“อนุทิน” เตือน อย่าใช้กัญชาในทางที่ผิด

ประเดิมเทปแรก “อนุทิน” โชว์ความสำเร็จ สธ.ในรายการ คุยเรื่องบ้าน คุยเรื่องเมือง จัดเต็ม ปลดล็อกกัญชา ปราบโควิด ยกระดับสิทธิ์บัตรทอง

11 มิถุนายน 2565 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมรายการ “คุยเรื่องบ้าน คุยเรื่องเมือง คุยทุกเรื่อง กับรัฐมนตรี” กรมประชาสัมพันธ์ โดยสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ที่ออกอากาศวันนี้ เป็นเทปแรก โดยนายอนุทิน กล่าวว่า ประเทศไทย เอากัญชาออกมาจากความเป็นยาเสพติดแล้ว ความพยายามของเราเป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และทางเศรษฐกิจ เป็นทางเลือกการประกอบอาชีพ กรุณาอย่าใช้เพื่อความมึนเมา อันที่จริง เราจะทำให้เร็วกว่านี้ วางแผนว่าพระราชบัญญัติควบคุมจะต้องเสร็จในสมัยการประชุมที่แล้ว แต่เพราะติดปัญหาโควิด-19 ไม่สามารถบรรจุเรื่องเข้าไปได้ จะเห็นว่า นอกสภา มีประกาศปลดล็อกของกระทรวงสาธารณสุขนำมาก่อน ดังนั้น เปิดประชุมสภาล่าสุด เราเร่งผลักดันเรื่องเข้าไปพิจารณาทันที เพื่อให้นโยบายมีความสมบูรณ์ ต้องขอบคุณท่านประธานสภา และเพื่อน ส.ส.ที่ช่วยกันดันเรื่องนี้ จนได้พิจารณาอย่างรวดเร็ว และผ่านวาระแรกไปแล้วด้วยคะแนนท่วมท้น จากนี้ เราจะมีคณะกรรมาธิการมาช่วยกันพิจารณา ให้ พ.ร.บ. กัญชา กัญชง เกิดความเหมาะสมต่อการใช้มากที่สุด

ข่าวที่น่าสนใจ

ระหว่างนี้ อย่าใช้ในทางที่ผิด และเรามีประกาศของสาธารณสุขดูแลอยู่ทั้งเรื่องกลิ่น และการก่อความรำคาญ ส่วนท่านที่ต้องการทราบความรู้ เพิ่มเติม และการจดทะเบียนขอให้เข้าไปศึกษาได้ในเว็บปลูกกัญ ใครที่คิดว่ากัญชาเป็นยาพิษ มีแต่โทษ ไม่มีคุณ จะบอกว่า ปัจจุบัน มีผู้ประกอบการจำนวนมาก มาจดทะเบียนขอผลิตและจำหน่ายสินค้า เป็นยา เป็นผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพ ก็ชัดเจนว่ากัญชามีประโยชน์ นี่จะเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่สร้างรายได้ให้เกษตรกร ไปจนถึงผู้ประกอบการ และเป็นทางเลือกด้านสุขภาพแก่ประชาชนด้วย จะเห็นว่าคลินิกกัญชา มีผู้ใช้บริการคับคั่ง แล้วยาสูตรกัญชา ก็อยู่ในบัญชียาหลักแล้ว แต่ก็ต้องขอให้ประชาชน ใช้ให้ถูกทาง ตามเป้าหมายของภาครัฐเช่นกัน

จากนั้น นายอนุทิน ได้กล่าวเรื่องการเปลี่ยนโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น ระบุว่า เราอยู่กับโรคนี้มา 3 ปีเศษ สถานการณ์ดีขึ้นตามลำดับ เราต้องเตรียมพร้อม เพื่อต้องอยู่กับโควิด-19 ที่เป็นโรคประจำถิ่น ไม่ว่าเราจะเรียกอะไรอะไร มันก็คือโรคเดิม แต่ที่เปลี่ยนไปคือสังคมเรา มีความพร้อม จนโควิด-19 มีภัยคุกคามน้อยลง ถึงไม่เป็นภัยคุกคามเลย ทุกวันนี้ เราได้ฉีดวัคซีนอย่างครอบคลุม มีแผนจัดการ และสำรองเวชภัณฑ์จำนวนมหาศาล ไปจนถึงความรู้ ความเข้าใจของประชาชน ปัจจัยที่ WHO ใช้ในการยกย่องไทย ให้เป็นประเทศต้นแบบในการรับมือกับสถานการณ์โควิด คือ 1. ผู้บริหารระดับสูงกำหนดนโยบาย และให้การสนับสนุน 2. ระบบสาธารณสุขไทยเข้มแข็ง จากการลงทุนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และระบบปฐมภูมิ 3. ความร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งรัฐ เอกชน สังคม ภาคการศึกษา 4. มีกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชนและชุมชน 5. มีการใช้เทคโนโลยี digital นวัตกรรมและการวิจัย เพื่อการตัดสินใจบนฐานข้อมูล

ที่สำคัญคือวัฒนธรรมคนไทย ที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ไปจนถึงช่วยเหลือระบบสาธารณสุขไทย ตอนเปิดโรงพยาบาลบุษราคัม เราได้รับการสนับสนุนมากมายมหาศาลจากประชาชน ขณะที่นโยบายของกระทรวงฯนั้น เรามองประชาชนเป็นศูนย์กลาง หรือการบริหารจัดการที่ประชาชน ต้องทำมาหากินได้ แต่ถ้าเอาโควิดเป็นศูนย์ หมายถึง เรามุ่งกดยอดเป็นศูนย์ สั่งปิดให้หมด แบบนั้นประชาชนอยู่ไม่ได้ นอกจากนั้น เราพยายามสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพ เราผลิตยาเอง วัคซีน มีทั้งนำเข้า และผลิตในประเทศ เรื่องวัคซีน ขออย่างเดียว ให้ประชาชนมาฉีด

นายอนุทิน กล่าวต่อด้วยว่า อีกหนึ่งประเด็นที่จะต้องเอ่ยถึงคือเรื่องของระบบหลักประกันสุขภาพของไทย ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ระบบของไทยมีความเข้มแข็ง โดยเฉพาะพื้นที่ต่างจังหวัด ที่เครือข่ายเชื่อมถึงกันหมด จากโรงพยาบาลศูนย์ ถึงโรคสถานพยาบาลระดับ อำเภอ มี รพ.สต. มี อสม. คอยดูแล ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วยหน้าของไทย คือ ปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ประเทศไทย คุมโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราถือหลักการทำงานว่า “ไม่มีใครปลอดภัยจนกว่าทุกคนจะ ปลอดภัย” นี่คือหนึ่งเครื่องมือในการลดความเหลื่อมล้ำ คนไทยยากดีมีจน ถ้าเป็นเรื่อง การรักษาพยาบาล ไม่มีใครถูกทอดทิ้ง เราได้ทำการอุดช่องโหว่ ปรับปรุงสิทธิและสวัสดิการต่างๆอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่าง “สิทธิฟอกไต” สิทธิในการเปลี่ยนโรงพยาบาลเพื่อความสะดวก และ “สวัสดิการผ้าอ้อม คนสูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง” โดยยึดหลักว่าประชาชนต้องเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ อย่างสะดวกที่สุด และตัดภาระให้ประชาชนอย่างมากที่สุด พูดง่ายๆว่าเราพยายาม “เก็บทุกเม็ด” เห็นช่องโหว่ตรงไหนอุดหมด เพื่อให้ประชาชนได้ สิ่งที่ดีที่สุด

“การทำงานของเรา มาจากการใกล้ชิดประชาชน เห็นปัญหาจริงๆ อย่างเรื่องฟอกไต ผมลงพื้นที่ มีหมอมาบอกว่า เรื่องนี้ สำคัญ ถ้าไม่ช่วยประชาชน จะยอมตาย เพราะไม่มีตังค์รักษา ผมถามรายละเอียด แล้วเข้าไปคุยกับ สปสช. ซึ่งท่านก็เข้าใจปัญหา และเข้าใจความต้องการผม สุดท้าย เราช่วยกันคิด แล้วทำได้ ประสบความสำเร็จ”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น