"กัญชากัญชง" ประกาศปลดล็อกอย่างเป็นทาง สายเขียวเฮยกใหญ่ แต่อย่าเพิ่งดีใจไป เช็คให้ดี แบบไหนถูก แบบไหนผิด ไม่อยากติดตาราง รีบเช็คก่อนสาย
ข่าวที่น่าสนใจ
รวมทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับ “กัญชากัญชง”
1. สามารถปลูกที่บ้านได้ไหม
- ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป ประชาชนสามารถปลูกในบ้านที่มีรั้วรอบขอบชิดได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต
- แต่ต้องแจ้งข้อมูลผ่านแอปพลิเคชัน “ปลูกกัญ”
- หรือแจ้งผ่านเว็บไซต์ plookganja.fda.moph.go.th โดยทาง อย. จะออกใบรับจดแจ้งอิเล็กทรอนิกส์ให้กับผู้ที่มาจดแจ้ง
- หากพบการกระทำความผิดที่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ อย. สามารถถอนการจดแจ้งดังกล่าวได้ทันที
2. สูบกัญชา ยังผิดกฎหมายอยู่ไหม
- ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย
- หลังประกาศปลดล็อกออกมา ทำให้ทุกส่วนของกัญชา กัญชง ไม่จัดเป็นยาเสพติดแล้ว
- ยกเว้นสารสกัดที่มีสาร THC เกินร้อยละ 0.2 ของน้ำหนัก
- ส่วนการสูบ มีข้อกำหนด เช่น
– การสูบกัญชาในที่สาธารณะ รบกวนสิทธิผู้อื่น โดยก่อให้เกิดความรำคาญจากกลิ่นหรือควัน หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพแก่ประชาชนที่อยู่หรืออาศัยบริเวณใกล้เคียง เจ้าพนักงานท้องถิ่น สามารถระงับเหตุและตรวจสอบได้ตามกฎหมาย โดยมีความผิดตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 25,000 บาท
– ห้ามสูบแบบม้วน เนื่องจาก ไม่มีอากรแสตมป์ของกรมสรรพสามิตติดไว้อย่างถูกต้องเหมือนกับบุหรี่
– เสพแล้วห้ามขับรถ หากฝ่าฝืนก็จะมีความผิดตามกฎหมายจราจร
3. หากครอบครองกัญชา ผิดกฎหมายไหม
- ไม่มีความผิด
- ยกเว้นกรณีมีสารสกัดที่มีปริมาณสาร THC เกิน 0.2% โดยไม่มีใบอนุญาต ไม่มีใบสั่งแพทย์ ไม่ผ่านการรับรองโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสารสกัดนั้นมาจากนอกประเทศไทย ยังถือว่ามีความผิด
- โดยตำรวจจะไม่ดำเนินคดีในทันที เนื่องจาก ไม่เป็นความผิดซึ่งหน้า โดยจะทำการยึดสารสกัดนั้นส่งผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบหาค่าสาร THC รวมทั้งสืบเสาะแหล่งที่มา และตรวจหลักฐานการขออนุญาต หากพบว่าผิดกฎหมาย จึงจะเรียกตัวมาแจ้งข้อกล่าวหา ดำเนินคดีภายหลัง
4. หากจำหน่ายกัญชา กัญชง ถือว่าผิดกฎหมายไหม
ยังมีส่วนที่ไม่ผิดกฎหมาย และส่วนที่ยังถูกควบคุม โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- การขายส่วนของพืชกัญชา กัญชง ไม่ต้องขอรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
- การขายสารสกัดที่ได้รับอนุญาตให้สกัดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด หากเป็นสารสกัดที่มี THC ไม่เกิน 0.2 % ไม่ต้องมีใบอนุญาตจําหน่ายยาเสพติดให้โทษ
- ผู้จําหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางที่มีส่วนผสมของกัญชา กัญชง ไม่ต้องขออนุญาตก่อน แต่จะต้องนําผลิตภัณฑ์ที่จดแจ้งเรียบร้อยแล้วและมีฉลากภาษาไทยที่ระบุข้อความครบถ้วน ถูกต้องมาจําหน่าย
- ต้องขออนุญาตการขายเมล็ดพันธุ์และกิ่งพันธุ์
- ต้องขอรับอนุญาตตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- การขายสารสกัดที่มี THC เกิน 0.2 % ต้องมีใบอนุญาตจําหน่ายยาเสพติดให้โทษ และผู้ซื้อต้องมีใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษด้วย
- การจําหน่ายผลิตภัณฑ์กัญชาหรือกัญชง ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์นั้น
ส่วนกรณีที่ผิดกฎหมาย มีดังนี้
- การขายกัญชา กัญชง ให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร เพื่อนำไปบริโภค หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท
- ห้ามจำหน่ายกัญชาแบบมวน
5. กัญชา กัญชง สามารถทำเป็นอาหารได้ทุกส่วนไหม
- ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 424) พ.ศ. 2564 กําหนดว่า กัญชาหรือกัญชงที่นำมาประกอบอาหารต้องได้รับอนุญาตให้ผลิตในประเทศเท่านั้น ห้ามเป็นของที่นำเข้ามา
- และส่วนของพืชกัญชากัญชง ที่สามารถนำมาใช้ผลิตอาหารได้ ประกอบด้วยเปลือก ลําต้น เส้นใย กิ่งก้าน และราก เมล็ดกัญชง น้ำมันจากเมล็ดกัญชง หรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชง ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย
- สารสกัดที่มีสาร CBD เป็นส่วนประกอบที่มีสาร THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนักแห้ง
- กากหรือเศษที่เหลือจากการสกัดกัญชาที่มีสาร THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ําหนักแห้ง
6. ร้านอาหารสามารถนำใบกัญชามาปรุงอาหารขายได้ไหม
- สามารถนำใบกัญชาที่ซื้อมาจากแหล่งปลูกที่ได้รับอนุญาตจาก อย. มาปรุงอาหารขายได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
- แต่ต้องปฏิบัติตามประกาศกรมอนามัย ดังนี้
– แสดงข้อแนะนํา เพื่อความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร ตามประกาศกรมอนามัย เรื่อง การนํา ใบกัญชามาใช้ในการทําประกอบหรือปรุงอาหารในสถานประกอบกิจการอาหาร พ.ศ. 2565
– แสดงคําเตือนรายการอาหารที่มีส่วนประกอบของกัญชาหรือกัญชงในภาชนะบรรจุ ดังต่อไปนี้
(1) เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน
(2) หากมีอาการผิดปกติ ควรหยุดรับประทานทันที
(3) ผู้ที่แพ้หรือไวต่อสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocanabionol ,THC) หรือสารแคนนาบิไดออล (Canabidiol, CBD) ควรระวังในการรับประทาน
(4) อาจทําให้ง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
ดูรายละเอียดจากกรมอนามัยเพิ่มเติม : คลิก
ข้อมูล : FDA Thai, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง