“อัลไซเมอร์” 5 สัญญาณเตือน รู้ให้ทันก่อนเผชิญภาวะสมองเสื่อม

อัลไซเมอร์

"อัลไซเมอร์" โรคที่มักพบในผู้สูงอายุ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิด 5 สัญญาณเตือน รู้ให้ทันก่อนเผชิญภาวะสมองเสื่อม พร้อมแนะ 3 วิธีป้องกัน

“อัลไซเมอร์” โรค อั ล ไซ เม อ ร์ สาเหตุ โรค อั ล ไซ เม อ ร์ วิธี รักษา โรค อั ล ไซ เม อ ร์ เกิด จาก โรคอัลไซเมอร์ Alzheimer มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม มีอาการหลง ๆ ลืม ๆ นั่นเอง งานนี้ทางด้าน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จึงได้ออกมาให้ความรู้ เปิด 5 สัญญาณเตือน พร้อมแนะ 3 วิธีป้องกัน ติดตามได้ที่นี่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

“อัลไซเมอร์” โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า โรคนี้เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะสมองเสื่อม และเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด โดยความชุกของโรคจะเพิ่มขึ้นตามช่วงอายุ พบความชุกร้อยละ 10-15 ในประชากรที่อายุมากกว่า 65 ปี และพบร้อยละ 20-30 ในประชากรที่อายุมากว่า 80 ปี สาเหตุของโรคนี้ คือ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในสมองจนบางส่วนของสมองทำหน้าที่ลดลง เกิดการฝ่อ ทำให้กระทบกับการทำงานของสมองส่วนนั้น และแสดงอาการต่าง ๆ ออกมา เช่น หลงลืม ถามซ้ำ ๆ ฯลฯ อย่างไรก็ตามยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของโรคอัลไซเมอร์ มีการศึกษาพบว่าในสมองของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มีการสะสมของโปรตีนบางชนิด เช่น อะไมลอยด์ (amyloid) และ ทาว (tau) มากกว่าปกติ

 

 

อัลไซเมอร์

 

 

ผู้ป่วยจะมีปัญหาด้านความจำเป็นอาการหลัก ผู้ป่วยจะไม่สามารถจดจำ และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ จึงมักจะลืมว่าวางของไว้ที่ไหนทั้งที่พยายามจำ ถามซ้ำ ๆ พูดซ้ำ ๆ เป็นต้น เมื่อโรคดำเนินไปจะทำให้เกิดความบกพร่องของการรู้คิดด้านอื่นร่วมด้วย เช่น หลงทาง คิดเลขไม่ได้ ไม่สามารถจัดการกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานได้เอง มีปัญหาด้านอารมณ์ ปัญหาพฤติกรรม และความผิดปกติทางจิตตามมา เช่น หงุดหงิด เฉื่อยชาและเฉยเมย ขาดการยับยั้งชั่งใจ มีอาการหลงผิด ประสาทหลอน เป็นต้น

 

 

อัลไซเมอร์

 

 

 

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จึงออกมาให้ความรู้ เปิด 5 สัญญาณเตือน ได้แก่

  • หลง ๆ ลืม ๆ ความจำแย่ลง จำสิ่งที่เพิ่งเกิดไม่ได้ ถามซ้ำ ๆ พูดซ้ำ ๆ
  • การรับรู้คลาดเคลื่อน จำเส้นทางกลับบ้านไม่ได้ เดินหลงในสถานที่ที่คุ้นเคย
  • ลืมคนคุ้นเคย ลืมวันและเวลา ลืมคนใกล้ตัว เช่น ลูก สามี ภรรยา สับสนระหว่างกลางวันกับกลางคืน
  • มีปัญหาเรื่องการใช้ภาษา นึกคำพูดไม่ออก เขียนไม่ถูก เรียกของที่ใช้ประจำไม่ได้
  • บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง แสดงออกทางอารมณ์ที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อม

 

วิธีการป้องกัน

  • ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ตรวจสุขภาพเป็นประจำ ถ้ามีโรคเรื้อรังที่เป็นปัจจัยเสี่ยงกับหัวใจและหลอดเลือด เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดผิดปกติ ความดันโลหิตสูง ควรควบคุมโรคประจำตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ดูแลสุขภาพใจ ทำจิตใจให้สดชื่น เบิกบาน ไม่เครียด ไม่ซึมเศร้า
  • สุขภาพสังคมต้องดี ควรมีเพื่อน ทั้งเพื่อนต่างวัย และเพื่อนวัยเดียวกัน

 

 

อัลไซเมอร์

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น