“เลือกที่จะตาย” ได้ไหม แท้จริง 1 นั้นตัดโอกาสตัวเองหรือเปล่า

"เลือกที่จะตาย" ได้ไหม เป็นหัวข้อขัดแย้งมากมาย จากคนป่วย ครอบครัวซึ่งต้องทนทรมาน รับการรักษา โดยดูไม่มีความหวัง แท้จริงเป็นการตัดโอกาสตัวเองหรือเปล่า

“เลือกที่จะตาย” ได้ไหม หมอดื้อ ประเด็นนี้กลายเป็นหัวข้อขัดแย้งมากมาย จากคนป่วย ครอบครัวซึ่งต้องทนทรมาน รับการรักษา โดยดูไม่มีความหวัง หรือก็ไม่ได้ข้อมูลชัดเจนว่าจะหวังได้หรือไม่ แค่ไหน หรืออย่างไร ที่จะกลับมามีชีวิตอย่างมีคุณภาพบ้าง ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาระที่ต้องแบกรับในการดูแล ผลพวงจากการยื้อชีวิตที่ไร้ความหมาย โดยผู้ป่วยหมดสิ้นถึงคุณภาพชีวิตแล้ว ช้ำทั้งกาย ใจ เสียเงินทอง หมอผู้รักษาเองก็ลำบากเพราะเรียนมาเป็นหมอก็เพื่อช่วย ไม่ใช่วางมือ ปล่อยไปง่าย ๆ และการจะสรุปขาว – ดำก็ไม่สามารถทำได้ในทุกกรณี รายละเอียดทั้งหมด ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

 

หมอธีระวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha เรา “เลือกที่จะตาย” ได้ไหม? ระบุ หมอไม่ได้คิดว่า ฝ่ายใดถูก – ผิดนะครับ แต่น่าจะเป็น การมองคนละมุม โดยที่เกิดความบาดหมางก็เกิดจากการที่ครอบครัวที่ได้รับผลกระทบมองย้อนหลัง ไม่ได้พิจารณา ณ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ช่วงเวลานั้น ที่ต้องมีการตัดสินร่วมกันเป็นประการหนึ่ง

 

 

“แต่ที่สำคัญกว่านั้นและน่าจะถือเป็นหลักปฏิบัติคือ ในขณะที่ต้องพิจารณาหยุด หรือเดินหน้าต่อ ครอบครัวหรือตัวคนไข้ (ถ้าอยู่ในสภาวะที่รู้ตัว) เกือบจะทั้งหมดตัดสินใจเองไม่ได้ เมื่อถูกถามว่าจะตกลงอย่างไร เพราะเป็นข้อมูลทางการแพทย์ ซับซ้อน หมอต้องจริงใจ และเต็มใจที่จะให้ข้อมูลที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ ขณะนั้น”

 

 

อธิบายแจกแจงความสำเร็จของการรักษา หรือเป็นการแค่ยื้อยุด เกิดความทรมาน แสดงผลที่ได้ตรวจ อธิบายผลการตรวจเป็นภาษาที่คนธรรมดาเข้าใจได้ เป็นการให้ข้อมูล ไม่ใช่ให้ความหวัง ที่กล่าวมาถึงตรงนี้ไม่ได้หมายความว่าจะแก้ปัญหาได้หมด ผู้เขียนเองในฐานะที่เป็นหมอและอยู่ในฐานะที่ต้องตัดสินใจและมีความรับผิดชอบคุณพ่อ คุณแม่ ที่อยู่ในระยะที่เรียกว่า วาระสุดท้าย และทั้ง ๆ ที่รู้และน่าจะเป็นคนที่รู้ดีที่สุดว่าอะไรควรจะเป็นวาระสุดท้าย และควรหรือไม่ควรที่จะทำอย่างที่ทำไปหรือไม่ และทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าผลกระทบที่จะตามมานั้นมากมายเพียงใด ยังคงผิดพลาดมาตลอด

 

 

 

 

หมอธีระวัฒน์, ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา, เลือกที่จะตาย, คนป่วย, ครอบครัว, ความหวัง, ปาฏิหาริย์, ภาระ, วาระสุดท้าย, เจ้าชายนิทรา

 

 

 

 

“พ่อของหมอ เส้นเลือดแตกในสมองขณะอายุได้ 59 ปี อาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แย่ลงอย่างเฉียบพลัน อาการเลวลงในเวลาเพียงชั่วโมงจนไม่รู้ตัว ซีกซ้ายและขวาขยับได้เฉพาะเวลาที่ถูกกระตุ้น โดยเป็นการตอบสนองในสภาพเหยียดเกร็งไม่สามารถปัดป้อง ตอบโต้ได้”

 

 

อาการที่หมอเห็นขณะนั้น (ซึ่งตัวเองเป็นแค่นักเรียนแพทย์รู้แต่ทฤษฎี) บ่งบอกถึงว่าความเสียหายนั้นได้ลงมาถึงระดับที่เลยก้านสมองส่วนบนจนถึงส่วนกลาง ซึ่งเรามักเรียกว่า เป็นเขตที่เลยที่จะเยียวยาได้ รอบเตียงพ่อขณะนั้นเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางระบบประสาทและสมอง
หมอคาดว่าทุกท่านในใจคงจะคิดแบบเดียวกัน แต่ก็ยังหวังว่าจะมีปรากฏการณ์ ปาฏิหาริย์ ที่พ่ออาจจะตื่นขึ้น พ่อได้รับความกรุณารักษาพยาบาล ได้รับการผ่าตัดดูดก้อนเลือดออก พ่ออยู่ในห้องไอซียูและโรงพยาบาลต่อกันเป็นเวลา ถ้าจำไม่ผิดคือ 2 – 3 ปี และในที่สุดกลับมาบ้านมาดูแลกันเองสภาพเป็นเจ้าชายนิทรา

 

 

 

 

ดูเสมือนมีการหลับ – ตื่นลืมตา แต่ไม่มองตาม ไม่มีการเคลื่อนไหวตามสั่ง ต้องดูดเสมหะผ่านรูที่เจาะคอ ให้อาหารทางสายยางและต้องคอยพลิกตัว สภาพเช่นนี้ดำเนินไปเป็นเวลา 9 ปี จนเสียชีวิต

 

สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้มีแพทย์ท่านใดอยากให้เจอ ล้วนมีความตั้งใจบริสุทธิ์ แต่ขณะนั้นไม่มีใครในครอบครัวจะเข้าใจได้จริง ๆ ว่า ภาระดูแลหลังจากที่ผ่านวาระสุดท้ายและกลายเป็นเจ้าชายนิทรานั้นหนักหนาสาหัสเพียงใด

 

เราเป็นครอบครัวระดับปานกลางยังต้องขัดสน คิดถึงคนไข้และครอบครัวทั่วไปจะขนาดไหน

 

จากพ่อซึ่งป่วยมาถึงแม่ซึ่งสูบบุหรี่ตั้งแต่สาว ๆ หยุดสูบ เมื่ออายุ 60 ปี อาการมาโผล่เข้าก็ 10 ปีต่อมา โดยเริ่มปรากฏอาการของโรคปอดเรื้อรัง ถุงลมโป่ง หลอดลมตีบ มีอาการเหนื่อยเวลาเดินไกล จนต่อมาอยู่เฉย ๆ ก็ยังแย่ จนต้องมีออกซิเจนประจำบ้าน อาการเลวลงจนในที่สุดหายใจไม่ได้

 

 

 

 

หมอธีระวัฒน์, ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา, เลือกที่จะตาย, คนป่วย, ครอบครัว, ความหวัง, ปาฏิหาริย์, ภาระ, วาระสุดท้าย, เจ้าชายนิทรา

 

 

 

 

 

หมอธีระวัฒน์ ระบุถึง เรา “เลือกที่จะตาย” ได้ไหม? ต่อว่า แม่ยืนยันเป็นสิบครั้งว่าไม่ต้องการใส่เครื่อง นอนแช่อยู่บนเตียง แต่ถึงเวลานั้น ถามว่าจะต้องการให้สบายโดยให้ยานอนหลับไหม แม่ตอบว่าทำอย่างไรก็ได้ให้หายใจได้ และใส่เครื่องช่วยหายใจ โดยติดอยู่ในเครื่องเป็นเวลานาน จนต้องเจาะคอในที่สุด และลงเอยกลับมาที่บ้านหายใจเอง และเข้า ๆ ออก ๆ โรงพยาบาล ด้วยติดเชื้อในปอดบ้างและระบบอื่น ๆ บ้าง แต่ก็ยังคงพอมีความสุข เจอลูกเจอหลานได้ เลยมาได้อีกสองสามปี มีอาการหอบเหนื่อยหายใจไม่ได้เลยเป็นสัญญาณสุดท้าย และเป็นสิ่งที่แม่ยืนยันและตกลงแล้ว

 

 

เมื่อถึง ไอซียู แม่บอกแม่อยากอยู่ และคงอยู่ในไอซียูอีกเกือบ 5 ปี ด้วยเครื่องช่วยหายใจตลอด 24 ชั่วโมง ได้อาหารทางสายยาง แต่รู้ตัวดีตลอด ค่าใช้จ่ายแม่ถึงจะพอเบิกจ่ายราชการได้ ก็ยังต้องเสียเพิ่มในจำนวนมากกว่าเงินเดือนที่หมอได้จากราชการ

 

 

จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่า จะมีช่วงเวลาแคบ ๆ น้อยนิดที่ แพทย์อาจจะทำการช่วยเหลือให้กลับมาได้ เป็นโอกาสเดียวที่แพทย์ต้องการทำให้คนไข้ที่อยู่ตรงหน้ากลับมาได้ ส่วนหนึ่งคนไข้ฟื้นคืนชีวิต กลับจากอัมพาต ไม่รู้ตัว แต่ยังคงมีอีกส่วนที่ทำได้ไม่สำเร็จ และตกเป็นสิ่งที่ทุกคนรับรู้ว่าเป็น ภาระ ของครอบครัว และสังคม ในช่วงเวลานั้นอาจจะเป็นการยากที่จะอธิบายให้ญาติรับรู้และเข้าใจถึงกระบวนการและผลในขั้นสุดท้าย แต่ต้องให้การรักษาไปเลย และกลับเป็นคำถามคาใจในกรณีที่ทำไม่สำเร็จว่าทำไมต้องทำจนกลายเป็นเจ้าชายเจ้าหญิงนิทราไปได้

 

 

 

 

หมอธีระวัฒน์, ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา, เลือกที่จะตาย, คนป่วย, ครอบครัว, ความหวัง, ปาฏิหาริย์, ภาระ, วาระสุดท้าย, เจ้าชายนิทรา

 

 

 

 

“คงจะนึกออกนะครับว่า ไม่ว่าคนไข้จะรู้ตัวขณะนั้นหรือไม่ก็ตาม ไม่ว่าจะมีความตั้งใจแน่วแน่ก่อนหน้าเกิดเรื่องหรือไม่ก็ตาม” ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลาขณะนั้นอาจไม่ตรงไปตรงมา เหมือนที่หลาย ๆ คนคิด และพยายามที่จะเป็นข้อบังคับ ข้อกำหนดในวาระสุดท้าย และสิทธิที่จะตายของตนเอง

 

 

การกำหนดวาระสุดท้ายฟังดูเหมือนเป็นเรื่องง่าย ที่สามารถตัดสินได้ มีกฎเกณฑ์ ข้อ 1 – 2 – 3 แต่ความจริงแล้วไม่ง่ายที่จะปฏิบัติ อย่างน้อยก็ตัวผู้เขียนเอง การประกาศวาระสุดท้าย ในช่วงเวลาที่ต้องตัดสินใจสั้น ๆ ต้องการความแม่นในการวินิจฉัย ในการประเมิน ถ้าตัดสินใจว่าจะไม่ทำไม่ช่วยต่อไปแล้ว เป็นการตัดสินใจที่จะต้อง 100% แม้แต่คนไข้เองถ้าเลือกที่จะไม่รับการรักษาต่อ แท้จริงเป็นการตัดโอกาสตัวเองหรือเปล่า

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

วธ. โดยกรมการศาสนา จัดพิธีบวงสรวงเทพยดา เนื่องในงานใต้ร่มพระบารมี 243 ปี กรุงรัตนโกสินทร์
“ไทย – มอญเกาะเกร็ด” ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
นาทีชีวิต! ทอ. ส่งอากาศยานช่วยผู้ป่วยฉุกเฉิน รับการรักษาด่วน ถึงมือหมออย่างปลอดภัย
"ธรรมนัส" นำทีมกล้าธรรม ช่วย "ก้องเกียรติ" หาเสียงเลือกตั้งซ่อมสส.นครศรีฯ มั่นใจคุณภาพ พูดคำไหนคำนั้น
จนท.นำร่างผู้สูญหายใต้ตึก สตง.ถล่ม ออกมาได้อีก 1 ราย พร้อมส่งตรวจพิสูจน์อัตลักษณ์
คนมท.แห่ชื่นชม "อนุทิน-กรมการปกครอง" จัดสอบนายอำเภอโปร่งใส สยบลือเด็กฝาก-ใช้ตั๋วเงิน
เกาหลีใต้เตรียมเจรจาภาษีทรัมป์กับสหรัฐสัปดาห์นี้
"กัน จอมพลัง" อัปเดตอาการล่าสุด "ลุง-ป้า" ยังน่าห่วง ยอมถอยคนละก้าว ให้ "พีช" จ่ายเยียวยา เร่งคุยหาทางออก
‘เต้ มงคลกิตติ์ ’ เตือน ‘กัน จอมพลัง’ ถอยเพื่อรักษาชีวิต จำบทเรียนทนายตั้มไว้เป็นตัวอย่าง
"ซูเปอร์โพล" เผยคนไทยหลังสงกรานต์ ยังทุกข์ปัญหาศก. คงเชื่อมั่นศักยภาพ "นายกอิ๊งค์"

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น