“ประกันสังคม” มัดรวมสิทธิประโยชน์ 2 กองทุน สำหรับผู้ประกันตน

ประกันสังคม, กองทุนประกันสังคม, กองทุนเงินทดแทน, สิทธิประโยชน์ประกันสังคม

"ประกันสังคม" รวมสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับ สรุป 2 กองทุนสั้น ๆ เข้าใจง่ายได้ที่นี่

“ประกันสังคม” มัดรวมสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับ สรุปสั้น ๆ เข้าใจง่ายได้ มือใหม่เช็คด่วน ได้อะไรบ้าง ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

รู้สิทธิไว ได้ประโยชน์เร็วกับ 2 กองทุนประกันสังคม

1. กองทุนประกันสังคม คืออะไร

  • กองทุนที่ให้หลักประกันแก่ผู้ประกันตน ให้ได้รับประโยชน์ทดแทน เมื่อต้องประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย เนื่องมาจากการทำงาน รวมทั้งกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชรา และว่างงาน

 

 

 

ได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?

(1) กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย

  • ผู้ประกันตนต้องนำส่งเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์
  • ได้รับการรักษาพยาบาล โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เมื่อเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ
  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรัง ไม่เกิน 265 บาท

กรณีทันตกรรม

  • ได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 900 บาท/ปี (กรณีถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าตัดฟันคุด)

 

 

 

(2) กรณีคลอดบุตร

  • ผู้ประกันตน ต้องนำส่งเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันคลอดบุตร

ผู้ประกันตนหญิง

  • ได้รับค่าคลอดบัตรเหมาจ่าย จำนวน 15,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง
  • เงินสงเคราะห์การหยุดงาน เพื่อการคลอดบุตร ในอัตราร้อยละ 50 เฉลี่ย 90 วัน ไม่เกิน 2 ครั้ง

ผู้ประกันตนชาย

  • ได้รับเฉพาะค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย จำนวน 15,000 โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง

***ค่าฝากครรภ์ จำนวน 15,000 บาท  โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง***

 

 

 

ประกันสังคม, กองทุนประกันสังคม, กองทุนเงินทดแทน, สิทธิประโยชน์ประกันสังคม

 

 

 

(3) กรณีทุพพลภาพ (ไม่เนื่องจากการทำงาน)

  • ผู้ประกันตน ต้องนำส่งเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนทุพพลภาพอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน

กรณีทุพพลภาพระดับความสูญเสียไม่รุนแรง 

  • ประเมินการสูญเสีย ตั้งแต่ร้อยละ 35 ขึ้นไป แต่ไม่ถึงร้อยละ 50
  • ได้รับเงินทดแทนหารขาดรายได้ ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างรายวัน ตลอดระยะที่ไม่สามารถทำงานได้ ไม่เกิน 180 บาท

กรณีทุพพลภาพระดับความสูญเสียรุนแรง 

  • ประเมินการสูญเสีย ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป
  • ได้รับเงินทดแทนการรายได้
  • ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน ตลอดชีวิต

**รักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

**รักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

 

 

(4) กรณีตาย

  • ผู้ประกันตนต้องนำส่งเงินสมทบมาแล้ว  ไม่น้อยกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนถึงแก่ความตาย

 

ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท และเงินสงเคราะห์กรณีตาย ดังนี้

  • จ่ายเงินสมทบ ตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน : รับเงินสงเคราะห์ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าเฉลี่ย 4 เดือน
  • จ่ายเงินสมทบ ตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป : รับเงินสงเคราะห์ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าเฉลี่ย 12 เดือน

 

 

 

ประกันสังคม, กองทุนประกันสังคม, กองทุนเงินทดแทน, สิทธิประโยชน์ประกันสังคม

(5) กรณีสงเคราะห์บุตร

  • ผู้ประกันตนต้องนำส่งเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
  • ได้รับเงินสงเคราะห์บุตร เหมาจ่ายเดือนละ 800 บาท/บุตร 1 คน

 

 

 

(6) กรณีชราภาพ

เงินบำนาญชราภาพ (จ่ายเงินสมทบ 180 เดือน)

  • ได้รับเงินชราภาพ ร้อยละ 20 ของค่าเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
  • ถ้าจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน ให้เพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพ ขึ้นอีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน

 

 

เงินบำนาญชราภาพ (จ่ายเงินไม่ถึงสมทบ 180 เดือน)

  • จ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน : ได้รับเงินบำนาญชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะส่วนของผู้ประกันตน
  • จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป : ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทน

 

 

 

(7) กรณีว่างงาน

  • ผู้ประกันตนต้องนำส่งเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน

ถูกเลิกจ้าง

  • ได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน

ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง

  • ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน

 

ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนและรายงานตัวกรณีว่างงาน ผ่านระบบ : คลิกที่นี่ ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง และรายงานตัวตามกำหนดนัด เพื่อมิให้เสียสิทธิในการรับเงินทดแทน

 

 

 

ประกันสังคม, กองทุนประกันสังคม, กองทุนเงินทดแทน, สิทธิประโยชน์ประกันสังคม

 

 

 

2.กองทุนเงินทดแทน

  • เป็นกองทุนตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 จัดเก็บเงินสมทบจากพวกนายจ้างตามประเภทความเสี่ยงของกิจการ เพื่อนำไปจ่ายทดแทนให้แก่ลูกจ้าง กรณีประสบอันตราย เจ็บป่วย/ทุพพลภาพ/ตายหรือสูญเสีย เนื่องจาก การทำงาน

คุ้มครองทันทีตั้งแต่วันแรก ที่เข้าทำงานให้นายจ้าง (เมื่อลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย เนื่องจากการทำงาน)

  • กรณีไม่สามารถทำงานได้ตั้งแต่วันแรก
  • กรณีทุพพลภาพ (ตลอดชีวีต)
  • กรณีสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกาย (ไม่เกิน 10 ปี)
  • กรณีตาย/สูญหาย (10 ปี)

 

 

จะได้รับอะไรบ้าง

  • ค่ารักษาพยาบาล จนสิ้นสุดการรักษา (ในสถานพยาบาลของรัฐ)
  • ค่าทำศพ ได้รับค่าทำศพจำนวน 50,000 บาท
  • ค่าทดแทนรายเดือน เมื่อลูกจ้างมีการหยุดงาน สูญเสียสมรรถภาพ ทุพพลภาพ ตายหรือสูญหายจะได้ค่าทดแทน ร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน 

ประกันสังคม, กองทุนประกันสังคม, กองทุนเงินทดแทน, สิทธิประโยชน์ประกันสังคม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เคาะวันแล้ว กกต. เปิดแผนงานเลือกตั้งนายก-สมาชิกอบจ.
"เคนโด้" นำ "กลุ่มผู้เสียหาย" ค้านประกันตัว "แม่ตั๊ก-ป๋าเบียร์" หวั่นคุกคามเหยื่อ
วัดพิบูลสัณหธรรม เตรียมจัดงานวันลอยกระทงเพื่อสมทบทุนบูรณะต่อเติมศาลาการเปรียญให้แล้วเสร็จ เพื่อใช้ประโยชน์ ในการประกอบศาสนกิจของวัด ใช้ประกอบพิธีในพระพุทธศาสนา
ชื่นชม หนุ่มใหญ่จิตอาสาชาวชะอำ จ.เพชรบุรี เดินลุยฝนเก็บขยะอุดตันตามท่อ เพื่อช่วยระบายน้ำท่วม
สุดเสียวกลางดึกช้างป่าบุกใจกลางชุมชนบ้านเกาะลอยซึ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ โฉบบ้านนักข่าวก่อนเข้าพังรั้วค่ายทหารพรานที่1306 เสียหาย ทำชาวบ้านผวาหวั่นอันตราย
หมูเด้ง เสี่ยงทายเลือกตั้งสหรัฐฯ ประธานาธิบดีอเมริกาคนต่อไป คือคนนี้ รอลุ้นจะใช่หรือไม่
"ทนายสมชาติ" พา "เจ๊อ้อย" เข้าให้ปากคำ "ตำรวจกองปราบฯ" เพิ่ม ปมเงิน 71 ล้านบาท
“ทนายตั้ม” โผล่พบตํารวจกองปราบฯ ชี้แจงปมเงิน 71 ล้านบาท
"ภูมิธรรม" มอง MOU44 กลไกที่ดีที่สุด ก่อนย้อน พปชร.ไปถาม "บิ๊กป้อม" เคยนำเจรจากัมพูชา ก่อนมาคัดค้าน
"ก.แรงงาน" เตรียมเปิดขึ้นทะเบียน "แรงงานต่างด้าว" รอบใหม่

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น