“กัญชาเสรี” ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ ห่วงกระทบเด็ก

กัญชาเสรี, กัญชา, ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย, ยาเสพติด, แคนนาบินอยด์, สารสกัดกัญชา, น้ำกัญชา,

"กัญชาเสรี" อาจเสี่ยงกว่าที่คิด ล่าสุด ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ ออกแถลงการณ์เผยไม่มีกฎหมายควบคุม ห่วงกระทบสุขภาพเด็กและวัยรุ่น

“กัญชาเสรี” ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์จุดยืนห่วงผลกระทบต่อสุขภาพเด็กและวัยรุ่น ชี้เข้าถึงได้ง่าย ไม่มีกฎหมายควบคุม ส่งผลกระทบรุนแรง ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์จุดยืนเรื่องผลกระทบของกฎหมาย “กัญชาเสรี” ต่อสุขภาพเด็กและวัยรุ่น โดยระบุข้อความว่า “สืบเนื่องจากประกาศกระทรวงสาธารณสุขในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 9 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา  ประกาศยกเว้นจากการเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 โดยเฉพาะกัญชา

 

 

 

กัญชาเสรี, กัญชา, ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย, ยาเสพติด, แคนนาบินอยด์, สารสกัดกัญชา, น้ำกัญชา,

 

 

 

ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 มิถุนายน จะส่งผลให้ประชาชนทุกคนในประเทศไทย รวมถึงกลุ่มเปราะบาง คือ เด็กและวัยรุ่นสามารถเข้าถึงกัญชาและผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชาได้โดยไม่ผิดกฎหมาย จากการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชา รวมถึงการน้ำกัญชา ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ทำให้เสพติดมาใช้เพื่อนันทนาการ

 

 

 

ในพืชกัญชามีสารแคนนาบินอยด์ (cannabinoid) หลายชนิด แบ่งเป็น

  • สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท (psychoactive) ที่สำคัญ ได้แก่ THC (delta-9-/delta-8 tetrahydrocannabinol
  • สารไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท (non-psychoactive) ที่สำคัญ ได้แก่ แคนนาบินอยด์ (cannabidiol-CBD) ซึ่งในทางการแพทย์มีการนำมาใช้รักษาโรคลมชักชนิดดื้อยากันชัก

 

 

 

กัญชาเสรี, กัญชา, ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย, ยาเสพติด, แคนนาบินอยด์, สารสกัดกัญชา, น้ำกัญชา,

 

สำหรับ THC มีการนำมาใช้ในทางการแพทย์เช่นกัน เช่น ในการรักษาประคับประคองของมะเร็งระยะสุดท้าย แต่หากมีการนำกัญชาหรือสารสกัดกัญชามาใช้เป็นส่วนผสมของอาหารหรือการแปรรูปต่าง ๆ หรือให้มีการใช้กัญชาได้อย่างเสรีโดยไม่มีกฎหมายควบคุม ประชาชนก็จะมีโอกาสได้รับสารแคนนาบินอยด์เหล่านั้นเข้าไปจนอาจจะมีผลกระทบที่รุนแรง โดยเฉพาะผลกระทบต่อสมองของเด็กและวัยรุ่น เช่น

  • พัฒนาการล่าช้า
  • ปัญหาพฤติกรรม
  • เชาวน์ปัญญาลดลง
  • และส่งผลต่ออารมณ์และจิตใจ เช่น มีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคจิตเภท ภาวะฆ่าตัวตาย เสี่ยงต่อการติดสารเสพติดชนิดอื่น ๆ รวมถึงส่งผลเสียต่อสุขภาพกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว”

 

กัญชาเสรี, กัญชา, ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย, ยาเสพติด, แคนนาบินอยด์, สารสกัดกัญชา, น้ำกัญชา,

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนี้ ผลศึกษาที่มีนัยยะสำคัญทางสถิติของสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา (American Psychiatric Association) พบว่า ยิ่งใช้กัญชานาน ยิ่งลด 1Q และขนาดของสมอง โดยวัดระดับสติปัญญา ณ ช่วงอายุ 45 ปี ผลการ์ศึกษาพบว่า กลุ่มที่ได้รับกัญชามีการลดลงของสติปัญญามากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับถึง 8 เท่า รวมถึงมีปัญหาด้านความจำมากขึ้นด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น