุกตลอดชีวิต และจำเลยไม่มีการอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นต้องส่งสำนวนต่อให้ศาลอุทธรณ์ และถือว่าคดียังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน หมายความว่า ในคดีที่ศาลระวางโทษสูงถึงประหารจำคุกตลอดชีวิต และจำเลยไม่ยื่นอุทธรณ์ กฎหมายจึงต้องการให้มีการกรองอีกครั้งโดยศาลสูง ถ้าศาลอุทธรณ์ยังเห็นด้วยกับศาลชั้นต้น คดีก็ถึงที่สุด
นายอิทธิพร กล่าวต่อไปว่า ในคดีส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องด้วยคดีอาญา ซึ่งพ่อแม่ของนายมาวิน ผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการ ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย 1.5 ล้านบาท แต่ศาลยกฟ้องและให้ไปใช้สิทธิฟ้องร้องหน่วยงานต้นสังกัด เพราะเป็นกรณีตำรวจทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ จึงต้องใช้ช่องทางตามพรบ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ มาตรา5 นั้น อัยการมีหน้าที่ต้องแก้ต่าง ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วยหรือไม่ แม้เป็นหน้าที่ของพนักงานอัยการจะต้องแก้ต่างให้หน่วยงานของรัฐ แต่มีประเด็นต้องพิจารณาว่า
1.ที่อ้างว่า เจ้าหน้าที่ ทำไปตามหน้าที่นั้น มันจริงหรือไม่ ไม่ใช่ว่าอัยการจะรับให้ทุกเรื่อง ฉะนั้น อัยการอาจจะไม่รับแก้ต่างให้ก็ได้เป็นดุลยพินิจอัยการ
2.หากเป็นการทำละเมิดเนื่องในการปฏิบัติหน้าที่จริง แต่ฝ่ายผู้เสียหายตั้งฟ้องทุนทรัพย์สูงจนเกินไปเช่นบางคดี50ล้านก็มีทั้งที่ความจริงเสียหายไม่ถึง5แสนบาท อัยการก็ต้องพิสูจน์ในศาลว่าค่าเสียหายไม่ถูกต้อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง